ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และผู้เจริญรอยตามท่าน รวมทั้งผู้อ่านทุกท่าน
จากรายงานข่าวที่ดาโต๊ะสรี อันวาร์ อิบรอฮีม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ละหมาดวันศุกร์ร่วมกับพี่น้องมุสลิม ที่ศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย ในโอกาสเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ กล่าวคือ เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2566 ดาโต๊ะสรี อันวาร์ อิบรอฮีม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย พร้อมภริยา เดินทางมาที่ศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย ย่านรามคำแหงซอย 2 เพื่อร่วมละหมาดวันศุกร์ ร่วมกับชาวไทยมุสลิม ซึ่งเป็นการประกอบศาสนกิจใหญ่ประจำสัปดาห์ โดยมีผู้นำศาสนา ภาคปรชาสังคมและนักวิชาการ มารอต้อนรับ
หลังประกอบศาสนกิจเสร็จแล้ว นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวทักทาย คนที่มาร่วมละหมาด โดยใช้ภาษามลายู เพราะชาวมุสลิมส่วนหนึ่งที่มาร่วมละหมาด มีภูมิลำเนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ติดประเทศมาเลเซีย ซึ่งใช้ภาษาเดียวกัน โดยช่วงหนึ่ง อันวาร์ ระบุว่า รู้สึกยินดี ที่ได้มีโอกาสมาเยี่ยมเยียนพี่น้องมุสลิมในประเทศไทย และการเดินทางมาครั้งนี้ ก็เพื่อเดินหน้าความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศ และความร่วมมือ ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน
อันวาร์ ยังกล่าวปราศรัย โดยเน้นย้ำประเด็นปัญหา จังหวัดชายแดนใต้ว่า เขายืนหยัดที่จะเห็นสันติภาพเกิดขึ้น ในพื้นที่แต่ก็ปฎิเสธ ที่จะสนับสนุนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง พร้อมย้ำว่าการแก้ไขปัญหาต้องใช้วิธีการพูดคุย ซึ่งเขาเชื่อในแนวทางนี้มาโดยตลอด จึงฝากความหวังไว้ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
นอกจากนี้ท่านย้ำว่า “ การปรึกษาหารือกับประชาชน (Public Consultation)เป็นเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องครอบคลุมต่อทุกภาคส่วนไม่ว่าผู้เห็นต่าง รัฐ ประชาชนในพื้นที่ไม่ว่ามุสลิม และพุทธ สตรี เยาวชน ผู้นำศาสนา นักธุรกิจเรียกได้ว่าทุกผู้คนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย พร้อมกับจะต้องเตรียมความพร้อมทุกด้านไม่ว่าสังคม ศาสนา วัฒนธรรม การศึกษา และการพัฒนาที่ยั่งยืนและสอดคล้องกับพื้นที่ ในขณะเดียวกันสังคมพหุวัฒนธรรมก็สำคัญ โดยเฉพาะอิสลามให้ความสำคัญกับหลักอยู่ร่วมกันอย่างสันติภายใต้หลักการอิสลามและมนุษยธรรมสากลซึ่งสันติภาพที่ยั่งยืน winwinทุกฝ่ายต้องควบคู่กับความยุติธรรม และการพัฒนาโดยเฉพาะการศึกษาที่ต้องทำคู่กัน”
#เครือข่ายภาคประชาสังคมในประเทศไทยโดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมกระบวนการแก้ปัญหาความขัดแย้งและการสร้างสันติภาพในพื้นที่
กว่า 50 ปีสมัยอันวาร์ยังเป็นผู้นำเยาวชนของมาเลเซีย ในองค์กรเยาวชนที่มีชื่อว่า ABIM มีสัมพันธ์ที่ดีกับองค์กรเยาวชนไทย ที่เรียกว่าสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย (ยมท.) อันเป็นโซ่ข้อกลางกับภาคประชาสังคมอื่นๆ รวมทั้งสถาบันการศึกษาปอเนาะ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาและมหาวิทยาลัย และไม่แปลกใจว่า “ทำไมท่านมาร่วมละหมาดที่มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย(ซึ่งบรรดาผู้นำองค์กรมุสลิมที่นี่มีคำสัมพันธ์ที่ดีกับท่านมาก่อนรวมทั้งให้กำลังใจตลอดมรสุมทางการเมืองที่ท่านโดนกว่า 20ปี)”
ในขณะที่ชายแดนภาคใต้มีการก่อตัวของเครือข่ายภาคประชาสังคมกลุ่มต่างๆ ในสถานการณ์ความรุนแรง จนกระทั่งเครือข่ายภาคประชาสังคม ได้มีการก่อตั้งสภาประชาสังคมชายแดนใต้ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวต่อเนื่องมาเป็นเวลา 12 ปีแล้วในปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นการสร้างพื้นที่กลาง (Common Space) กระบวนการให้ความรู้ความเข้าใจ การรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนและภาคส่วนต่างๆ และการจัดทำข้อเสนอแนะสู่การผลักดันเชิงนโยบายต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ กระบวนการสร้างพื้นที่กลางได้ดำเนินการในรูปแบบ (Platform) ช่องทางอื่นๆ เช่น การสร้างพื้นที่กลางเพื่อสันติภาพจากคนใน (Insiders Peace-builder Platform-IPP) เป็นแนวคิดที่สำคัญ ซึ่งทำให้เกิดกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างพื้นที่กลาง และได้มีการขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพปาตานี (Patani Peace Process-PPP) ในปี พ.ศ. 2555 จนกระทั่งรัฐบาลไทยและขบวนการ BRN ได้มีการพูดคุยสันติภาพชายแดนใต้ขึ้นเป็นครั้งแรกที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในวันที่ 28 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2556 กระบวนการพูดคุยฯ ยังมีความต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าความก้าวหน้าและผลอย่างเป็นรูปธรรมจะไม่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน แต่เครือข่ายประชาสังคมในพื้นที่ โดยเฉพาะสภาประชาสังคมชายแดนใต้ก็พยายามแสดงบทบาทเป็นตาข่ายนิรภัยเพื่อหนุนเสริมสันติภาพ (Peace Safety Net) ตลอดมา
แม้ว่าเครือข่ายประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้จะมีหลายกลุ่มหลายฝ่าย โดยแต่ละกลุ่มและเครือข่ายมีความคิดเห็นที่ต่างกันในหลายปีกความคิดและอุดมการณ์ แต่ความร่วมมือภายในภาคประชาสังคมยังเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนสันติภาพในปัจจุบันซึ่งยังต้องอาศัยการสนับสนุนจากทุกฝ่ายตามแนวคิด inclusive peace dialogues ซึ่งทุกฝ่ายยอมรับ สภาประชาสังคมจังหวัดชายแดนใต้ จึงเห็นสมควรจะต้องจัดงานประชุมเพื่อทบทวนบทบาทภาคประชาสังคมในกระบวนการสันติภาพ ฟื้นคืนความเชื่อมั่นต่อแนวคิดสันติภาพและแสดงพลังความร่วมมือกับทุกฝ่ายทุกปีกความคิดในวาระครบรอบ 10 ปีการพูดคุยสันติภาพและ 12 ปีของการพัฒนาสภาประชาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะสันติภาพเชิงบวกเป็นกระบวนการทางสังคมที่ต้องมีส่วนร่วมกับทุกฝ่าย สะท้อนให้เห็นในแนวคิดที่สำคัญคือการปรึกษาหารือสาธารณะ (Public Consultations) ดังที่มีได้มีข้อเสนอจากคณะพูดคุยสันติภาพทั้งสองฝ่ายให้มีการหยุดยิง การปรึกษาหารือสาธารณะและการแสวงหาทางออกทางการเมืองจากความขัดแย้ง”
หมายเหตุ
1. https://youtu.be/M1fUnk6f7QM
2. ประมวลภาพ https://www.facebook.com/1245604111/posts/10230098199179415/?mibextid=cr9u03
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ