วงการกีฬานานาชาติเริ่มตั้งกฎเกณฑ์เกี่ยวกับนักกีฬาข้ามเพศ

กองบรรณาธิการ TCIJ 17 ก.ค. 2565 | อ่านแล้ว 1934 ครั้ง

วงการกีฬานานาชาติเริ่มตั้งกฎเกณฑ์เกี่ยวกับนักกีฬาข้ามเพศ

บรรดาองค์กรกีฬาระหว่างประเทศอยู่ในระหว่างการกำหนดหรือพิจารณากฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการแข่งขันของนักกีฬาข้ามเพศ

เมื่อช่วงต้นเดือน ก.ค. 2022 VOA รายงานว่าสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ หรือ FINA ได้ประกาศนโยบายที่จะห้ามไม่ให้ผู้หญิงข้ามเพศส่วนมากเข้าร่วมการแข่งขัน โดยได้กำหนดให้กลุ่มคนข้ามเพศเริ่มเข้ารับการรักษาในเรื่องการเปลี่ยนแปลงเพศก่อนอายุ 12 ปี

คนข้ามเพศบางคนใช้ยาเพื่อลดระดับฮอร์โมนเพศชายหรือเพศหญิง ซึ่งฮอร์โมนดังกล่าวนั้นส่งผลอย่างมากต่อการพัฒนาร่างกาย

หลังจากที่ FINA ประกาศการตัดสินใจของตนแล้ว องค์กรอื่น ๆ เช่น องค์กรที่จัดการแข่งขันกีฬาฮอกกี้ รักบี้ ไตรกีฬา และปั่นจักรยาน ก็กำลังตั้งกฎเกณฑ์ใหม่หรือดัดแปลงแก้แก้ไขกฎเดิมด้วยเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ FIFA หรือสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติยังกล่าวด้วยว่าทางองค์กรกำลังทบทวนกฎเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องเพศใหม่อีกครั้ง

คณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ IOC กล่าวเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วว่า จะไม่ทำการตัดสินใจใด ๆ เกี่ยวกับประเด็นนี้ และโฆษกของ IOC ยังกล่าวด้วยว่า “ทางองค์กรไม่สามารถใช้กฎเกณฑ์เดียวกันกับนักกีฬาทุก ๆ คนได้” และว่า การตัดสินใจดังกล่าวเป็นความรับผิดชอบของแต่ละสหพันธ์และกีฬาแต่ละประเภท

อย่างไรก็ดี นโยบายโอลิมปิกที่ผ่าน ๆ มาอนุญาตให้สตรีข้ามเพศที่ได้รับการบำบัดด้วยฮอร์โมนเป็นเวลาอย่างน้อย 12 เดือนสามารถลงแข่งขันกับนักกีฬาหญิงได้

ทางด้านผู้จัดการแข่งขันกรีฑาประเภทลู่และลาน หรือ World Athletics ดำเนินการโดยอดีตนักกีฬาเหรียญทองโอลิมปิกเซบาสเตียน โคว (Sebastian Coe) แห่ง Great Britain ซึ่งเขาได้กล่าวว่า World Athletics จะตรวจสอบนโยบายต่าง ๆ เกี่ยวกับนักกีฬาข้ามเพศภายในสิ้นปี 2022 นี้

ทั้งนี้ หาก World Athletics ทำตามนโยบายของ FINA ก็อาจทำให้นักวิ่งอย่างแคสเตอร์ ซาเมนยา (Caster Semenya) จากแอฟริกาใต้และ คริสทีน เอ็มโบมา (Christine Mboma) จากนามิเบียไม่สามารถเข้าร่วมแข่งขันได้ โดยทั้งสองเป็นนักวิ่งอันดับต้น ๆ ที่ลงแข่งขันกับผู้หญิง แต่มีความแตกต่างในเรื่องการพัฒนาทางเพศซึ่งส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสูงกว่าผู้หญิงส่วนใหญ่

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: