เผยช่วง COVID-19 ไทยครองอันดับ 1 ของโลก ด้านการใช้งานแอปฯ บริการธนาคารและการเงิน

กองบรรณาธิการ TCIJ 29 พ.ค. 2564 | อ่านแล้ว 2379 ครั้ง

เผยช่วง COVID-19 ไทยครองอันดับ 1 ของโลก ด้านการใช้งานแอปฯ บริการธนาคารและการเงิน

ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ประเทศไทยครองอันดับ 1 ของโลกด้านการใช้งานแอปพลิเคชันธนาคารและการเงินในรายงาน Digital 2020 ของ We Are Social ฉบับล่าสุด โดยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีอายุระหว่าง 16-64 ปี จำนวนสูงถึง 68.1% รายงานฉบับเดียวกันเปิดเผยว่าประเทศไทยครองอันดับ 2 ด้านการชำระเงินผ่านมือถือ โดยมีผู้ใช้งาน 45.3% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 30.9% | ที่มาภาพประกอบ: MarketingSchoolsOnline

สำนักข่าวอินโฟเคสท์ รายงานเมื่อช่วงปลายเดือน พ.ค. 2564 ว่าการทำธุรกรรมการเงินดิจิทัลภายในประเทศพุ่งสูงขึ้นในช่วงแพร่กระจายของโรคระบาด แคสเปอร์สกี้ บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระบุว่า การเติบโตนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับภาคการเงิน ในการบูรณาการการรักษาความปลอดภัยและการปรับปรุงความสามารถด้านคลังข้อมูลภัยคุกคาม

นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า "สำหรับอาชญากรไซเบอร์ส่วนใหญ่ เงินที่ได้มาอย่างง่ายดายเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญ และภาคธุรกิจการเงินอยู่ในจุดเฉพาะที่จะตกเป็นเป้าหมายการโจมตีตลอดเวลาเพราะเป็นแหล่งที่มีเงินอยู่เสมอ บริการทางการเงินดิจิทัลในประเทศไทยก็มีลักษณะการเติบโตเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ที่เริ่มก่อความเสี่ยงใหม่ๆ ให้กับทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ โดยในกรณีนี้มีเทคโนโลยีจะเป็นตัวเปลี่ยนเกม"

จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ประเทศไทยได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของระบบการเงิน เช่น พร้อมเพย์และการชำระเงินมาตรฐาน QR ซึ่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ที่จะเป็นรากฐานสำหรับธุรกรรมดิจิทัลเต็มรูปแบบที่ผู้ใช้สามารถเปิดบัญชีได้โดยไม่ต้องไปที่สาขาของธนาคาร มีขั้นตอนที่สะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น ผ่านการรับรองความถูกต้องระหว่างธนาคารผ่านแพลตฟอร์มการยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ National Digital ID (NDID) อย่างไรก็ตามโครงการตรวจสอบและยืนยันตัวตนผ่าน NDID กำลังอยู่ในการทดสอบอย่างจำกัดภายใต้แซนด์บ็อกซ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย

ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ ประเทศไทยครองอันดับหนึ่งของโลกด้านการใช้งานแอปบริการธนาคารและการเงินในรายงาน Digital 2020 ของ We Are Social ฉบับล่าสุด โดยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีอายุระหว่าง 16-64 ปี จำนวนสูงถึง 68.1% รายงานฉบับเดียวกันเปิดเผยว่าประเทศไทยครองอันดับสองด้านการชำระเงินผ่านมือถือ โดยมีผู้ใช้งาน 45.3% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 30.9%

แม้ว่าผู้บริโภคชาวไทยจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างมาก แต่ด้วยข้อจำกัดด้านการล็อกดาวน์และการทำงานระยะไกลที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีธนาคารบางแห่งเท่านั้นที่สามารถเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้

ข้อจำกัดดังกล่าวยังนำไปสู่การชำระเงินดิจิทัลและแพลตฟอร์มเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่พุ่งสูงขึ้นในระยะเวลาอันสั้น ความสามารถทางเทคโนโลยีและรูปแบบการดำเนินงานที่สร้างขึ้นเพื่อให้ปฏิบัติงานของธนาคารต่อไปได้แม้ว่าจะมีการล็อกดาวน์ ถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นใจในความอยู่รอดของธุรกิจ การควบคุมและการปฏิบัติตามข้อกำหนด รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

แม้ว่าสถาบันการเงินจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างรวดเร็ว แต่การรักษาความปลอดภัยของแพลตฟอร์มและผู้ใช้ก็มีมูลค่ามากพอๆ กับนวัตกรรม

เมื่อปี 2563 แอปธนาคารดิจิทัลของสหรัฐอเมริกาถูกโจมตีโดยกลุ่มแฮ็กเกอร์ชื่อ ShinyHunters ซึ่งส่งผลให้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้มากกว่า 7.5 ล้านคนถูกเปิดเผยสู่สาธารณะในโพสต์ฟอรั่มการแฮก เช่น ชื่อและหมายเลขประกันสังคม

องค์กรเกือบครึ่งหนึ่งมีปัญหาในการค้นหาความแตกต่างระหว่างภัยคุกคามจริงและผลบวกปลอม (false positives) ทีมรักษาความปลอดภัยจึงถูกปล่อยให้เป็น "คนตาบอด" แทนที่จะจัดลำดับความสำคัญของภัยคุกคามที่สามารถจัดการได้อย่างเหมาะสม จึงเป็นการเปิดองค์กรให้รับการโจมตีอย่างไม่คาดคิด

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: