เดือน ม.ค. 64 คนทำงานในธุรกิจศิลปะและความบันเทิง มีอัตราถูกเลิกจ้างสูงสุดที่ 24.96%

กองบรรณาธิการ TCIJ 21 มี.ค. 2564 | อ่านแล้ว 5790 ครั้ง

เดือน ม.ค. 2564 ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ม.33 ขอรับประโยชน์ทดแทน 366,734 คน ถูกเลิกจ้าง 171,075 คน พบคนทำงานในกิจกรรมการสร้างสรรค์ศิลปะและความบันเทิงมีอัตราถูกเลิกจ้างสูงสุดที่ 24.96% อัตราว่างงานสูงสุดที่ 27.25% - สภานายจ้างฯ เตือนรัฐอย่าลืมเดือน มี.ค.-เม.ย. เป็นช่วงนักศึกษาจบใหม่เข้ามาในตลาดแรงงานอีก 5 แสนคน กังวลมีโอกาสตกงานสูง | ที่มาภาพประกอบ: เพจงานกองถ่ายและนักแสดงสมทบทั่วไป

ข้อมูลจาก รายงานเศรษฐกิจแรงงาน ประจำเดือน ม.ค. 2564 โดยกองเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ระบุว่าเดือน ม.ค. 2564 มีแรงงานในระบบประกันสังคมหรือผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 11,055,513 คนลดลงร้อยละ (-5.10) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (จำนวน 11,650,226 คน) และเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (จำนวน 11,124,209 คน)ลดลงร้อยละ (-0.62) 

ประเภทกิจการที่มีการจ้างงานสูงสุด คือ อุตสาหกรรมการผลิต 3.15 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 28.46 ของลูกจ้างทั้งหมด) โดยแรงงานส่วนใหญ่อยู่ในสาขาการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร ยางและพลาสติก คอมพิวเตอร์/อิเล็กทรอนิกส์ฯ ผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ ยานยนต์ฯ ตามลำดับ เป็นส่าคัญรองลงมา คือ การค้า 1.66 ล้านคน (ร้อยละ 15) การบริหารราชการฯ 1.06 ล้านคน (ร้อยละ 9.55) ก่อสร้าง 0.58 ล้านคน (ร้อยละ 5.20) การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 0.45 ล้านคน (ร้อยละ 4.11) และตามลำดับ เป็นสำคัญ 

ส่วนการจ้างงานที่ลดลง 10 อันดับแรก ณ เดือน ม.ค. 2564 [หน่วย: -ลดลงต่อปี (%)] ได้แก่ 1. ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร: -148,984 คน (-29.05%) 2. การก่อสร้างอาคาร: -30,437 คน (-9.50%) 3. การขายปลีก: -29,435 คน (-4.61%) 4. การผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร: -28,160 คน (-5.13%) 5. การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย: -24,907 คน (-19.94%) 6. ตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยว การจัดน่าเที่ยวฯ: -20,765 คน (-47.44%) 7. การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ฯ: -20,649 คน (-6.87%) 8. การขายส่ง: -20,588 คน (-2.58%) 9. การผลิตยานยนต์ฯ: -19,893 คน (-6.71%) และ 10.การผลิตเครื่องหนังและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง:-14,723 คน (-21.13%)

ด้านสถานการณ์การว่างงาน [ผู้ว่างงาน หมายถึง ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม (สำนักงานประกันสังคม : SSO)] เดือน ม.ค. 2564 มีผู้ว่างงานจำนวน 366,734 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 126.40 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (จำนวน 161,984 คน) และเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (จำนวน 395,013 คน) ลดลงร้อยละ (-7.16) ทั้งนี้อัตราการว่างงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติในเดือน ธ.ค. 2563 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ธ.ค. 2562 ที่ร้อยละ 1.0) และลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (พ.ย.2563 ที่ร้อยละ 2.0)

ประเภทกิจการที่มีการว่างงานสูงสุด คือ อุตสาหกรรมการผลิต 77,674 คน (คิดเป็นร้อยละ 21.18 ของผู้ว่างงานทั้งหมด) โดยส่วนใหญ่อยู่ในสาขาการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร ยานยนต์ฯ คอมพิวเตอร์/อิเล็กทรอนิกส์ฯ ผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ฯ ยางและพลาสติก ตามลำดับเป็นสำคัญ รองลงมา คือ การค้า 46,180 (ร้อยละ 12.59) ที่พักแรม/ร้านอาหาร 44,470 คน (ร้อยละ 12.13) ขนส่ง/สถานที่เก็บสินค้า 19,765 คน (ร้อยละ 5.39) กิจกรรมการบริหาร/บริการสนับสนุน 18,060 คน (ร้อยละ 4.92) การก่อสร้าง 15,687 คน (ร้อยละ 4.28) ตามลำดับเป็นสำคัญ

การว่างงานเพิ่มขึ้นสูงสุด (10 อันดับแรก) ณ เดือน ม.ค. 2564 [หน่วย: +เพิ่มขึ้นต่อปี (%)] ได้แก่ 1. ที่พักแรม: +28,636 คน (650.37%) 2. การค้าส่งค้าปลีก: +18,915 คน (91.36%) 3. การบริการอาหารและเครื่องดื่ม: +7,524 คน (192.58%) 4. การผลิตยานยนต์ รถพ่วงและรถกึ่งพ่วง: +6,507 คน (287.79%) 5. การผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร: +5,138 คน (90.87%) 6. การก่อสร้างอาคาร: +5,005 คน (157.69%) 7. การผลิตคอมพิวเตอร์/อิเล็กทรอนิกส์: +4,794 คน (125.04%) 8. กิจกรรมคลังสินค้า/สนับสนุนการขนส่ง: +4,786 คน (286.24%) 9. การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ฯ: +4,218 คน (154.22%) และ 10. กิจกรรมของตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยวฯ: +3,800 คน (517.71%)

ส่วนอัตราการว่างงานสูงสุด (10 อันดับแรก) ณ เดือน ม.ค. 2564 ได้แก่ 1. กิจกรรมศิลปะ และความบันเทิง: 27.25 2. ที่พักแรม: 17.25 3. กิจกรรมของตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยวฯ: 16.46 4.กิจกรรมบริการที่สนับสนุนการท่าเหมืองแร่: 12.90 5. กิจกรรมห้องสมุดและกิจกรรมทางวัฒนธรรมอื่น ๆ: 11.67 6. การขนส่งทางน้่า: 9.09 7. การขนส่งทางอากาศ: 8.45 8. กิจกรรมกีฬา และนันทนาการ: 6.84 9. กิจกรรมการให้การดูแลที่ให้ที่พัก: 5.53 และ 10. การบริการอาหารและเครื่องดื่ม: 5.27

ดูตัวเลขผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคมระหว่างปี 2539-2564 ได้ที่นี่

ด้านสถานการณ์การเลิกจ้าง พบว่าเดือน ม.ค. 2564 มีผู้ประกันตนที่ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสาเหตุเลิกจ้างจากสำนักงานประกันสังคม มีจำนวน 171,075 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 482.50 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (จำนวน 29,369 คน) และเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (จำนวน 190,079 คน) ลดลงร้อยละ (-10) และอัตราการเลิกจ้างของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสาเหตุเลิกจ้างของระบบประกันสังคมในเดือน ม.ค. 2564 เท่ากับ 1.50

ประเภทกิจการที่มีการว่างงานสูงสุด คือ อุตสาหกรรมการผลิต 37,015 คน (คิดเป็นร้อยละ 21.64 ของผู้ถูกเลิกจ้างทั้งหมด) โดยส่วนใหญ่อยู่ในสาขายานยนต์ฯ การผลิตผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์/อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ และการผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ตามล่าดับ เป็นสำคัญรองลงมา คือ ที่พักแรม/ร้านอาหาร 31,779 คน (ร้อยละ 18.58) การค้า 11,776 คน (ร้อยละ 6.88) ขนส่ง/สถานที่เก็บสินค้า 9,385 คน (ร้อยละ 5.49) กิจกรรมการบริหาร/การบริการสนับสนุน 5,937 คน (ร้อยละ 3.47) และก่อสร้าง 4,495 คน (ร้อยละ 2.63 ) ตามลำดับ เป็นสำคัญ

การเลิกจ้างเพิ่มขึ้น (10 อันดับแรก) ณ เดือน ม.ค. 2564 [หน่วย: +เพิ่มขึ้นต่อปี (%)] ได้แก่ 1. ที่พักแรม : +25,858 คน (7,473.41%) 2. การค้าส่งค้าปลีก: +7,953 คน (296.98%) 3. การผลิตยานยนต์ รถพ่วงและรถกึ่งพ่วง: +5,687 คน (868.24%) 4. บริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม: +5,146 คน (1,199.53%) 5. การผลิตคอมพิวเตอร์/อิเล็กทรอนิกส์: +4,232 คน (329.34%) 6. กิจกรรมคลังสินค้า/สนับสนุนการขนส่ง: +4,067 คน (1,032.23%) 7. กิจกรรมของตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยวฯ: +3,704 คน (1,889.80%) 8. การผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร: +2,956 คน (453.37%) 9. การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย: +2,932 คน (398.91%) และ 10. การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ฯ: +2,656 คน (662.34%)

ด้านอัตราการเลิกจ้างสูงสุด (10 อันดับแรก) ณ เดือน ม.ค. 2564 ได้แก่ กิจกรรมการสร้างสรรค์ศิลปะและความบันเทิง: 24.96 2. กิจกรรมของตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยวฯ: 14.16 3. ที่พักแรม: 13.68 4.การท่าเหมืองฯ และกิจกรรมสนับสนุน: 11.50 5. กิจกรรมห้องสมุดและกิจกรรมทางวัฒนธรรมอื่น ๆ: 8.94 6. การขนส่งทางน้่า: 6.98 7. การขนส่งทางอากาศ: 6.24 8. กิจกรรมบริการส่วนบุคคลอื่น ๆ: 4.96 9. กิจกรรมกีฬา และนันทนาการ: 4.75 และ 10.การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย: 3.47 [1]

สภานายจ้างฯ เตือนรัฐอย่าลืมเดือน มี.ค.-เม.ย. เป็นช่วงนักศึกษาจบใหม่เข้ามาในตลาดแรงงานอีก 5 แสนคน กังวลมีโอกาสตกงานสูง

เมื่อช่วงต้นเดือน มี.ค. 2564 นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยว่าการจ้างงานใหม่ในปี 2564 ภาพรวมยังฟืนตัวได้ไม่ดี เนื่องจาก COVID-19 ทำให้ภาคท่องเที่ยว บริการ และอุตสาหกรรม ต่างได้รับผลกระทบ โดยจากการประเมินตัวเลขล่าสุดพบว่าแรงงานที่ตกงานสะสมยังอยู่ในระดับ 1.5-1.7 ล้านคน

ขณะเดียวกันนักศึกษาจบใหม่ช่วง มี.ค.-เม.ย. 2564 จะเข้ามาอีกราว 5 แสนคน รัฐบาลจำเป็นต้องเตรียมมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ต่อเนื่องตลอดปีนี้ เพื่อประคองและฟื้นฟูธุรกิจรองรับเศรษฐกิจที่คาดว่าทั้งไทยและโลกจะค่อย ๆ ทยอยฟื้นตัวหลังมีความชัดเจนในการฉีดวัคซีน COVID-19 มากขึ้น

นิยามการมีงานทำของไทยไม่สะท้อนข้อเท็จจริง แต่เศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้วปีนี้น่าจะเริ่มเห็นการฟื้นตัว ซึ่งการตกงานจะลดน้อยลงกว่าเดิม แต่การจ้างงานใหม่ยังไม่ได้ฟื้นตัวมากนักเพราะแรงงานภาคท่องเที่ยว ยังคงกลับมาได้น้อย จนกว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา ซึ่งดีสุดก็ปลายปีนี้

ส่วนภาคอุตสาหกรรมนั้นหากดูทิศทางการส่งออก ม.ค. 2564 ที่โต 0.35% มีทิศทางที่ดีขึ้นแต่ภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ COVID-19 ทำให้การใช้อัตรากำลังผลิตลดลงและค่อยๆฟื้นตัวแต่ก็ยังไม่เต็มที่ทำให้โอกาสที่จะรับคนเพิ่มจึงน้อยเว้นแต่อุตสาหกรรมที่มีการเติบโตสูงเช่น วัสดุทางการแพทย์ เป็นต้น

ทั้งนี้การส่งออกปี 2563 พบว่าใน 30 คลัสเตอร์หลักของภาคอุตสาหกรรมนั้นใน 18 คลัสเตอร์ที่คิดเป็นสัดส่วน 60% ของการส่งออกยังคงติดลบอาทิ เหล็ก อัญมณี ยางพารา เครื่องสำอาง ยานยนต์ เคมี ฯลฯ ดังนั้นทำให้ธุรกิจบางส่วนยังคงต้องประคองตัวและบางธุรกิจเช่นยางพารา บางรายเข้าสู่แผนฟื้นฟูแล้ว ดังนั้น รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งอัดฉีดสภาพคล่องเพื่อฟื้นฟูธุรกิจให้ต่อเนื่อง [2]

 

ข้อมูลอ้างอิง
ข้อมูลด้านเศรษฐกิจแรงงาน เดือนมกราคม 2564 (กองเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน กระทรวงแรงงาน, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 12 มี.ค. 2564)
น่าห่วง! นักศึกษาจบใหม่ 5 แสนคน มีโอกาสเสี่ยงตกงานสูง (TNN, 4 มี.ค. 2564)

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: