อินโดนีเซียสั่งห้ามการซื้อ-ขายสินค้าผ่านทางแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ ในขณะที่รัฐบาลมีเป้าหมายในการควบคุมการซื้อ-ขายโดยตรงของบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่เนื่องจากส่งผลกระทบต่อธุรกิจขนาดเล็กจำนวนหลายล้านบริษัท
สำนักข่าวไทย รายงานเมื่อช่วงปลายเดือน ก.ย. 2566 เจ้าหน้าที่รัฐบาลอินโดนีเซียเรียกร้องให้มีการแยกแพลตฟอร๋มโซเชียลมีเดียออกจากแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซ โดยพุ่งเป้าไปที่แพลตฟอร์มที่ทางการระบุว่า ดำเนินการในลักษณะการผูกขาดที่เป็นการคุกคามผู้ขายที่ไม่ได้ใช้รูปแบบออนไลน์ในการจำหน่ายสินค้า โดยกล่าวโทษถึงแอปพลิเคชั่นแชร์วิดีโอสั้น “ติ๊กต็อก” ที่มีจีนเป็นเจ้าของ
นายซุลกีฟลี ฮาซัน รัฐมนตรีการค้าอินโดนีเซีย กล่าวในระหว่างการแถลงข่าวที่กรุงจาการ์ตาว่า ระเบียบใหม่ด้านการค้านี้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อช่วงปลายเดือน ก.ย. แพลตฟอร์มค้าขายทางโซเชียลมีเดีย มีเวลา 1 สัปดาห์ในการปฎิบัติตามระเบียบใหม่
ภายใต้ระเบียบใหม่นี้ หมายความว่า บริษัทโซเชียลมีเดียจะไม่สามาถดำเนินการซื้อ-ขายสินค้าโดยตรงได้ จะทำได้เพียงโปรโมทผลิตภันณฑ์ผ่านทางแพลตฟอร์มเท่านั้น ก่อนหน้านี้อินโดนีเซียไม่มีกฎหมายที่ครอบคลุมการซื้อ-ขายตรงผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย อย่างเช่น ติ๊กต็อก เฟซบุ๊ค หรือ อินสตาแกรม อินโดนีเซียเป็นตลอดใหญ่มาก ๆ แห่งหนึ่งของติ๊กต็อก ฃ็อป และเป็นประเทศแรกในการนำร่องแผนกอี-คอมเมิร็ซของแอปนี้
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ