สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่าอาหารและขนมต่าง ๆ ทั้ง ลูกอม เยลลี่ น้ำหวาน ไอศกรีม ที่มีสีสันสดใสสวยงาม ดึงดูดใจให้ชวนรับประทานเป็นเพราะสีผสมอาหาร ซึ่งมีทั้งแบบสีจากธรรมชาติ และสีจากการสังเคราะห์ หากเป็นสีที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือใช้ในอาหารผิดประเภท และมีการใส่สีในปริมาณมากเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้
สีที่นำมาใช้ผสมในอาหาร มี 2 ประเภท คือ
- สีธรรมชาติ เป็นสีที่สกัดได้จากพืชหรือสัตว์ที่บริโภคได้ เช่น สีแดง ได้จากดอกกระเจี๊ยบแดง
เมล็ดผักปลัง ฝาง สีเหลือง ได้จากขมิ้น ฟักทอง ลูกตาลสุก สีน้ำเงิน ได้จากดอกอัญชัน สีเขียว ได้จาก ใบเตย ใบย่านาง สีส้ม ได้จาก แครอท ฯลฯ - สีสังเคราะห์ เป็นสีที่สังเคราะห์ขึ้นจากสารเคมี
ตามกฎหมายสีผสมอาหารจัดเป็นวัตถุเจือปนอาหาร ซึ่งต้องมีคุณภาพมาตรฐาน (Specification)
ตามประกาศ และผู้ใช้ต้องใช้ตามชนิด (หน้าที่) ของวัตถุเจือปนอาหาร ชนิดของอาหาร และต้องไม่เกินปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ และห้ามใช้ในอาหารบางชนิดที่ห้ามใส่สี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้
เลือกอย่างไรให้ปลอดภัย
- เลือกกินอาหารที่มีสีสันตามธรรมชาติ หรือสีที่ไม่ฉูดฉาดเกินไป
- ไม่กินอาหารที่เจือปนสีสังเคราะห์ปริมาณมากเป็นประจำ
- ควรอ่านฉลากก่อนซื้อ โดยเลือกผลิตภัณฑ์อาหารที่มีฉลากแสดงข้อความเป็นภาษาไทย มี
เลขสารบบอาหาร แสดงข้อมูลบนฉลากครบถ้วน และแสดงข้อความ “สีธรรมชาติ” หรือ
“สีสังเคราะห์” ถ้ามีการใช้
แม้มีการอนุญาตให้ใช้สีสังเคราะห์หลายชนิดเป็นสีผสมอาหาร (สามารถกินได้ ไม่ได้ห้าม แต่ควรกินในปริมาณที่เหมาะสม) แต่สีสังเคราะห์ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ จึงควรเลือกกินอาหารไม่ใส่สีหรือใส่สีจากธรรมชาติดีที่สุด และหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีสีสดหรือฉูดฉาดเกินไปเป็นประจำ
ข้อมูลอ้างอิง :
https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_specify/842
https://www.arda.or.th/ebook/file/17food.pdf
https://www.slideshare.net/sakikitty/ss-44192930
https://book.pbru.ac.th/images/R0/02/R0023772c.pdf (Slide 18-19)
https://www.shawpat.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=432:-m---m-s&catid=60:child-safety&Itemid=208
https://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/consumerism/download/article/article_20111011103122.pdf
Microsoft Word - Document3 (moph.go.th)
https://www.doctor.or.th/article/detail/5256
อย. รับอนุญาตใช้สีผสมอาหารในขนม - Thaihealth.or.th | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา : อันตรายจากอาหารใส่สี (oryor.com)
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/097/24.PDF : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ ๓๘๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ ๒) (เอกสารเพิ่มเติม)
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ