ประกาศให้วันที่ 23 เม.ย. เป็นวันสุขภาพจิตทารก เด็ก และวัยรุ่นสากล

กองบรรณาธิการ TCIJ 3 มิ.ย. 2565 | อ่านแล้ว 5743 ครั้ง

องค์กรจิตเวชสำหรับเด็กและวัยรุ่นชั้นนำของโลกประกาศให้วันที่ 23 เมษายน เป็นวันสุขภาพจิตทารก เด็ก และวัยรุ่นสากล (WICAMHD) เพื่อตระหนักถึงความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาที่กำลังขยายตัวและกระตุ้นให้ประชาคมโลกมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา

Media OutReach รายงานเมื่อช่วงเดือน พ.ค. 2022 ว่าการวิจัยพบว่าความผิดปกติทางจิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นในวัยเด็กและวัยรุ่น (อายุไม่เกิน 25 ปี) และ 1 ใน 4 ของวัยที่ถูกทำลายจากความทุพพลภาพหรือความเจ็บป่วยจากความผิดปกติทางจิตและการใช้สารเสพติดนั้นเกิดขึ้นกับเยาวชน สมาคมจิตเวชเด็กและวัยรุ่นและวิชาชีพที่เกี่ยวข้องระหว่างประเทศ (IACAPAP) สมาคมจิตเวชและจิตวิทยาวัยรุ่นระหว่างประเทศ (ISAPP) สมาคมสุขภาพจิตทารกโลก (WAIMH) และสมาคมจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่นโลก (WPA-CAP) ได้ร่วมกันประกาศให้วันที่ 23 เมษายนเป็นวันสุขภาพจิตสำหรับทารก เด็ก และวัยรุ่นสากล (WICAMHD) โดยมีการจัดกิจกรรมประกาศในวันเดียวกัน เพื่อตระหนักถึงความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาที่กำลังขยายตัวและกระตุ้นให้ประชาคมโลกมีส่วนร่วมและดำเนินการ

เด็กและวัยรุ่นมีจำนวน 1 ใน 3 ของประชากรโลก โดยเด็กและวัยรุ่นเป็นวัยพื้นฐาน และเป็นช่วงเวลาแห่งการเติบโต การเรียนรู้ และการสำรวจสิ่งรอบข้างอย่างไร้กังวล อย่างไรก็ตาม ผู้คนจำนวนมากทั่วโลกประสบกับความบอบช้ำและปัญหาทางจิตใจ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่การวิจัยได้แสดงให้เห็นแล้วว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพจิตและร่างกายตลอดการดำเนินชีวิต

การวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าความผิดปกติทางจิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นในวัยเด็กและวัยรุ่น (อายุไม่เกิน 25 ปี) และ 1 ใน 4 ของวัยที่ต้องใช้ชีวิตกับความทุพพลภาพจากความผิดปกติทางจิตและการใช้สารเสพติดเกิดได้ขึ้นกับวัยรุ่น ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก (ACEs) ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความผิดปกติทางจิตในผู้ใหญ่อีกด้วย ผลกระทบทางอ้อมและผลกระทบระยะยาวของความผิดปกตินี้เป็นภาระทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการรักษาพยาบาลและการสูญเสียผลผลิต

ข้อความด้านล่างนี้ตัดตอนมาจากวิทยากรในงานเปิดตัว: รองศาสตราจารย์ Daniel Fung ประธาน IACAPAP กล่าวว่า "การศึกษาผู้ใหญ่ที่ป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจได้แสดงให้เห็นว่าประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็กสามารถส่งผลในระยะยาวต่อไปในชีวิต รัฐบาลในหลาย ๆ ประเทศส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเฉพาะกับผู้ใหญ่ ทั้งในด้านงบประมาณทางการเงินและการพัฒนานโยบาย เราหวังว่าจะเปลี่ยนแปลงประเด็นนี้ผ่านวันสุขภาพจิตทารก เด็ก และวัยรุ่นสากล โดยพิจารณาดูลำดับความสำคัญและเหตุผลที่เหมาะสมสำหรับการวางแผนอนาคตของเรา หากมีสุขภาพที่มาพร้อมกับสุขภาพจิต กุญแจสู่สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนและประเทศชาติก็จะขึ้นอยู่กับเยาวชน และเราควรเริ่มดำเนินการตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อปกป้องสุขภาพจิตของพวกเขา"

ศาสตราจารย์ Campbell Paul ประธาน WAIMH กล่าวว่า "การแทรกแซงตั้งแต่เนิ่น ๆ หมายถึงการแทรกแซงในวัยเด็ก และก่อนที่ปัญหาสุขภาพจิตจะเกิดขึ้นและเมื่อความยากลำบากที่เพิ่มขึ้นในการช่วยให้เด็กหรือวัยรุ่นกลับมามีวิถีการพัฒนาทางสังคมและอารมณ์ที่ดีได้ บริการสุขภาพจิตสำหรับทารก เด็ก และวัยรุ่นทั่วโลกมีไม่ทั่วถึงและกระจัดกระจายเป็นหย่อม ๆ เนื่องจากหลายประเทศและชุมชนไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพจิตเด็กได้"

ศาสตราจารย์ Norbert Skokauskas ประธาน WPA-CAP กล่าวว่า "เราตระหนักถึงความต้องการด้านสุขภาพจิตของเด็กและวัยรุ่นทั่วโลที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือในปัจจุบัน และเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเราที่จะเรียกร้องให้มีแนวทางบูรณาการพร้อมวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนสำหรับการเปลี่ยนแปลง การสนับสนุนทางการเมือง และเงินทุนเพื่อดำเนินการตามวิสัยทัศน์ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมเพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติทางคลินิก"

ศาสตราจารย์ Mario Speranza ประธาน ISAPP กล่าวว่า "การดูแลสุขภาพจิตของวัยรุ่นไม่ได้เป็นเพียงหน้าที่ต่อประชากรส่วนสำคัญเท่านั้น แต่อาจเป็นประโยชน์ที่จะเตือนตัวเราเองว่าเด็กและวัยรุ่นเป็นตัวแทนของประชากรโลกมากกว่า 1 ใน 4 และเป็นมากกว่าการลงทุนในส่วนที่คุ้มค่าที่สุดในสังคมของเรา รวมทั้งสร้างความตระหนักรู้ถึงความต้องการเฉพาะของเด็กและวัยรุ่น และการดูแลสุขภาพจิตของพวกเขาหมายถึงการลงทุนเพื่ออนาคตของเราเอง และนี่คือเหตุผลในการเฉลิมฉลองวันสุขภาพจิตทารก เด็ก และวัยรุ่นสากล"

การกำหนดให้วันที่ 23 เมษายนเป็น วันสุขภาพจิตทารก เด็ก และวัยรุ่นสากล ทำให้เห็นถึงความสำคัญของสุขภาพจิตของทารก เด็ก และวัยรุ่น และส่งเสริมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสนับสนุนและส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันโรคทางจิตในเด็กโดยการ:

  • ปรับปรุงการตระหนักรู้ให้แก่สาธารณชนทั่วโลกเกี่ยวกับสุขภาพจิตของทารก เด็ก และวัยรุ่น
  • สร้างความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการส่งเสริมสุขภาพจิตของทารก เด็ก และวัยรุ่น ตลอดจนลดรอยแผลของความผิดปกติทางจิตในประชากรเหล่านี้
  • ปรับปรุงการวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันความผิดปกติทางจิตของทารก เด็ก และวัยรุ่นด้วยความร่วมมือและความเข้าใจระหว่างประเทศ
  • ให้ความช่วยเหลือประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรด้านผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตสำหรับทารก เด็ก และวัยรุ่น


ความชุกของความผิดปกติทางจิตยังคงเพิ่มขึ้นในวัยรุ่น และสูงกว่ากลุ่มผู้ใหญ่ ความเข้าใจที่ดีขึ้นในเรื่องนี้ รวมถึงการตระหนักรู้ที่เพิ่มขึ้นในหมู่ชุมชน และการช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพนั้นจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

ดูบันทึกงานเปิดตัวได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=jgOV4WR0m7I

เกี่ยวกับองค์กรต่าง ๆ
สมาคมจิตเวชเด็กและวัยรุ่นและวิชาชีพที่เกี่ยวข้องระหว่างประเทศ (IACAPAP)

ภารกิจของสมาคมจิตเวชเด็กและวัยรุ่นและวิชาชีพที่เกี่ยวข้องระหว่างประเทศ (IACAPAP) คือการสนับสนุนและส่งเสริมสุขภาพจิตและการพัฒนาของเด็กและวัยรุ่นผ่านนโยบาย แนวปฏิบัติ และการวิจัย

ภารกิจของ IACAPAP คือการส่งเสริมจิตเวชเด็กและวัยรุ่นและสุขภาพจิตและการพัฒนาของเด็กและวัยรุ่นผ่านนโยบาย การปฏิบัติ การฝึกอบรม และการวิจัย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดูที่:  https://iacapap.org/

สมาคมจิตเวชและจิตวิทยาวัยรุ่นระหว่างประเทศ (ISAPP)

สมาคมจิตเวชและจิตวิทยาวัยรุ่นระหว่างประเทศ (ISAPP) เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำงานด้านสุขภาพจิตของวัยรุ่น และประกอบด้วยสมาชิกที่ทุ่มเทให้กับการทำงานกับวัยรุ่น ทั้งในด้านจิตเวชศาสตร์และจิตวิทยาเด็ก หรือจิตเวชศาสตร์และจิตวิทยาผู้ใหญ่

ภารกิจของ สมาคมจิตเวชและจิตวิทยาวัยรุ่นระหว่างประเทศ (ISAPP) คือการเพิ่มความตระหนักรู้ให้แก่สาธารณชนและวิชาชีพที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตและการพัฒนาของวัยรุ่นทั่วโลก

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดูที่:  http://www.isapp.org/

สมาคมสุขภาพจิตทารกโลก (WAIMH)

สมาคมสุขภาพจิตทารกโลก (WAIMH) เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรสำหรับวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และการศึกษา เป้าหมายหลักของ WAIMH คือการส่งเสริมความผาสุกทางจิตและการพัฒนาสุขภาพของทารกทั่วโลก โดยคำนึงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม ภูมิภาค และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการสร้างและเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์

ภารกิจของ WAIMH ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการศึกษาผลกระทบของการพัฒนาจิตใจ อารมณ์ และสังคมในช่วงวัยทารกในการพัฒนาแบบทั่วไปและทางจิตเวชในภายหลัง ผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศและสหวิทยาการ การตีพิมพ์ สมาคมในเครือ และผ่านการประชุมระดับภูมิภาคทุก ๆ สองปีที่มอบให้แก่การทำงานด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษา และคลินิกกับทารกและผู้ดูแล

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดูที่:  https://waimh.org/

ส่วนสมาคมจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่นโลก (WPA-CAP)

ส่วนสมาคมจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่นโลก (WPA-CAP) จะสนับสนุนภารกิจและเป้าหมายโดยรวมของ สมาคมจิตเวชโลก (WPA) ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • การทำงานร่วมกับสมาชิกและพันธมิตรทั่วโลกเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น และเพื่อส่งเสริมมาตรฐานการปฏิบัติทางคลินิกและพฤติกรรมทางจริยธรรมในระดับสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้ในจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
  • การมีส่วนร่วมในโปรแกรมการศึกษาและการวิจัย การประชุม และการตีพิมพ์เพื่อเพิ่มความรู้เกี่ยวกับความผิดปกติทางจิตของเด็กและวัยรุ่น และทักษะในการจัดการกับปัญหาเหล่านี้
  • การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการบำบัดตามอาการที่พบและการปฏิบัติตามค่านิยมด้านจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น
  • การเป็นกระบอกเสียงเพื่อศักดิ์ศรีและสิทธิมนุษยชนของผู้ป่วยเด็กและครอบครัว
  • การส่งเสริมสิทธิจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นเมื่อมีความท้าทายเกิดขึ้น


สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดูที่:  https://www.wpanet.org/child-adolescent-psychiatry

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: