กรรมาธิการสันติภาพชายแดนใต้:อีกความหวังสันติภาพชายแดนใต้?

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) Shukur2003@yahoo.co.uk 10 พ.ย. 2566 | อ่านแล้ว 15922 ครั้ง


ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

เป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์สภาฯ ทุกพรรคไม่ว่ารัฐบาลหรือค้านเห็นชอบตั้ง กมธ.วิสามัญสร้างสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ภาคประชาสังคมต่อสู้ยื่นผ่านสส.ในพื้นที่ตั้งแต่สมัยรัฐบาลลุงตู่แต่ไม่สำเร็จ เมื่อ11 ตุลาคม 2566 อันจะเป็น อีกความหวังสันติภาพชายแดนใต้? ที่ปัญหาไฟใต้เกือบ 20 ปีเสียงบประมาณจากภาษีคนไทยทั้งประเทศหลายแสนล้านบาท สำหรับรายงานผู้เขียนได้พูดคุยกับทนายฮานาฟี หมีนเส็น โฆษกคณะกรรมาธิการสันติภาพชายแดนใต้และข้อเสนอแนะจากสภาประชาสังคมชายแดนใต้ที่ทำงานในพื้นที่

โฆษกคณะกรรมาธิการสันติภาพชายแดนใต้

ผู้เขียนได้พูดคุยกับทนายฮานาฟี หมีนเส็น โฆษกคณะกรรมาธิการนี้ ท่านได้รายงานถึงกมธ.ชุดนี้ว่า “เราได้ลงพื้นที่พบตัวแทนภาคประชาสังคมทันทีหลังได้รับแต่งตั้ง กมธ. สันติภาพชายแดนใต้ ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2566 สภาผู้แทนราษฎร์ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง ผมทนายฮานาฟี หมีนเส็น ผู้สมัคร ส.ส. พรรคเพื่อไทย สงขลา เขต 8 (จะนะ-เทพา) เป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษา ติดตามและส่งเสริมการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี เช่นเมื่อเช้าวันนี้ที่ 14 ตุลาคม ได้เข้าพบคารวะ เยี่ยมเยียน พร้อมขอคำแนะนำ ถึงแนวทางส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้ กับ ดร.บาบอฮุสณี บินหะยีคอเนาะ ที่ปรึกษาสมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้และที่ปรึกษาชาวบ้านจะนะ ที่ต่อสู้โครงการจะนะเมืองอุตสาหกรรมเพราะพื้นที่อำเภอจะนะ เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของจังหวัดสงขลา ที่เป็นประตูสู่สามจังหวัดชายแดนใต้ อย่ามีนัยสำคัญและท่านพร้อมเครือข่ายได้สนับสนุนแนวคิดกระบวนการสร้างสันติภาพดังกล่าว พร้อมนำเสนอยุทธศาสตร์ในการทำงานในโอกาสต่อไป 16 ต.ค 2566 เวลา 15.00 น.เข้าพบ ขอคำแนะนำ พระสุนทรปริยัติวิธาน #เจ้าอาวาสวัดราษฎร์บูรณะ (#วัดช้างให้) ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธ์ จังหวัดปัตตานี ท่านกล่าวว่า “ผมได้มีโอกาสสนทนา ถึงเหตุการณ์บ้านเมืองในพื้นที่ชายแดนใต้ ซึ่งท่านเจ้าอาวาสได้สะท้อนถึงพื้นที่ชายแดนใต้ในห้วงเวลา 80 ปีที่ผ่านมา อย่างน่าสนใจ “ซึ่ง “ท่านเจ้าอาวาส เล่าให้ฟังว่า สมัยเด็กท่านเคยเรียนในสถาบันปอเนาะศึกษาอิสลาม อยู่อาศัยในพื้นมัสยิดบ้านควนโนรี ท่านสามารถพูดภาษายาวีได้ด้วย บวชพระ 50 พรรษา ที่สำคัญท่านมีความเข้าใจในความหลากหลายของวัฒนธรรมได้อย่างลึกซึ้งเป็นอย่างดี “นอกจากนี้ท่านให้คำแนะนำว่า “อยากให้ภาครัฐส่งเสริมแนวความคิดที่สร้างความเข้าใจระหว่างกัน สร้างความผูกพัน โดยให้ยึดหลัก #ศาสตร์พระราชา "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" อย่างแท้จริง อีกทั้งท่านยังแนะนำด้วยความเป็นห่วงว่า การแก้ปัญหาต่างๆควรให้มีคนในพื้นที่ ที่เข้าวัฒธรรม เข้าใจประวัติศาสตร์มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนแก้ปัญหาเพื่อเป็นแนวทางเป็นกระบวนการสร้างสันติภาพชายแดนใต้อย่างแท้จริง” ก่อนเดินทางกลับ ท่านเจ้าอาวาส ยังเล่าต่อให้ฟังอีกเล็กน้อย ว่า “สมัยก่อน ก่อนเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้ มักมีนักท่องเที่ยวจากยุโรป จากมาเลเซีย สิงคโปร์ หลากหลายนานาชาติ มาแวะชม แวะเยี่ยม วัดช้างให้ แห่งนี้อย่างคึกคัก แต่ปัจจุบันบรรยากาสเงียบเหงาแบบนี้มานาน เกือบ 20 ปีแล้ว นี่คิอสิ่งที่ท่านทิ้งท้ายอย่างน่าเสียดาย

วันที่ 17 ตุลาคม 2566 เวลา 11.00 น. มุ่งหน้าสู่เมืองแห่งสันติภาพ มะดีนะตุสสลาม หรือ ปัตตานีจายา ณ ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยได้เข้าเยี่ยมเยียน คารวะ ขอคำปรึกษาถึงกระบวนการสร้างสันติภาพชายแดนใต้ ในสถานการณ์ความไม่สงบของพื้นที่มายาวนาน กับ #รองศาสตราจารย์ ดร. #อิสมาอีลลุตฟี_จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี /ประธานร่วมศาสนาเพื่อสันติภาพ สภาศาสนสัมพันธ์ แห่งประเทศไทย #รองศาสตราจารย์ ดร. #อิสมาอีลลุตฟี_จะปะกียา ได้ให้คำแนะนำถึงสถานการณ์ในพื้นที่ และเป็นประโยชน์ในการกำหนดยุทธศาสตร์ได้อย่างน่าสนใจยิ่ง 1.ท่านอยากเห็นกระทรวงต่างประเทศ โดยสถานฑูตไทย ประจำประเทศโลกมุสลิม (OIC) หรือ ตะวันออกกลาง มีนโยบายดูแลนักศึกษามุสลิมชายแดนใต้ ที่ไปศึกษาอยู่ต่างแดน ให้ดูแลแบบเข้าถึง เข้าใจ เพื่อสร้างความอบอุ่น ให้กับนักศึกษา เพราะนักศึกษาไทยมุสลิมชายแดนใต้ทุกคน รู้สึกว่าสถานฑูตไทย คือ บ้านของเรา “ดังนั้นกระทรวงต่างประเทศจึงเสมือนถือกุญแจ สำคัญต่อ“สันติภาพ”ชายแดนใต้ 2. ท่านมีนโยบายให้ ม.ฟาฏอนี สร้างนักการฑูตมุสลิมชายแดนใต้ รับใช้ ก.ต่างประเทศให้มาก เพราะคาดหวังให้มีบุคคลากรที่เข้าใจวัฒนธรรมจริงๆ ไปสร้างความเข้าใจ สร้างสันติภาพในโลกอิสลาม 3. ท่านอยากให้ทุกรัฐบาลที่เข้ามาบริหารชายแดนใต้ ต้องมีความจริงใจจริงๆในการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ เพราะหลายสถานการณ์พวกเราคือเหยื่อ‼️ จากการปฎิบัติหน้าที่ของรัฐ 4. เรื่องพรก.ฉุกเฉิน หรือ ก.ม พิเศษ เป็นสิ่งที่ถ้าถามเด็กๆในพื้นที่ก็ทราบดีว่า ไม่ควรคงไว้ ควรคืนสิทธิ คืนอิสรภาพให้ประชาชนชายแดนใต้ เพียงแต่ที่ดีที่สุด อาจให้ภาคีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยทักษิณ แม้กระทั่งมหาวิทยาลัยฟาฏอนีของท่านก็ยินดี ลงพื้นที่ออกแบบสอบถามการประเมินภายใต้หลักวิชาการ ก็จะเลิกใช้หรือไม่ เมื่อเลิกใช้แล้วจะมีมาตรการใดรองรับอย่างไร? 5. ไม่ควรให้ด่าน หรือ เจ้าหน้าที่ความมั่นคง ยืนตากแดดกลางถนน กีดขวางการจราจร ควรยกเลิกเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับพื้นที่ 6. อยากให้กระตุ้นเศรษฐกิจชายแดนใต้ เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ เพราะปัญหาความไม่สงบทำให้คนตกงาน โดยเฉพาะภายใต้หลักเศรษฐกิจเกื้อกูลเพราะมันจะลดความเลื่อมล้ำ เช่น แนวคิดวะกัฟเพื่อการพัฒนา เพราะหากพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่ไม่คิดถึงคุณธรรมจริยธรรม อาจจะยิ่งเพิ่มความเลื่อมล้ำมันก็จะเกิดปัญหา การเอารัดเอาเปรียบ และปัญหาสังคมมากมายอีก หลายๆสิ่งที่ท่านห่วงใย

19 ตุลาคม 2566 ได้พบปะ เยี่ยมเยียน อาจารย์ศราวุธ ศรีวรรยศ อิหม่ามศราวุธ ศรีวรรณยศ อิหม่ามมัสยิดต้นสนและรองประธานสภาดะฮ์วะหฺอิสลามแห่งเอเชียอาคเนย์และแปซิฟิก (RISEAP)อาจารย์บาชีร หวังโซ๊ะ อดีตนศ.ไทยในซาอุดีอาระเบีย, ดร.ภูเบศ โพธ์โซ๊ะ อดีตนศ.ไทยในประเทศคูเวต นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ “จ่านิว”,อดีตนักเคลื่อนไหวทางการเมือง และตัวแทนเครือข่ายภาคประชาสังคมมุสลิมกรุงเทพมหานครได้ร่วมกันสนทนา แลกเปลี่ยน ความคิดเห็นทางการเมือง ในประเด็นกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ชายแดนใต้ โดยเฉพาะในประเด็น “ต่างประเทศกับกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ซึ่งบทบาทภาคประชาสังคมมุสลิมไทยซึ่งเคยศึกษาในต่างประเทศโดยจะมีความสัมพันธ์ระดับนานาชาติไม่ว่า อาเซียน อาหรับ ยุโรป อเมริกาและออสเตรเลีย”นอกจากนี้ได้วิเคราะห์สถานการณ์โลกที่มีผลต่อประเทศไทย ทั้งในอดีต และปัจจุบันซึ่งมีความสำคัญในการกำหนดนโยบายไทยในเวทีโลก” 25 ต.ค 66 เชิญสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)และผู้แทนที่เกี่ยวข้อง/รับผิดชอบ เกี่ยวกับการแก้ปัญหา กระบวนการเจรจาสันติภาพ ในจังหวัดใช้แดนภาคใต้ มาให้ข้อมูลข้อเท็จจริงกับคณะกรรมาธิการ ได้มีกรรมมาธิการหลายท่าน ได้สอบถามถึงการทำงานที่ผ่านมา ทั้งที่เป็นข้อมูลในทางลับ และเปิดเผย จึงได้ทราบถึงแนวทางยุทธศาสตร์การทำงานของ สมช. ที่ผ่านมา เพื่อนำไปกำหนดรูปแบบ และแนวทางการขับเคลื่อนในการเจรจาสันติภาพให้มีความต่อเนื่อง และเป็นวาระแห่งชาติต่อไป” หลังจากนั้น

กมธ. แถลงครบรอบ 19 ปีตากใบ โดยแนะเจ้าหน้าที่อย่าใช้อำนาจเกินขอบเขต-เลือกปฏิบัติ

ซึ่งเราทราบดีกว่าวันนี้เป็นวาระครบรอบ 19 ปี ของการสลายการชุมนุมในอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์บาดแผลที่สำคัญของคนในพื้นที่ ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญขอยืนยันถึงความจำเป็นในการสร้างความตระหนักถึงปัญหาความขัดแย้งในชายแดนใต้ และความจำเป็นในการสร้างสันติภาพอันเกิดจากความยินยอมพร้อมใจของทุกฝ่าย โดยเฉพาะการมีกระบวนการเจรจาสันติภาพที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง จนสามารถนำไปสู่การแสวงหาทางออกทางการเมือง สร้างสังคม ที่ประชาชนอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม โดยทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอหน้าภายใต้กฎหมายอย่างแท้จริง
เพื่อให้สันติภาพเกิดขึ้นได้จริงในพื้นที่ กระบวนการที่จำเป็นอย่างยิ่งประการแรกคือการลดเลือนประวัติศาสตร์บาดแผล ลดความรู้สึกว่าประชาชนถูกกระทำโดยอยุติธรรมจากเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อลดทอนความรู้สึกหวาดระแวงแคลงใจต่อกันระหว่างรัฐกับประชาชน ในกรณีของตากใบ คณะกรรมาธิการฯเห็นควรให้รัฐบาลแสดงความตระหนักว่า เหตุการณ์นี้เป็นอาชญากรรมที่รัฐได้กระทำต่อประชาชนในพื้นที่ และให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมดำเนินคดีอาญากับผู้บังคับบัญชา และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนรับผิดชอบในเหตุการณ์ครั้งนั้น ก่อนที่อายุความ 20 ปี จะสิ้นสุดลงในวันที่ 25 ตุลาคม 2567 รวมถึงส่งเสริมให้เกิดความตระหนักรู้ ความเข้าใจในวงกว้างต่อเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่ตากใบ ซึ่งมีการกระทำการที่ละเมิดต่อหลักการปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมตามมาตรฐานสากล จนนำไปสู่การจับกุมผู้ชุมนุมกว่า 1,370 คน สูญหายอีก 7 คน และการขนย้ายผู้ชุมนุม ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตระหว่างการเดินทางถึง 85 ราย โดยที่จนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีการสั่งฟ้องเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในเหตุการณ์ แม้จะมีการสอบสวนข้อเท็จจริงโดยคณะกรรมการที่แต่งตั้งจากรัฐบาลแล้วว่าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการเกินกว่าเหตุ จนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก

26 ตุลาคม 2566 ที่ประชุม กมธ.สันติภาพชายแดนใต้ เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการ 2 คณะ ได้แก่ 1. คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาและติดตามผลกระบวนการสร้างสันติภาพ จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2. คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้”

ประชาสังคมเสนอทำเวทีรับฟัง “กระบวนการสันติภาพที่ครอบคลุม: การปรึกษาหารือสาธารณะจากข้างล่าง" (Procedural Proposal on Inclusive Peace: Public Consultation from Below)

นายแวรอมลี แวบูละ ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้/นายกสมาคมร่วมสร้างชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา เสนอทำเวทีรับฟัง “กระบวนการสันติภาพที่ครอบคลุม: การปรึกษาหารือสาธารณะจากข้างล่าง" (Procedural Proposal on Inclusive Peace: Public Consultation from Below) โดยท่านสะท้อนว่าจากสถานการณ์ขัดแย้งรุนแรงที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมาประชาชนประสบปัญหาคุณภาพชีวิตอย่างแสนสาหัส มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในหลายๆด้าน ปัญหาสังคมต่าง ๆไม่ได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เป็นปัญหาสังคมที่พอกพูนมาอย่างยาวนาน ฉะนั้น การใช้เวลาคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งที่มีความรุนแรง ยิ่งใช้เวลานานยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ในทุก ๆด้านตลอดระยะเวลา 10 ปีของกระบวนการพูดคุยสันติภาพ เกิดคำถามขึ้นในใจของประชาชนตลอดเวลาว่า แต่ละฝ่ายที่อยู่ในกระบวนการพูดคุยมีความจริงใจและความจริงจังมากมายเพียง ใด เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มองไม่เห็นและไม่ได้รับรู้ว่าการดำเนินงานมีความต่อเนื่องและความคืบหน้าอย่างเป็นระบบอย่างไร ในขณะที่สถานการณ์ความรุนแรงก็ยังดำรงคงอยู่ แม้จะดูเหมือนลดลง แต่ความรู้สึกของประชาชนกลับมองว่าสถานการณ์ไม่ได้เปลี่ยนไปมากนักแต่ถึงอย่างไรก็ตาม เวทีการพูดคุยตลอด 25 ครั้งที่ผ่านมาตลอด 10 ปี ทั้งโต๊ะเจรจาที่รัฐบาลไทยพูดคุยกับบีอาร์เอ็นและมาราปาตานี ก็ยังพอความความคืบหน้าอยู่บ้าง เอกสารที่ทั้งรัฐบาลไทยและบีอาร์เอ็นเห็นพ้องกันในเดือนมีนาคมปีที่แล้วได้วางกรอบหลักการทั่วไปในการพูดคุยเจรจาที่มีองค์ประกอบเป็นประเด็นสารัตถะที่ชัดเจน 3 ประเด็นได้แก่ 1) การหยุดหรือลดความรุนแรง 2) การปรึกษาหารือสาธาร ณะกับประชาชน และ 3) การแสวงหาทางออกทางการเมืองที่เหมาะสมส่วนการประชุมพูดคุยล่าสุดเมื่อวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายได้ข้อสรุปที่จะมีการจัดทำแผนปฏิบัติการร่ วมเพื่อสร้างสันติภาพแบบองค์รวม หรือ JCPP (ซึ่งย่อมาจาก Joint Comprchensive Plan towards Pcace) โดยมีเนื้อหาสำคัญเป็น 2 ส่วน คือ การลดความรุนแรงในพื้นที่และการจัดการปรึกษาหารือกับประชาชนเพื่อนำไปสู่การแสวงหาทางออกทางการเมือง โดยมีกรอบเวลาที่ชัดเจน

อย่างไรก็ดี ในส่วนของการปรึกษาหารือฯ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมต่อกระบวนการสันติภาพนั้น ยังคงคำถามที่มีมาโดยตลอดว่าจะมีรูปแบบในการดำเนินการได้อย่างไร จะดึงภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงประชาชนในพื้นที่กลุ่มต่าง ๆ ให้เข้าร่วมกระบวนการปรึกษาหารืออย่างไร การดำเนินการเหล่านี้จะทำให้ผู้คนมีความเชื่อมั่นไว้วางใจต่อกระบวนการได้อย่างไร ที่สำคัญที่สุดคือกระบวนการเหล่านี้จะมีความชอบธรรมและได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายได้อย่างไร ที่ผ่านมาอาจกล่าวได้ว่าแนวทางการของจัดการปรึกษาหารือกับประชาชนนั้นอาจแบ่งออกได้ 3 ลักษณะ ได้แก่

แนวทางแรก ฝ่ายรัฐบาลไทยและฝ่ายขบวนการบีอาร์เอ็นร่ วมกันจัดกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะกับประชาชน ซึ่งนับเป็นความท้าทายมากที่สุด เนื่องจากมีเงื่อนไขที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ อาทิเช่น ความไว้เนื้อเชื่อใจของทั้งสองฝ่าย กลไกการทำงานร่วมกันของคณะทำงานของทั้งสองฝ่าย การมีเอกสิทธิคุ้มกันของคณะทำงานฝ่ายบีอาร์เอ็นเพื่อให้สามารถเดินทางมาในพื้นที่ได้ รวมไปถึงบรรยากาศที่เปิดกว้างและปลอดภัยที่เอื้อต่อการจัดเวที เป็นต้นทำให้ในปัจจุบันยังไม่มีการดำเนินการในแนวทางนี้แต่อย่างใด

แนวทางที่สอง ทั้งฝ่ายรั ฐบาลไทยและฝ่ายขบวนการบีอาร์เอ็นต่างจัดกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะกับประชาชนโดยเยกกันทำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดำเนินการอยู่ แม้จะไม่มีการเปิดเผยหรือยอมรับอย่างเป็นทางการก็ตาม ความท้าทายก็คือปัญหาการยอมรับต่อกระบวนการและผลลัพธ์ของแต่ละฝ่าย กล่าวคือ ต่างฝ่ายต่างอ้างความชอบธรรมที่เป็นผลจากการดำเนินงานของฝ่ายตนเอง

แนวทางที่สาม การดำเนินการปรึกษาหารือสาธารณะริเริ่มโดยฝ่ายที่สามหรือเครือข่ายภาคประชาสังคมเอง โดยถือเป็นการนำร่องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนไปพร้อม ๆ กับการสร้างการมีส่วนร่วมที่เปีดกว้างและปลอดภัย รวมไปถึงการประมวลความคิดเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอ ก่อนที่จะนำเสนอต่อคู่พูดคุยทั้งสองฝ่าย

กระบวนการในแนวทางที่สามนี้เกิดขึ้นในสภาวะที่ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถดำเนินการร่วมกันได้ตามแนวทางแรก และมองเห็นข้อจำกัดของแนวทางที่สอง เอกสารชิ้นนี้จะนำเสนอรูปแบบและวิธีการในแนวทางที่สาม ซึ่งถือเป็นข้อเสนอในเชิงกระบวนการที่เน้นความสำคัญของ "การปรึกษาหารือสาธารณะจากข้างล่าง" โดยเป็นผลมาจากการทำงานร่วมกันของเครือข่ายประชาสังคมชายแดนใต้ ร่วมกับภาควิชาการเช่นสถาบันสันติศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ Minority Right Group International (MRG) ภายใต้โครงการกระบวนการสร้างสันติภาพที่ครอบคลุมในพื้นที่จังหวัดจังหวัดชายแดนภาคใต้ (Inclusive Peacebuilding on Thailand's Southem Border Province) ตลอดเกือบ 2 ปีที่ผ่านมาหัวใจหรือวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจกรรมก็เพื่อคุ้มครองสิทธิของชุมชน และเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในกระบวนการสร้างสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้

กระบวนการในการทำงานการรับความคิดเห็นจากประชาชนในระดับหมู่บ้าน

1. การประชุมชี้แจงโครงการ/กิจกรรมกับแกนนำที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะทำงาน แกนนำในพื้นที่ ภาคีความร่ วมมือต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นกับประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากประชาชนไม่มีความเชื่อมั่นในความปลอดภัย จึงจำเป็นต้องซักซ้อมลำดับขั้นตอนต่าง ๆ ให้ละเอียดและมีความเข้าใจตรงกัน

2. เวทีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ ก่อนอื่นจำเป็นต้องให้ความรู้กับประชาชนในประเด็นกระบวนการสร้างสันติภาพในพื้นที่ โดยวิทยากรที่มีประสบการณ์ และการรายงานความคืบหน้าของสถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมกับการสร้างความเชื่อมั่นปลอคภัยกับประชาชนที่เข้าร่วมเวทีประชุม หลังจากนั้นประชาชนจึงจะร่วมแสดงความคิดเห็น นำเสนอข้อเสนอแนะต่อฝ่ายต่าง ๆที่เกี่ยวข้องด้วยความเต็มใจ

3. การอบรมพัฒนาแกนนำระดับหมู่บ้าน เช่น ผู้นำชุมชน 4 เสาหลัก และแกนนำขับเคลื่อนระดับพื้นที่ เพื่อแนะนำหลักการ แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิของชุมชนต่าง ๆ หลักการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล และเทคนิคการทำงานด้านชุมชนแบบมีส่วนร่วม

4. การทำวิจัยแบบมีส่วนร่วม มีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะในการเป็นนักวิจัยสามารถวิเคราะห์ผลกระ ทบจากความขัดแย้งในชุมชนและมีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพลวัตความขัดแย้งจากมุมมองของกลุ่มคนต่าง ๆ โดยผ่านการออกแบบร่วมกับที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญภายนอกในการออกแบบการวิจับและการดำเนินงานกิจกรรม

5. การจัดเวทีกลางภาคประชาสังคม ผู้เข้าร่วมเวทีเป็นภาคประชาสังคมระดับรากหญ้าที่เน้นสิทธิสตรี นักวิชาการ นักการเมือง นักศึกษา และสมาชิกคณะพูดคุยเพื่อสันติภาพประกอบด้วยผู้นำชุมชน และผู้นำศาสนา เพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินการที่มุ่งเป้าหมายไปที่กระบวนการสร้างสันติภาพที่กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งจะเป็น โอกาสในการวางแผนปฏิบัติการร่วมกัน รับรู้ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพหรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่กำลังมีพัฒนาการซึ่งมีผลกระทบต่อชุมชน อีกทั้งยังเป็น โอกาสสำคัญในการเชิญวิทยากร

6. การประมวลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ โดยการ จัดกลุ่มข้อเสนอแนะและความสัมพันธ์ต่าง ๆที่เชื่อมโยงและเห็นภาพรวมของกระบวนการสร้างสันติภาพที่ครอบคลุม

7. การนำเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีการประชุมกับผู้กำหนดนโยบายหรือผู้มีอำนาจตัดสินใจ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ รวมถึงฝ่ายขบวนการผู้เห็นต่างจากรั ฐ และฝ่ายผู้อำนวยการความสะดวก

8. การติดตามผลความคืบหน้า มีการทำงานอย่างต่อเนื่องกับชุมชนในพื้นที่ พร้อม ๆ กับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของชุมชน สร้างงานพัฒนา รายงานและประเมินผลความคืบหน้าของสถานการณ์กระบวนการสร้างสันติภาพในมิติต่าง ๆ

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: