เสวนา 'ผู้นำกับความสำเร็จของโรงเรียน' แนะใช้เว็บไซต์ Thailand Leadership เป็นคลังข้อมูลแก้ไขปัญหา

กองบรรณาธิการ TCIJ 5 ต.ค. 2566 | อ่านแล้ว 1312 ครั้ง

เสวนา 'ผู้นำกับความสำเร็จของโรงเรียน' แนะใช้เว็บไซต์ Thailand Leadership เป็นคลังข้อมูลแก้ไขปัญหา

มูลนิธิเอเชีย ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพมหานคร, สถานทูตออสเตรเลีย และพันธมิตร จัดเสวนา “ผู้นำกับความสำเร็จของโรงเรียน” แนะใช้เว็บไซต์ Thailand Leadership เป็นคลังข้อมูลแก้ไขปัญหา

5 ต.ค. 2566 เมื่อเร็วๆ นี้ มูลนิธิเอเชีย ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพมหานคร, สถานทูตออสเตรเลีย และพันธมิตร ได้จัดงานเปิดตัว www.Thailandleadership.org เว็บไซต์พัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำของ ผอ.โรงเรียน นำเสนอทักษะที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ในรูปแบบของข่าวสาร งานวิจัย บทความ คลิปวิดิโอ พอดแคสต์ สารคดี ฯลฯ โดยนักวิชาการที่มีชื่อเสียง ซึ่งภายในงานได้จัดให้มีการเสวนาในหัวข้อ “ผู้นำกับความสำเร็จของโรงเรียน” โดย รศ.ดร.พร้อมพิไล บัวสุวรรณ นักวิชาการและผู้ร่วมจัดทำเว็บไซต์ พร้อมเผยถึงเรื่องการจัดทำวอดแคสต์ ซึ่งเป็นคลิปวิดิโอสัมภาษณ์ผู้นำสถานศึกษาในบริบทต่างๆ อย่างน่าสนใจ

รศ.ดร.พร้อมพิไล บัวสุวรรณ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา ม.เกษตรศาสตร์ ในฐานะผู้ร่วมจัดทำเว็บไซต์ ได้กล่าวในงานเสวนาเรื่องผู้นำทางวิชาการ และกล่องดำทางการศึกษา ในหัวข้อผู้นำกับความสำเร็จของโรงเรียน และการจัดทำวอดแคสต์ว่า ในปัจจุบันประเทศต่างๆ ได้ให้ความสำคัญกับภาวะผู้นำทางวิชาการ โดยเฉพาะในประเทศที่ประสบความสำเร็จทางด้านการศึกษา อาทิ ประเทศสิงค์โปร์ มาเลเซีย แต่สำหรับประเทศไทยภาวะผู้นำทางวิชาการยังไม่มีการพูดถึงมากนัก แม้จะมีการสอนในเรื่องนี้บ้างก็ตาม และยังไม่แน่ใจว่ามีความเข้าใจตรงกับคอนเซ็ปต์ที่ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งจากการทำงานวิจัยในส่วนของวอดแคสต์ ได้มีการเก็บข้อมูลจากการพูดคุยกับผู้บริหารการศึกษา 8 ท่าน ที่มาจากโรงเรียนต่างสังกัด ครอบคลุมทั้งโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.), สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษา กรุงเทพมหานคร (สพป.กทม.) และโรงเรียนเอกชน โดยมีความหลากหลายทั้งในเรื่องเพศ เพราะในงานวิจัยค้นพบว่าปัจจัยทางเพศกับภาวะผู้นำ มีความสัมพันธ์กันอยู่ และยังมีความหลาก หลายของระดับอายุ เนื่องจากปัจจุบันมีช่องว่างระหว่างวัย (Generation Gap) ดังนั้นจึงต้องการทำความเข้าใจในเรื่องกล่องดำ หรือผู้อำนวยการสถานศึกษา จากมุมมองที่หลากหลาย สำหรับผลสรุปของวอดเแคสต์ที่ได้มีการพูดคุยกับผู้บริหารการศึกษา และ รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. รวมถึงศ.ดร.ฟิลิป ฮาลิงเจอร์ ศาสตราจารย์ระดับโลกด้านการจัดการ วิทยาลัยการจัดการ ม.มหิดล พบว่าผู้บริหารการศึกษาทั้ง 8 ท่านมีความเห็นถึงเรื่องความสำเร็จของโรงเรียนแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตามบริบทของแต่ละคน แต่สามารถสรุปจุดร่วมกันได้คือความสำเร็จของโรงเรียนวัดได้ที่ผู้เรียน

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการยอมรับจากชุมชน การตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่วนรางวัลที่โรงเรียนจะได้รับหรือไม่นั้น ถือเป็นผลพลอยได้ หากได้รับถือเป็นเรื่องที่ดี และยังมองว่านโยบายจากส่วนกลาง มีผลกระทบต่อมุมมอง วิธีคิด การทำงานของผู้บริหารการศึกษา ในการที่จะมองความสำเร็จของโรงเรียนด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่านโยบายจากส่วนกลางจะมีผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนก็จริง แต่ถ้าผู้บริหารมีภาวะผู้นำ กล้าคิดกล้าตัดสินใจ กล้าเปลี่ยน แปลง ก็จะส่งผลต่อความสำเร็จของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง

“ในฐานะผู้บริหารการศึกษา เมื่อถามว่ามองความสำเร็จของตัวเองอย่างไร ได้คำตอบว่าต้องมีความรู้ความสามารถ เป็นที่ยอมรับ และเอาชนะใจคุณครูได้ ต้องรู้จักครูทุกคนในโรงเรียน และต้องสร้างความพึงพอใจให้ผู้ปกครอง ชุมชน และก้าวหน้าในที่การงาน ที่สำคัญต้องมีภาวะผู้นำทางวิชาการด้วย และสิ่งที่ผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 8 คนให้ความสำคัญ ใช้เป็นกลยุทธ์ในการบริหารจัดการให้ประสบความสำเร็จ ในฐานะผู้มีภาวะผู้นำทางวิชาการ คือการทำให้ดู อยู่ให้เห็น มีกระจายอำนาจ สร้างการมีส่วนร่วม กล้าคิดกล้าตัดสินใจ กล้าเปลี่ยนแปลง และต้องมีทักษะการสื่อสารโน้นนามจูงใจได้อีกด้วย” รศ.ดร.พร้อมพิไล กล่าว

ด้าน ดร.รัตนา แซ่เล้า เจ้าหน้าที่โครงการอาวุโส ฝ่ายนโยบายและวิจัย มูลนิธิเอเชีย ได้กล่าวว่า “เว็บไซต์ Thailand Learning มีที่มาจากโครงการวิจัยเรื่องจากความท้าทายสู่คุณภาพการศึกษาของประเทศไทย : กฎระเบียบ การบริหารทรัพยากร และความเป็นผู้นำ ในปี พ.ศ.2561-2564 ที่ได้มุ่งเน้นศึกษาโครงสร้างและบทบาทของ “ตัวกลาง” ระหว่าง “ผู้กำหนดนโยบายการศึกษาของชาติ” และ “ผลผลิตทางการศึกษา” นั่นคือ “ผู้อำนวยการสถานศึกษา” ในฐานะ “กล่องดำทางการศึกษา” หรือ “แกนหลักผู้สื่อสารถ่ายทอดนโยบาย” บทสรุปที่ได้คือผู้อำนวยการโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จะต้องมีบทบาทเป็นผู้นำทางวิชาการ โดยภายในเว็บไซต์จะนำ เสนอทักษะที่ทำให้ ผอ.โรงเรียนประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย 3 เมนูหลักคือ 1)ลงมือปฎิบัติ, 2)พัฒนาวิชาการ และ 3)สร้างสรรค์งานวิจัย จัดทำโดยนักวิชาการที่มีชื่อเสียง รวบรวมข้อมูลเชิงลึกรอบด้าน โดยคาดหวังว่าจะเป็นคลังความรู้ออนไลน์ด้านการศึกษา ที่ช่วยขับเคลื่อนพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ ผลักดันนวัตกรรมล้ำสมัย เพื่อเชื่อมต่อชุมชนผู้นำทางวิชาการ โดย ผอ.โรงเรียน และผู้ที่สนใจ สามารถเข้าไปใช้บริการได้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่ www.Thailandleadership.org ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป”

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: