รายงานเผยกระบวนการผลิตอาหารคือปัจจัยหลักเร่งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

กองบรรณาธิการ TCIJ 23 ก.พ. 2564 | อ่านแล้ว 1993 ครั้ง

รายงานเผยกระบวนการผลิตอาหารคือปัจจัยหลักเร่งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

'ซิเนอร์เจีย แอนิมอล' เผยรายงานล่าสุดเผยว่ากระบวนการผลิตอาหารทั่วโลกเป็นตัวการหลักที่ผลักดันการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และยังคงดำเนินไปอย่างรวดเร็ว หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตอาหาร รายงานโดย Chatam House ร่วมกับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ และหน่วยงาน Compassion in World Farming ระบุว่าการเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคทั่วโลกเป็นอาหารจากพืชเป็นหลัก และรับประทานผลิตภัณฑ์จากสัตว์ให้น้อยลงจะลดความกดดันต่อสภาวะแวดล้อม

เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2564 ซิเนอร์เจีย แอนิมอล แจ้งต่อสื่อมวลชนว่ารายงานล่าสุดเผยว่ากระบวนการผลิตอาหารทั่วโลกเป็นตัวการหลักที่ผลักดันการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และยังคงดำเนินไปอย่างรวดเร็ว หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตอาหาร รายงานโดย Chatam House ร่วมกับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ และหน่วยงาน Compassion in World Farming ระบุว่าการเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคทั่วโลกเป็นอาหารจากพืชเป็นหลัก และรับประทานผลิตภัณฑ์จากสัตว์ให้น้อยลงจะลดความกดดันต่อสภาวะแวดล้อม

รายงานระบุว่าภาคกสิกรรมเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสายพันธุ์จำนวนมากถึง 24,000 ถึง 28,000 สายพันธุ์ (หรือ 86%) "ทั่วทั้งโลก เรากำลังสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพอย่างรวดเร็ว อัตราเร่งการสูญเสียความหลากหลายชีวภาพ ณ วันนี้ สูงกว่าอัตราเฉลี่ยเมื่อสิบล้านปีที่แล้ว” นอกจากนี้ ระบบการผลิตอาหารทั่วโลกเป็นตัวการหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คิดเป็นสัดส่วน 30 % ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมนุษย์ทั้งหมด

วิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์ ผู้จัดการฝ่ายการรณรงค์ องค์กรพัฒนาเอกชน ซิเนอร์เจีย แอนิมอล กล่าวว่า "ผืนดินทั่วโลกส่วนใหญ่ถูกใช้เป็นพื้นที่กสิกรรมเพาะปลูกอาหารเลี้ยงสัตว์ จากนั้นคนก็เอาสัตว์มาเป็นอาหาร จึงเป็นระบบที่ไม่มีประสิทธิภาพ" ซิเนอร์เจีย แอนิมอลทำงานสนับสนุนทางเลือกอาหารที่ยั่งยืนกว่าและเห็นอกเห็นใจมากกว่าในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาและกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ปริมาณเท่ากันหากใช้ในการเพาะปลูกอาหารประเภทโปรตีนจากพืช 100 กรัม จะสามารถผลิตอาหารประเภทโปรตีนที่ได้จากสัตว์ ในรูปแบบของเนื้อวัว เพียง 4 กรัม ปริมาณธัญพืชที่ใช้เลี้ยงปศุสัตว์สามารถนำมาเลี้ยงประชากรในสหรัฐอเมริกาได้กว่า 390 ล้านคน การเลิกใช้สัตว์เป็นตัวกลางในห่วงโซ่อาหารของคนจะช่วยลดขั้นตอนการทำกสิกรรมอย่างหนาแน่น เพื่อปลูกพืชมาเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ และลดความบอบช้ำต่อระบบนิเวศ นอกจากนี้ ปริมาณพืชที่นำมาเป็นอาหารสำหรับคนคิดเป็น 55% ของปริมาณพืชทั้งหมดทั่วโลก โดยวัดในเชิงปริมาณแคลอรี่

เช่นเดียวกัน ความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารทะเลกำลังทำลายระบบนิเวศทางทะเล อุตสาหกรรมประมงจับปลาจำนวนมหาศาลกว่าหลายพันล้านตัวทุกปี ยิ่งไปกว่านี้ 40% ของสัตว์น้ำที่ถูกจับได้เป็นสัตว์น้ำพลอยได้ เป็นผลพลอยได้ของการทำประมงและเป็นปลากลุ่มนอกเป้าหมาย ถูกจับมาโดยไม่ได้ตั้งใจ อีกทั้งอุปกรณ์ประมงยังถูกทิ้งไว้ในมหาสมุทร คิดเป็น 85% ของขยะทางทะเลในบางพื้นที่ของมหาสมุทร การเร่งทำฟาร์มสัตว์น้ำก็ไม่ใช้ทางออกที่ยั่งยืน มีการประมาณการว่าปลาทะเลจำนวน 460 ถึง 1,100 พันล้านตัวถูกจับมาเป็นอาหารในฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ

“ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์นม ไข่เป็นอาหารที่ไม่ยั่งยืนที่สุดที่คนจะบริโภคได้ หากเราลดกระบวนการผลิตอาหารอย่างมีนัยยะสำคัญ พื้นที่ในการเพาะปลูกก็จะลดลง ส่งผลให้ผลกระทบต่อผืนป่าและระบบนิเวศลดลงไปด้วย เช่นเดียวกัน หากเราลดการทำอุตสาหกรรมประมง มหาสมุทรก็จะถูกทำลายน้อยลง” วิชญะภัทร์กล่าว

เราช่วยหยุดการทำลายได้ด้วยการเปลี่่ยนมาบริโภคอาหารที่มาจากพืช ซิเนอร์เจีย แอนิมอลได้ริเริ่มโครงการท้าลอง 22 วัน เพื่อช่วยสนับสนุนให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมมาบริโภคอาหารที่ยั่งยืนกว่าเดิม ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับทิปส์ประจำวัน สูตรอาหาร และความช่วยเหลือจากนักกำหนดอาหาร ภายในปี 2563 มีผู้ร่วมโครงการทั้งหมด 14,138 คน ลงชื่อเพื่อเข้าร่วมโครงการ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายที่ wwww.thaichallenge22.org

 

เกี่ยวกับซิเนอร์เจีย แอนิมอล

ซิเนอร์เจีย แอนนิมอล เป็นองค์กรพิทักษ์สัตว์ระดับสากล ปฏิบัติงานในประเทศกำลังพัฒนาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของสัตว์ในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร เราได้รับการจัดอันดับโดย Animal Charity Evaluators (ACE) ให้เป็นหนึ่งในองค์กรพิทักษ์สัตว์ที่ทำงานได้มีประสิทธิภาพที่สุดในโลก

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: