สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่าเทรนด์อาหารมีควันเป็นอีกหนึ่งกระแสการบริโภคที่ได้รับความนิยมเนื่องจากไอเย็นที่ล้อมรอบทำให้อาหารมีละอองถ่ายรูปสวยงาม เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วรู้สึกเย็น เกิดความกรุบกรอบในปาก แต่อีกด้านหนึ่งก็มีข่าวให้พบเห็นบ่อยครั้งถึงอันตรายจากเมนูอาหารเหล่านี้วันนี้จึงพามารู้จักกับ“ไนโตรเจนเหลว”ตัวต้นเหตุที่ใช้ประกอบอาหารและวิธีการเลือกบริโภคอย่างปลอดภัย
ไนโตรเจนเหลว (Liquid Nitrogen) คือ การนำก๊าซไนโตรเจนที่มีคุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสไม่เป็นพิษ ไม่ติดไฟและไม่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยา มาผ่านกระบวนการผลิต เพื่อเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของเหลว ที่เรียกว่า Liquefaction โดยการเพิ่มความดันพร้อมกับการลดอุณหภูมิ
ก๊าซไนโตรเจนหรือไนโตรเจนเหลวถูกนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหารที่หลากหลายรวมถึงถูกดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบในขั้นตอนการปรุงอาหารที่ต้องการความเย็นจัดเนื่องจากสามารถทำให้อาหารลดอุณหภูมิลงและเกิดการแข็งตัวอย่างรวดเร็วซึ่งหลังจากที่ราดหรือเทลงบนอาหารแล้วไนโตรเจนเหลวจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลับสู่สถานะก๊าซ จนมีลักษณะคล้ายไอเย็นหรือควันลอยออกมาจากอาหารดังกล่าว
การนำก๊าซไนโตรเจนหรือไนโตรเจนเหลวมาใช้ในกระบวนการผลิตหรือประกอบอาหารสามารถทำได้หากมีคุณภาพหรือมาตรฐานเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหารและใช้ในเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดทั้งนี้การใช้ก๊าซไนโตรเจนหรือไนโตรเจนเหลวในรูปแบบที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค จะถือว่าเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ และมีโทษตามกฎหมาย
สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการรับประทานอาหารที่มีไนโตรเจนเหลว ควรระมัดระวังดังนี้
- หลีกเลี่ยงการรับประทาน หรือ สัมผัส โดยตรง เพราะไนโตรเจนเหลวมีอุณหภูมิที่ต่ำมาก “อันตรายจากความเย็นจัด” เมื่อไนโตรเจนเหลวสัมผัสถูกผิวหนังหรือเนื้อเยื่อโดยตรง ไนโตรเจนเหลวจะดูดซับความร้อนจากผิวหนังเพื่อการระเหยอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อถูกทำลาย บวมพอง เกิดเนื้อตาย โดยเฉพาะเนื้อเยื่ออ่อนของทางเดินอาหาร มีอาการคล้ายกับผิวหนังที่ถูกเผาไหม้ไม่สูดดมก๊าซไนโตรเจนที่เกิดขึ้นโดยตรง การสูดดมก๊าซไนโตรเจนอาจทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณที่ลดลง ดังนั้นต้องรอให้ก๊าซของไนโตรเจนเหลวระเหยออกไปให้หมดก่อน จึงจะรับประทานได้
ข้อมูลอ้างอิง
6b178f3aa182954a988ae22d71970a79.pdf (moph.go.th)
ประโยชน์และอันตรายของไนโตรเจนเหลว (Liquid Nitrogen) - บทความสุขภาพ (cth.co.th)
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย. ) (oryor.com)
https://oryor.com/media/infoGraphic/media_printing/1318
https://oryor.com/media/infoGraphic/media_printing/1326
New tab (scimath.org)
Rama Focus 26 ม.ค.60 "ขนมควันทะลัก" – รามา แชนแนล (mahidol.ac.th)
ไนโตรเจนเหลว (liquid nitrogen) (tigcs.co.th)
https://www.fda.moph.go.th/Shared Documents/News/fda043 ปีงบประมาณ 2560/ข่าวไนโตรเจนเหลว 11เมย 60 (ส่งสื่อมวลชย).pdf://....///ปีงบประมาณ /ข่าวไนโตรเจนเหลว เมย (ส่งสื่อมวลชย).
ไนโตรเจนเหลว รับประทานได้ไหม อันตรายหรือไม่ ? - พบแพทย์ (pobpad.com)
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ