จับตา: มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย

กองบรรณาธิการ TCIJ 19 ก.ย. 2564 | อ่านแล้ว 4383 ครั้ง


เมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ 'มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย' ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

ข้อ

ข้อเสนอ

1

เห็นชอบในหลักการของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (มาตรการฯ) และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) รับผิดชอบการดำเนินมาตรการฯ โดยพิจารณาจัดตั้งหน่วยบริการขึ้นเพื่อสนับสนุนและเชิญชวนให้ชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้ามาเป็นผู้พำนักระยะยาวในประเทศไทย หรือพิจารณาให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินงานส่วนใดส่วนหนึ่งภายใต้กำกับของ สกท. ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินมาตรการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและไม่เป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดินเกินสมควร

2

มอบหมายให้กระทรวงมหาไทย (มท.) พิจารณาความเหมาะสมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาวใหม่ รวมทั้งข้อยกเว้นและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1) ยกเว้นให้ผู้ถือวีซ่าประเภทผู้พำนักอาศัยระยะยาวและวีซ่าประเภท Smart Visa ทั้งหมดไม่ต้องมีหนังสือแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบหากอยู่ในประเทศเกินเก้าสิบวัน ตามมาตรา 37 (5) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และให้มีคุณสมบัติของผู้ขอวีซ่า สิทธิประโยชน์ และรายละเอียดอื่น ๆ ตามที่เสนอ และ (2) ให้ศึกษาแนวทางการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการถือครองที่ดิน

3

มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน (รง.) พิจารณาความเหมาะสมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการทำงานและอนุญาตให้ทำงานของคนต่างด้าว โดยให้ผู้ถือวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาวสามารถทำงานให้นายจ้างทั้งที่อยู่ในราชอาณาจักรและนอกราชอาณาจักรได้โดยได้รับอนุญาตให้ทำงานโดยอัตโนมัติพร้อมกับการขอวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาว

4

มอบหมายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) พิจารณาให้ผู้ถือวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาวไม่อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณาออกใบอนุญาตทำงาน เรื่อง การกำหนดให้การจ้างคนต่างด้าว 1 คนต้องจ้างงานพนักงานคนไทยทำงานประจำ 4 คน ตามคำสั่ง ตช. ที่ 327/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว

5

มอบหมายให้กระทรวงการคลัง (กค.) พิจารณาความเหมาะสมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษีประเภทต่าง ๆ และระเบียบวิธีปฏิบัติด้านการศุลกากร ดังนี้ (1) ปรับลดพิกัดอัตราอากรขาเข้าเพื่ออำนวยความสะดวกและลดต้นทุนในการนำสินค้าประเภทไวน์ สุรา และยาสูบประเภทซิการ์ลงกึ่งหนึ่งเป็นเวลา 5 ปี (2) ปรับปรุงประกาศกรมศุลกากรที่เกี่ยวกับการปฏิบัติพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสารที่นำติดตัวเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรพร้อมกับตนทางท่าอากาศยานให้เหมาะสมและเป็นปัจจุบัน โดยให้ใช้หลักการพิจารณาจากปริมาณ จำนวน หรือสภาพของสิ่งของที่นำเข้าหรือส่งออกว่าเป็นไปเพื่อการใช้ประโยชน์ส่วนตนหรือไม่ แทนการพิจารณาจากมูลค่าของสิ่งของ และ (3) ดำเนินการจัดทำและเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรเพื่อกำหนดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้ถือวีซ่าผู้พำนักระยะยาวประเภทกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ โดยเทียบเคียงกับมาตรการภาษีในลักษณะเดียวกันของเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการดึงดูดกลุ่มผู้พำนักระยะยาวเป้าหมายที่มีศักยภาพสูงและมีรายได้จากการทำงานในประเทศไทยระหว่างที่ได้รับอนุญาตให้อยู่อาศัยในราชอาณาจักร

6

มอบหมายให้ สกท. พิจารณาการบริหารจัดการวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาวและวีซ่าประเภทอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน

7

มอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบข้างต้นเร่งรัดดำเนินการภายใน 90 วัน และให้รายงานความคืบหน้าของผลการพิจารณาผ่าน สศช. เพื่อรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป

สาระสำคัญของเรื่อง

สศช. รายงานว่า

1. การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) มีความรุนแรงและยืดเยื้อตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้รัฐบาลใช้มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคอย่างเข้มงวดหลายครั้ง เพื่อไม่ให้การแพร่ระบาดขยายตัวเป็นวงกว้างเกินเกินขีดจำกัดของระบบสาธารณสุขที่จะสามารถรองรับได้ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และการลงทุนภายในประเทศลดลงอย่างมาก ดังนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 คลี่คลายลง จำเป็นต้องมีมาตรการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาผลกระทบและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน แรงงาน และภาคธุรกิจ

2. สศช. จึงเสนอมาตรการที่จะดึงดูดชาวต่างชาติที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงหรือมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ให้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยในลักษณะผู้พำนักระยะยาว (long-term stay) ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการใช้จ่ายและการลงทุนมากขึ้น และทำให้ประเทศไทยมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เพียงพอให้กับภาคธุรกิจที่รัฐบาลมุ่งส่งเสริมซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) ในประเด็นอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต และโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล

3. สาระสำคัญของมาตรการฯ สรุปได้ ดังนี้

3.1 มาตรการฯ ประกอบด้วย 2 มาตรการหลัก ได้แก่ การออกวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาว (Long-term resident visa) และการแก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติ ดังนี้

1) การออกวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาว (Long-term resident visa) เป็นการกำหนดวีซ่าประเภทใหม่เพื่อรองรับชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง และต้องการเป็นผู้พำนักอาศัยในระยะยาว โดยมีการกำหนดคุณสมบัติเพื่อพิจารณาการขอวีซ่าตามกลุ่มของชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง 4 ประเภท ดังนี้

คุณสมบัติหลัก

สิทธิประโยชน์หลัก

1) กลุ่มประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง (Wealthy global citizen)

- ให้สิทธิทำงานพร้อมวีซ่า

- ให้คู่สมรสและบุตรได้รับวีซ่าผู้ติดตามไปพร้อมกันด้วย

- ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับรายได้จากต่างประเทศ (รวมทั้งรายได้ที่นำเข้ามาในปีภาษีเดียวกัน)

 

ลงทุนขั้นต่ำ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในพันธบัตรรัฐบาลไทย หรือลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) หรือลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และมีเงินเดือนหรือเงินบำนาญขั้นต่ำปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งมีทรัพย์สินขั้นต่ำ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

2) กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ (Wealthy pensioner)

- ลงทุนขั้นต่ำ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในพันธบัตรรัฐบาลไทย หรือลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และมีเงินบำนาญขั้นต่ำ ปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ

- มีเงินบำนาญขั้นต่ำ ปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ (กรณีไม่มีการลงทุน)

3) กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย (Work-from-Thailand professional)

- มีรายได้ส่วนบุคคล (อาทิ เงินเดือน และรายได้จากการลงทุน) ปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หรือปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ หากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป/ครอบครองทรัพย์สินทางปัญญา/ได้รับเงินทุน Series A1 และมีประสบการณ์การทำงาน 5 ปี

4) กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ (High-Skilled professional)

ได้สิทธิประโยชน์หลักเช่นเดียวกับชาวต่างชาติประเภทอื่น ๆ แต่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากรายได้ในประเทศไทยอัตราเทียบเท่ากับอัตราภาษีเงินได้ที่ได้รับจากการจ้างแรงงานในพื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออก

มีรายได้ส่วนบุคคล (เงินเดือน รายได้จากการลงทุน เป็นต้น) ปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หรือปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ หากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป และมีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 5 ปี ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย2

 2) การแก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติให้ขอวีซ่าประเภทนี้และเข้ามาพำนักอาศัยในประเทศมากขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในทุกภูมิภาคของประเทศ                                      3.2 การจัดการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ (1) การบริหารจัดการวีซ่าระหว่างประเภทผู้พำนักระยะยาวและประเภทอื่น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน และ (2) การจัดตั้งหน่วยบริการพิเศษเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนการดำเนินงานสำหรับผู้สมัครและผู้ถือวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาว (หน่วยบริการพิเศษฯ) โดยเสนอให้มอบหมาย สกท. พิจารณาจัดตั้งหน่วยบริการพิเศษดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินมาตรการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและไม่เป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดินเกินสมควร

3.3 ผลที่คาดว่าจะได้รับ ได้แก่

1) สามารถดึงดูดชาวต่างชาติจำนวน 1,000,000 คน ใหย้ายถิ่นฐานมาพำนักอาศัยในประเทศ โดยคาดว่าข้อเสนอวีซ่าผู้พำนักระยะยาวและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจะสามารถดึงดูดชาวต่างชาติจำนวนมากเข้าสู่ประเทศไทย และมีการสำรวจความคิดเห็นและประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งให้ความเห็นชอบว่าเป้าหมายโครงการมีความเป็นไปได้สูง

2) ตัวชี้วัดและประมาณการผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

ปีงบประมาณ 2565

ปีงบประมาณ

2566

ปีงบประมาณ 2567

ปีงบประมาณ

2568

ปีงบประมาณ

2569

1. เพิ่มจำนวนชาวต่างชาติที่พำนักอาศัยในประเทศ (คน)

100,000

(ร้อยละ 10)

150,000

(ร้อยละ 15)

250,000

250,000

250,000

(ร้อยละ 25)

2. เพิ่มปริมาณเงินใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ (ล้านบาท) (สมมติฐานการใช้จ่ายในประเทศเฉลี่ย 1 ล้านบาท/คน/ปี)

100,000

150,000

250,000

250,000

250,000

3. เพิ่มปริมาณเงินลงทุนในระบบเศรษฐกิจ (ล้านบาท) (ได้รับปริมาณเงินลงทุนจากการลงทุนจากกลุ่มผู้ที่มีความมั่งคั่งประมาณ 1 หมื่นคนและกลุ่มผู้เกษียณอายุประมาณ 8 หมื่นคน จากเงื่อนไขวีซ่าที่กำหนด)

75,000

112,5000

187,500

187,500

187,500

4. เพิ่มรายได้ทางภาษี (ล้านบาท) (จากผู้ถือวีซ่าในกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษจำนวน 4 แสนคน)

25,000

37,500

62,500

62,500

62,500

3.4 การดำเนินมาตรการฯ จะมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในภาพรวมทุก 5 ปี และกำหนดเวลาสิ้นสุดสำหรับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีและการถือครองที่ดินเป็นเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มบังคับใช้มาตรการฯ และให้ประเมินผลสัมฤทธิ์ โดยสามารถพิจารณาขยายระยะเวลาการบังคับใช้ออกไปได้ตามความเหมาะสมแผนการดำเนินงาน

3.5 แผนการดำเนินงานของมาตรการฯ เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 โดยมีการดำเนินการภายหลังได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ดังนี้

การดำเนินการ

กำหนดการ

กำหนดประเภทวีซ่า และหลักเกณฑ์วีซ่าผู้พำนักระยะยาวโดยการปรับปรุงกฎหมายลำดับรองและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายลำดับรอง

เดือนสิงหาคม 2564 - พฤศจิกายน 2565

กฎหมายแม่บท (ถ้าจำเป็น)

เดือนธันวาคม 2564 - มีนาคม 2565

จัดตั้งศูนย์บริการผู้พำนักระยะยาว (LTR service center)

จัดทำแนวทางการจัดตั้งและดำเนินการด้านงบประมาณ

เดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2564

คัดเลือกเอกชนเป็นผู้จัดตั้งศูนย์ดังกล่าว

เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2564

ออกแบบระบบกระบวนการทำงาน และจัดทำข้อตกลงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เดือนกันยายน - ธันวาคม 2564

พัฒนาระบบให้บริการและเชื่อมต่อข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เดือนมกราคม - มีนาคม 2565

(ทดลอง)

จัดตั้งศูนย์บริการผู้พำนักระยะยาว

เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2565

(ทดลอง)

­­­­­­­­________________________

1เป็นหนึ่งในรอบการลงทุน (ประกอบด้วย 4 รอบ) ของธุรกิจร่วมทุน (Venture Capital) ที่จะลงทุนใน Startup โดยในรอบนี้ Startup จะมีความต้องการออกผลิตภัณฑ์ ขยายเข้าสู่ฐานลูกค้าที่ใหญ่ขึ้น หรือตลาดใหม่ รวมถึงปรับรูปแบบทางธุรกิจให้เหมาะสมกับตลาดที่กว้างขึ้น โดยธุรกิจร่วมทุนจะวิเคราะห์ถึงความสามารถในสร้างรายได้ในอนาคตของ Startup และจะต้องลงทุนอย่างน้อยประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 33 ล้านบาท ต่อหนึ่งโครงการในขั้นตอนนี้ (อ้างอิงบทความ “เปิดโลกการลงทุนใน Startup” โดยนิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์)

2อุตสาหกรรมเป้าหมายตามพระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560 ได้แก่ ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ท่องเที่ยวระดับคุณภาพ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การแปรรูปอาหารที่มีมูลค่าเพิ่มสูง หุ่นยนต์ การบิน เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ดิจิทัล การแพทย์ครบวงจร การป้องกันประเทศ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการวิจัยและพัฒนาเพื่ออุตสาหกรรมเป้าหมาย และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: