แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จัดงานประกาศผลและพิธีมอบรางวัล “สื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2565” (Media Awards 2022) เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2566 ที่ผ่านมา
เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2566 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้จัดงานประกาศผลและพิธีมอบรางวัล “สื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2565” (Media Awards 2022) ณ ห้องกมลทิพย์ 3 ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล กรุงเทพ
โดยมอบรางวัลผลงานสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ สารคดีหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทรายการโทรทัศน์ ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ และภาพถ่ายในหัวข้อ “Protect the Protest” ประเภทสื่อมวลชน และ “Hope” ประเภทบุคคลทั่วไป
ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล ประธานกรรมการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดเผยว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือน “แสงเทียน” ที่ฉายแสงส่องให้คนในสังคมให้ตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน และเชิญชวนให้เราต่างบ่มเพาะความเคารพซึ่งกันและกันมากขึ้น จึงเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างกำลังใจให้กับสื่อมวลชนที่ทำงานอย่างหนักในการนำเสนอข่าวสารในแง่มุมที่คำนึงถึงการเคารพ ส่งเสริม และปกป้องสิทธิมนุษยชน ด้วยการจัดมอบรางวัลผลงานสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนขึ้น
ทั้งนี้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสื่อในการเป็นแนวหน้าของการติดตามถกเถียงประเด็นสิทธิมนุษยชน และสื่อมวลชนจะได้มีพลังในการยืนหยัดที่จะทำงานเพื่อปกป้องส่งเสริมสิทธิมนุษยชนต่อไป ในส่วนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนเคารพการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ต้องได้รับการคุ้มครอง ไม่ให้ถูกข่มขู่และคุกคาม
ประธานแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า คณะกรรมการตัดสินผลงานรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2565 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสายสื่อมวลชนและสายสิทธิมนุษยชน จากการคัดสรรและตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด ผลการตัดสินมีดังนี้
รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีข่าว ประเภทสื่อออนไลน์ 6 รางวัล ได้แก่
- ผลงานชุด “ทวงคืนความยุติธรรม วาฤทธิ์ สมน้อย ต้องไม่ตายฟรี”
สำนักข่าวออนไลน์ Decode
- ผลงานเรื่อง “การเดินทางไกล 1,079 กิโลเมตรเพื่อทวงคืนน้ำพริกปลาทู”
สำนักข่าวออนไลน์ HaRDstories
- ผลงานเรื่อง “ ‘เรามีหวังเสมอว่าจะได้กลับบ้าน’ เสียงจากริมน้ำเมย ชะตากรรมที่เลือกไม่ได้ของผู้หนีภัยกะเหรี่ยง” เว็บไซต์ 101.world
- ผลงานเรื่อง “ ‘เด็กขายนมเปรี้ยวกลางแยกไฟแดง' ความน่าสงสารหรือช่องทางธุรกิจ”
สำนักข่าว The Isaander
- ผลงานเรื่อง “นี่ไม่ใช่ครั้งแรกของการอุ้มซ้อมทรมาน แต่เราหวังว่าจะเป็นครั้งสุดท้ายในชายแดนใต้” สำนักข่าวออนไลน์ The Momentum
- ผลงานชุด “The Price of Freedom | ราคาแห่งเสรีภาพ” สำนักข่าวประชาไท
รางวัลดีเด่นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที)
1 รางวัล ได้แก่
- ผลงานชุด "28 ปี เหมืองดงมะไฟ รอยเลือดและคราบน้ำตา" สถานีโทรทัศน์ช่องวัน 31
รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที)
3 รางวัล ได้แก่
- ผลงานชุด “ขยายผลคดีค้ามนุษย์โรฮิงญา จากกรณี พล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ ปรากฏตัว” สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี เอชดี ช่อง 36
- ผลงานชุด “ทวงยุติธรรมคืนผืนป่า” สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
- ผลงานเรื่อง “ปิดล้อม วิสามัญฯ สันติภาพใต้รางเลือน” สถานีโทรทัศน์ Nation TV
รางวัลดีเด่นสารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที)
1 รางวัล ได้แก่
- ผลงานเรื่อง “ผันน้ำแม่ยวม (ไม่) แก้แล้ง” รายการรู้สู้ภัย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
รางวัลชมเชยสารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที)
2 รางวัล ได้แก่
- ผลงานเรื่อง "กาก...เศษซากจากอุตสาหกรรม” รายการรู้สู้ภัย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
- ผลงานเรื่อง “มลายูปาตานี” รายการสารตั้งต้น สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี เอชดี ช่อง 36
รางวัลดีเด่นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ 2 รางวัล ได้แก่
- ผลงานเรื่อง “SUNSET WITH BENJA” โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
- ผลงานเรื่อง “From Trojan Horse to Pegasus: When the Big Brother is watching you” เว็บไซต์ 101.world
รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ 5 รางวัล ได้แก่
- ผลงานเรื่อง “ชุมชนตึกร้าง 95/1 หลากชีวิตบนซากคอนกรีต” เว็บไซต์ 101.world
- ผลงานเรื่อง “ ‘สุนทรีย์มลายู’ เมื่อความฝันกับสิ่งที่ศรัทธา ต้องยืนอยู่บนเส้นทางเดียวกัน” สำนักข่าวออนไลน์ The Momentum
- ผลงานเรื่อง “ดวงตามืดมิด ชีวิตมืดมน คุยกับ บุญสม ปิ่นสุวรรณ หญิงข้ามเพศตาบอดที่มีเชื้อ HIV” สื่อออนไลน์ SPECTRUM
- ผลงานเรื่อง “ปิศาจในสังคม: 6 ตุลาของฝ่ายขวา และความเปลี่ยนแปลง”
เว็บไซต์ WAY Magazine
- ผลงานเรื่อง “ ‘ให้เราเอาบาปไปคุยกับพระเจ้าเอง’ ฟังเสียง LGBTQ ผู้นับถือศาสนาอิสลาม” สำนักข่าวออนไลน์ The MATTER
รางวัลดีเด่นภาพถ่ายในหัวข้อ “Protect the Protest” ประเภทสื่อมวลชน 1 รางวัล ได้แก่
- ผลงานโดย เมธิชัย เตียวนะ จากเว็บไซต์ 101.world
รางวัลชมเชยภาพถ่ายในหัวข้อ “Protect the Protest” ประเภทสื่อมวลชน 4 รางวัล ได้แก่
- ผลงานโดย ชำนาญวุฒิ สุขุมวานิช จากสำนักข่าวไทยออนไลน์
- ผลงานโดย ณัฐพล โลวะกิจ จาก SPACEBAR
- ผลงานโดย ณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ จาก SPACEBAR
- ผลงานโดย ปฏิภัทร จันทร์ทอง ว๊อยซ์ออนไลน์
รางวัลป๊อปปูล่าโหวตภาพถ่ายในหัวข้อ “Protect the Protest” ประเภทสื่อมวลชน 1 รางวัล ได้แก่
- ผลงานโดย ณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ จาก SPACEBAR
รางวัลดีเด่นภาพถ่ายในหัวข้อ “Hope” ประเภทประชาชนทั่วไป 1 รางวัล ได้แก่
- ผลงานโดย ศุภสัณห์ กันณรงค์
รางวัลชมเชยภาพถ่ายในหัวข้อ “Hope” ประเภทประชาชนทั่วไป 4 รางวัล ได้แก่
- ผลงานโดย วิหาร ขวัญดี
- ผลงานโดย ศิริพงศ์ ปทุมอครินทร์
- ผลงานโดย ชนากานต์ เหล่าสารคาม
- ผลงานโดย ฉัฐพัชร์ สุวรรณยุหะ
รางวัลป๊อปปูล่าโหวตภาพถ่ายในหัวข้อ “Hope” ประเภทประชาชนทั่วไป 1 รางวัล ได้แก่
- ผลงานโดย ศุภสัณห์ กันณรงค์
ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล กล่าวต่อว่าในปีนี้ยังจัดให้มีการพูดคุยในหัวข้อ “Voice of Rights: เสียงจากชาวประมง คนรุ่นใหม่ สื่อสำคัญมากแค่ไหน ในวันที่ประชาชนลุกขึ้นส่งเสียงเพื่อทวงถามความยุติธรรมและเสรีภาพ” โดยเบนจา อะปัญ ตัวแทนคนรุ่นใหม่ และวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย สองคนต้นเรื่องของผลงานที่ได้เข้าชิงรางวัลในปี 2565
ในตอนท้าย ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้กล่าวขอบคุณสื่อมวลชนที่เป็นบุคคลสำคัญที่สุดของงานในวันนี้ที่ได้ช่วยกันขับเคลื่อนและเป็นสื่อกลางในการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและให้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนทั้งที่ผ่านมาและจะทำต่อไป
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ