ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากผู้หญิง เด็ก และเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศในชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง จาก "เวทีรณรงค์ผลักดันนโยบายและกฎหมายที่คํานึงถึงเสียและสิทธิของผู้หญิง เด็กชนเผ่าพื้นเมือง รวมทั้งชนเผ่าพื้นเมืองที่มีความหลากหลายทางเพศ”
โครงการจัดตั้งมูลนิธิสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ดําเนินงาน ด้านการพัฒนาสิทธิผู้หญิง เด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ ในชุมชนเผ่าพื้นเมือง มี พื้นที่ทํางานอยู่ในแนวชายแดนไทย - พม่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดตากและจังหวัดเชียงใหม่ มี การขับเคลื่อนงานรณรงค์ร่วมกับเครือข่ายทั้งในระดับชุมชน ประเทศ และนานาชาติ ได้ร่วมกับ ชนชนเผ่าพื้นเมืองเครือข่าย จาก 5 ชุมชน ไ ด้แก่ ชุมชนบ้านแม่สามแลบ และชุมชนบ้านทิยาเพอ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ชุมชนบ้านแม่อมกิ และชุมชนบ้านปางทอง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก และ ชุมชน บ้านหนองคริซูใน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ซึ่งร่วมกันทําวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้แนวคิดเฟมิ นิสต์ เรื่อง การพัฒนาสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติของผู้หญิงชนเผ่าพื้นเมือง จัดเวที “เวทีรณรงค์ผลักดันนโยบายและกฎหมายที่คํานึงถึงเสียและสิทธิของผู้หญิง เด็กชนเผ่าพื้นเมือง รวมทั้งชนเผ่าพื้นเมืองที่มีความหลากหลายทางเพศ” สนับสนุนโดย Foundation for a Just Society ในวันที่ 28 เมษายน 2566 เวลา 13:00 - 16:30 น.
โดยการจัดงานมีเป้าหมายเพื่อสร้างพื้นที่สาธารณะในการรณรงค์ผลักดันนโยบายและ กฎหมายกับพรรคการเมือง ชุมชน และสังคมไทย โดยคํานึงการมีส่วนร่วม เสียงและความต้องการ ของผู้หญิง เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองที่มีความหลากหลายทางเพศ ทั้งในมิติสิทธิชนเผ่าพื้น เมือง ที่ครอบคลุมสิทธิชุมชน สิทธิที่ดินและสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งได้ผลกระ ทบจากการจํากัดและการละเมิดโดยกฎหมายและนโยบายของภาครัฐ การดําเนินโครงการพัฒนา ขนาดใหญ่และ/หรือการดําเนินงานของภาคธุรกิจ รวมทั้งผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ
ในเวทีนอกจากมีตัวแทนเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองจากทั้ง 5 ชุมชนร่วม: นําเสนองานวิจัย และข้อเสนอเชิงนโยบายในเวทีที่1: ได้แก่(1)ภัครทรินทร์จรุงสาครเยาวชนนักวิจัยชุมชนแม่ทิ ยาเพอ จังหวัด แม่ฮ่องสอน (2) มะเมียะเส่ง สิริวลัย เยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง ที่มีความหลากหลาย ทางเพศ เยาวชนนักวิจัย ชุมชนแม่สามแลบ จังหวัดแม่ฮ่องสอน (3) ดาวรุ่ง เวียงวิชชา เยาวชนนัก วิจัย ชุมชนแม่อมกิ จังหวัดตาก (4) ดํารงณ์ ราตรีคีรีรักษ์ เยาวชนนักวิจัย ชุมชนแม่ปางทอง จังหวัด ตาก และ (5) อนุทัย ซารังแฮ เยาวชนนักวิจัย ชุมชนหนองคริซุใน จังหวัดเชียงใหม่
แล้วยังมีเวทีที่ 2 ที่จะเยาวชน ชนเผ่าพื้นเมือง นักปกป้องสิทธิฯ ที่ทํางานเรื่องความเป็น ธรรมทางเพศทางสังคม นําเสนอสถานการณ์ความเป็นธรรมทางเพศ ทางสังคม ของผู้หญิง เด็ก และบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ในชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง
เยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองที่นำเสนอข้อเสนอแนะแก่พรรคการเมือง ได้แก่ (1) มะเมีย ะเส่งสิริวลัยเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองที่มีความหลากหลายทางเพศ (2) ศิริวรรณพรอินทร์ Asian GirlAaward2020/ สาขา Human Right (3) ยศธูปทองดี เยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองนักป้องสิทธิมนุษยชน ครูโรงเรียนมัธยม
โดยมีพรรคการเมืองที่ตอบรับเข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้ ไ ด้แก่ (1) เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล - Move Forward Party (2) นาดา ไ ชยจิตต์ ผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสมอภาค-Equality Party (3) สุริยา แสงแก้วฝั้น ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคสามัญชน - Commoners Party (4) นานา วิภาพรรณ วงษ์ สว่าง ผู้สมัคร ส.ส. พรรคไทยสร้างไทย เชียงใหม่ เขต 3
ทั้งนี้เวทีนี้ดําเนินรายการโดยมัจฉา พรอินทร์ ผู้อํานวยการและผู้ก่อตั้งโครงการจัดตั้ง มูลนิธิสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน และให้ความเห็นเชิงวิชาการ โ ดยมลิวัลย์ เสนาวงษ์ อาจารย์ภาค วิชาสตรีศึกษา คณสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จากการดําเนินงานด้านการพัฒนาสิทธิมนุษยชนของ ผู้หญิง เด็ก และเยาวชน ใ นชุมชน ชนเผ่าพื้นเมืองที่มีความหลากหลายทางเพศ พบว่าสภาพปัญหาในระดับชุมชนมีความซับซ้อน ทั้ง มิติความเป็นชาติพันธุ์/ชนเผ่าพื้นมือง ที่เผชิญกับข้อท้าทายและสภาพปัญหาการถูกริดรอนสิทธิ ชุมชน สิทธิที่ดินและสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร โ ดยกฎหมายและนโยบายของภาครัฐ การได้รับ ผลกระทบจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่และการดําเนินงานของภาคธุรกิจ เช่น เหมืองแร่ โครงการผันน้ํา เขื่อนฯลฯ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ในกรณีีของ ผู้หญิง เด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ นอกจากจะเผชิญกับสภาพปัญหาที่กล่าวมา แล้ว ยังเผชิญกับสภาพปัญหาที่ซับซ้อนกว่า ด้วยมิติความเหลื่อมล้ําและอคติทางเพศ อันมีรากฐาน มาจากวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ ทําให้ขาดการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ดังนั้นการพัฒนาการมี ส่วนร่วมเพื่อให้เสียงและความต้องการของผู้หญิง เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองที่มีความหลาก หลายทางเพศนี้เอง นอกจากจะนําไปสู่การแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างเพื่อนําไปสู่การพัฒนาสิทธิ ชนเผ่าพื้นเมืองและความเป็นธรรมทางเพศแล้ว ซึ่งเป็นรากฐานที่สําคัญคัญในการบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาอย่างยั่งยืน โ ดยเฉพาะ SDG Goal 1 การขจัดความยากจน SDG Goal 2 การขจัดความ หิวโหย SDG Goal 3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี SDG Goal 4 การศึกษาที่เท่าเทียม SDG Goal 5 ความเท่าเทียมและเป็นธรรมทางเพศ
เวทีมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและ/หรือกฎหมาย จากงานวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมโดย ใช้แนวคิดสตรีนิยม เรื่องการพัฒนาสิทธิในเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติของผู้หญิงชนเผ่าพื้นเมือง โดย องค์กรสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน และแกนนํานักวิจัยเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง 5 ชุมชนชนเผ่า พื้นเมือง ได้แก่ ชุมชนบ้านแม่สามแลบ และชุมชนบ้านทิยาเพอ อําเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ชุมชนบ้านแม่อมกิ และชุมชนบ้านปางทอง อําเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก และชุมชน บ้านหนองค ริซูใน อําเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ดังต่อไปนี้
1. ยอมรับตัวตน/อัตลักษณ์ การมีอยู่ของชนเผ่าพื้นเมืองในสังคมไทยและปฏิบัติตามปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง UNDRIP
2. ยกเลิกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับดิน ป่าไม้ และอุทยานทั้งหมดที่ละเมิดสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง
3. ยกเลิกโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่จะส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง เช่น โครงการ ผันน้ํายวมที่รัฐและ/หรือเอกชน/ภาคธุรกิจร่วมกันผลักดันให้เกิดในพื้นที่ของชนเผ่าพื้นเมือง เพราะนอกจากจะกําหนดและผลักดันโดยไม่มีส่วนร่วมของชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง ยังส่งผลกระทบ ต่อสภาพสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศและวีถีชนเผ่าพื้นเมือง
4. ยกเลิกเขื่อนที่จะเกิดขึ้นในแม่น้ําสาละวินทั้งหมดเพราะขาดการมีส่วนของชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง และมีผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศและวีถีชนเผ่าพื้นเมือง นอกจากนี้ การสร้าง เขื่อนในแม่น้ําสาละวิน ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการใช้ความรุนแรงโดยรัฐบาลเผด็จการพม่าที่ กระทําต่อชาติพันธุ์/ชนเผ่าพื้นเมือง
5. ฟื้นฟูและเยียวยาชุมชน ชนเผ่าพื้นเมืองที่ได้รับผลกระทบจากการทําเหมืองแร่ เช่น ชุมชนบ้านทิ ยาเพอ ยกเลิกเหมืองแร่ที่กําลังดําเนินธุรกิจอยู่ เช่น เหมืองแร่ใน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ และยุติ โครงการที่จะทําและที่จะให้สัมปทานเหมืองในอนาคต เช่น ที่ กะเบอะดิน อ.อมก๋อย และที่อื่นๆ ในประเทศไทย
6. ยกเลิกมาตรการและนโยบายเรื่อง PM 2.5 ทั้งหมด และร่วมกันผลักดันให้เกิด พรบ.อากาศ สะอาดยืนยันหลักการการมีส่วนร่วมของชนเผ่าพื้นเมือง โ ดยเฉพาะผู้หญิง เด็กและเยาวชนชนเผ่า พื้นเมืองที่มีความหลากหลายทางเพศ เนื่องจากเผชิญกับความเหลื่อมล้ํา การถูกตีตราและเหมา รวม ทําให้เสี่ยงที่จะถูกเลือกปฏิบัติ ถูกบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่ไม่เป็นธรรม และให้ความ สําคัญกับประสบการณ์และภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมืองในการใช้ไฟจัดการป่าที่ได้สั่งสมมาจาก บรรพบุรุษ ร่วมกับการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และความรู้ในทางสังคม เพื่อเอื้อให้เกิดการ แก้ไขปัญหา PM 2.5 อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
7. การันตีการมีส่วนร่วมที่มีความหมายของผู้หญิง เด็ก และเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ ในการผลักดันเชิงกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและการพัฒนาสิทธิมนุษยชนชนเผ่า พื้นเมืองในทุกระดับ โดยการให้ความสําคัญกับการมีตัวแทน การสนับสนุนและการตอบสนองต่อ เสียง ความต้องการ ตลอดจนข้อเสนอแนะเหล่านั้น
8. ปกป้อง คุ้มครอง ส่งเสริมและรื้อฟื้นการทําไร่หมุนเวียนซึ่งเป็นวิถีชีวิตชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อให้มี ความมั่นคงทางด้านอาหาร อาชีพและรายได้ ตลอดจนการเก็บเมล็ดพันธุ์ดั้งเดิม รวมทั้งส่งเสริม โอกาส และทางเลือกในการเพาะปลูกที่หลากหลาย กระบวนการผลิตที่ปลอดภัยทั้งในแง่ของการ ผลิตและการบริโภค เพื่อไม่ให้ชนเผ่าพื้นเมือง ตกเป็นเหยื่อของเกษตรพันธะสัญญาและ/หรือการ ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ที่ต้องพึ่งพิงเมล็ดพันธุ์ที่ตัดต่อพันธุกรรม การใช้สารเคมีและยาปราบศัตรูพืช อย่างเข้มข้นจนตกค้างในดินและแหล่งน้ํา อันส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ตลอดจนการไม่สามารถ กําหนดราคาผลผลิตทางการเกษตรที่ต้นทุนในการผลิตสูงกว่าอัตราการขายผลิตพันธุ์ทางการ เกษตรส่งให้ชนเผ่าพื้นเมืองเกิดภาวะหนี้สิน
9. พัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง อันได้แก่ น้ําประปาสะอาดที่ดื่ม ได้และปลอดภัย ถนน ไฟฟ้า และระบบอินเตอร์เน็ตที่ฟรี
10. ต้องมีมาตรการเร่งด่วนที่สุดที่ต้องมีส่วนร่วมกับผู้หญิงและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ ในชุมชนบ้านแม่สามแลบที่ตอนนี้ขาดแคลนน้ําดื่ม น้ําใช้ เสี่ยงไฟป่าในหน้าแล้ง ไม่มีถิ่นที่อยู่อาศัย ที่ปลอดปลอดภัย เสี่ยงน้ําท่วม-ดินถล่มในหน้าฝนและในชุมชนมีสมาชิกที่ยังไม่มีสัญชาติและหรือ ไม่มีสถานะบุคคลมากกว่า 50% ที่ต้องพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติจากป่าในเขตอุทยานที่มีกฎหมาย ควบคุม ปรับ จับกุม รวมทั้งได้รับผลกระทบจากสงครามเมื่อมีการสู้รบจากรัฐบาลเผด็จการพม่า กับชาติพันธุ์/ชนเผ่าพื้นเมืองมากกว่า 70 ปี
เวทีที่ 2 นำเสนอ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและ/หรือกฎหมายที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ความเหลื่อมล้ําทางเพศและทางสังคมที่ เกิดขึ้นกับผู้หญิง เด็กและชนเผ่าพื้นเมืองที่มีความหลากหลายทางเพศ ทั้งมิติทางสังคม และมิติการศึกษา ของชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง
1. การศึกษาต้องฟรีและเป็นสวัดิการจนถึงระดับปริญญาตรี
2. นโยบายเร่งด่วน: โ รงเรียนที่มีนักเรียนชนเผ่าพื้นเมือง ต้องมีเงินสนับสนุนการศึกษาและหรือ ทุนการศึกษาสําหรับนักเรียนชนเผ่าพื้นเมือง ที่จะต้องครอบคลุมค่าเครื่องแบบ(ที่ยังไม่มีการ ยกเลิก) ค่าเดินทาง ค่ากิจกรรม ค่าเทอม/เงินบํารุงการศึกษาที่สถานศึกษาเรียกเก็บ
3. โรงเรียนในพื้นที่ชนเผ่าพื้นเมือง ต้องมีครูชนเผ่าพื้นเมือง มีการเรียนการสอนด้วยภาษาชนเผ่า พื้นเมือง และต้องส่งเสริมสิทธิและอัตลักษณ์ ตัวตนตลอดจนวัฒนธรรมชนเผ่าพื้นเมือง โดยต้องมี การปรับปรุงหลักสูตรและบูรณาการการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับวิธีชีวิตชนเผ่าพื้นเมืองและ เท่าทันการเปลี่ยนแปลงโลกในยุคปัจจุบัน
4. ยกเลิกกฎเกณฑ์เงื่อนไขที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของเด็กนักเรียน นักเรียนชนเผ่าพื้นเมือง เด็ก นักเรียนชนเผ่าพื้นเมืองที่มีความหลากหลายทางเพศ รวมทั้งที่ละเมิดสิทธิบนเนื้อตัวร่างกาย เช่น เครื่องแบบนักเรียน การบังคคับตัดผม ฯลฯ ทั้งหมดโดยการแก้ไขกฎกระทรวง เพื่อส่งเสริมให้เกิด การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรและแก้ไขกฎระเบียบของโรงเรียนทั้งหมดให้สอดคล้องกับสิทธิเด็ก สิทธิชนเผ่าพื้นเมือง สิทธิหลากหลายทางเพศ ฯลฯ
5. รัฐต้องไม่ยุบโรงเรียนขนาดเล็ก และส่งเสริม กระจายอํานาจและทรัพยากรให้ทุกหมู่บ้านชนเผ่า พื้นเมืองมีโรงเรียน
ข้อเสนอต่อครอบครัว ชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง และสังคมไทย ในเวทีที่ 2
1. พัฒนากฎหมาย นโยบายที่ต้องปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมให้ครอบครัว โ รงเรียน ชุมชน และ สังคม มีความรู้ ความเข้าใจ เคารพและยอมรับสิทธิเด็ก สิทธิชนเผ่าพื้นเมื่อง สิทธิผู้หญิง และสิทธิ LGBTIQ
2. ผ้าอนามัยต้องฟรีและเป็นสวัสดิการทางสังคม
3. สมรสเท่าเทียม
4. สนับสนุนการเข้าถึงสิทธิการมีสัญชาติของผู้หญิง เด็กและคนที่มีความหลากหลายทางเพศ และ ผู้สูงอายุที่เป็นชนเผ่าพื้นเมือง
5. ความรุนแรงในความรักความสัมพันธ์และ/หรือความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัว: กฎหมาย และนโยบายเรื่องความรุนแรงในความรักความสัมพันธ์ที่ไม่ปกป้องคุ้มครองผู้หญิงโ ดยเฉพาะผู้ หญิงที่ไร้สัญชาติและผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศ ต้องเปลี่ยนแปลง โดยคํานึงถึง 2.1)ความ ซับซ้อนของอัตลักษณ์ เช่น อายุ เพศ รสนิยมทางเพศ ระดับการศึกษา เชื้อชาติ ภาวะการไม่มี สัญชาติ ฯลฯ 2.2)ภาษา 3.3)กระบวนการยุติธรรมที่มีวิธีคิดแบบชายเป็นใหญ่ ทําให้กระบวนการ ไม่เป็นมิตร และปฏิเสธการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของผู้หญิงที่มีอัตลักษณ์ทับซ้อน
6. สถานที่ให้บริการชนเผ่าพื้นเมือง โ ดยเฉพาะอย่างยิ่งของหน่วยงานภาครัฐต้องมีล่ามชนเผ่าพื้น เมือง
7. ยุติการบังคับแต่งงานเด็ก
8. ยุติการเกลียดชังและการละเมิดสิทธิผู้หญิงชนเผ่าพื้นเมืองที่มีความหลากหลายทางเพศโ ดย เฉพาะการบังคับแต่งงาน ที่เสมือนเป็นใบอนุญาตข่มขืน
9. ส่งเสริมและพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม ให้มีนโยบายและกฎหมายที่เคารพ ปกป้อง คุ้มครองและส่ง เสริมสิทธิบุคคลที่มีความหลาก หลายทางเพศโดยคํานึงถึง Intersectionality/ความซับซ้อนกับมิติ และอัตลักษณ์ต่างๆ เช่น ความเป็นชาติพันธุ์/ชนเผ่าพื้นเมือง สถานะผู้ลี้ภัย การไร้สัญชาติ การไร้ ที่ดิน ประสบการณ์การตั้งครรภ์วัยรุ่น ประสบการณ์การยุติการตั้งครรภ์ แรงงานข้ามชาติ และผู้ พิการ ฯลฯ
Facebook live เพจ Lanner นำเสนอข้อเสนอแนะจากงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้แนวคิดเฟมมินิสต์ โดย เยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง 5 ชุมชน เพื่อรณรงค์ผลักดันนโยบายและกฎหมายที่คํานึงถึงเสียและสิทธิของผู้หญิง เด็กชนเผ่าพื้นเมือง รวมทั้ง ชนเผ่าพื้นเมืองที่มีความหลากหลายทางเพศ : https://fb.watch/kdFN4N9VYl/?mibextid=qC1gEa
Facebook live เวทีที่ 2 นำเสนอ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและ/หรือกฎหมายสถานการณ์ที่ตอบสนองต่อความเหลื่อมล้ําทางเพศและทางสังคมที่ เกิดขึ้นกับผู้หญิง เด็กและชนเผ่าพื้นเมืองที่มีความหลากหลายทางเพศ ทางสังคม และมิติการศึกษา ของชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง : https://fb.watch/kdFP86lnHn/?mibextid=qC1gEa
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ