จับตา: การคุมกำเนิดเพศชาย

กองบรรณาธิการ TCIJ 19 มี.ค. 2566 | อ่านแล้ว 2763 ครั้ง


สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่าการคุมกำเนิดเป็นวิธีป้องกันการตั้งครรภ์สำหรับคนที่ยังไม่พร้อมมีบุตรหรือมีบุตรเพียงพอแล้ว ซึ่งนอกจากการคุมกำเนิดของเพศหญิงแล้วในปัจจุบันมีวิธีการคุมกำเนิดสำหรับผู้ชายอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่ละวิธีก็ไม่ได้เหมาะกับทุกคน ซึ่งการจะเลือกใช้วิธีใดนั้นต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย วันนี้เราจึงนำเสนอข้อมูลเพื่อเป็นตัวช่วยในการเลือกวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมสำหรับคุณผู้ชาย ดังนี้

การทำหมันชาย เหมาะสำหรับผู้ที่มีบุตรเพียงพอแล้ว เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบถาวรสำหรับชายโดยการผ่าตัดผูกตัดท่อนำเชื้ออสุจิทั้ง 2 ข้าง
ข้อดี สามารถทำได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ต้องนอนพักในโรงพยาบาล ปลอดภัย | ไม่มีผลโดยตรงต่อสมรรถภาพ หรือความรู้สึกทางเพศ
ข้อเสีย ไม่สามารถมีบุตรได้อีกเลย | ต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ทำให้เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ | ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

ถุงยางอนามัย เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่นิยมใช้
ข้อดี สะดวก หาซื้อง่ายตามร้านขายยา หรือร้านสะดวกซื้อ สามารถป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้หากใช้อย่างถูกวิธี ใช้ได้ทุกโอกาส
ข้อเสีย/ข้อควรระวังในการใช้ ไม่สามารถใช้ซ้ำได้ | ถุงยางอนามัยทำจากยางพารา ต้องระวังไม่ใช้ร่วมกับสารหล่อลื่นประเภทน้ำมัน เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพลดลงและฉีกขาดได้
ถุงยางอนามัย จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ ต้องมีใบอนุญาตในการผลิตหรือนำเข้า การเลือกซื้อถุงยางอนามัยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการใช้ ก่อนซื้อก่อนใช้ควรสังเกตเครื่องหมาย อย. บนผลิตภัณฑ์ อ่านฉลากก่อนซื้อ ตรวจดูวันที่ผลิต และวันหมดอายุ 

การหลั่งภายนอกช่องคลอด
ข้อดี ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ ง่าย สะดวก และไม่ต้องใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติ | ไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ฮอร์โมนเหมือนยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด และแผ่นแปะคุมกำเนิด | ไม่มีผลต่อประจำเดือนของเพศหญิง
ข้อเสีย อาจชะงักอารมณ์ทางเพศของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง | มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดต่ำมาก

การคุมกำเนิดถือเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องหันมาใส่ใจ ไม่ว่าจะเพศไหน หรืออายุเท่าไหร่ก็ตาม เพราะเรื่องการตั้งครรภ์แบบไม่พร้อม ทั้งอยู่ในช่วงวัยที่ไม่พร้อมหรือไม่พร้อมมีบุตรเพิ่ม รวมถึงการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ เป็นเรื่องที่แก้ไขที่ปลายเหตุได้ยาก จึงควรให้ความสำคัญและใส่ใจแต่เนิ่น ๆ

 

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=575
https://multimedia.anamai.moph.go.th/infographics/which-birth-control-method-is-right-for-you/
https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_printing/1105
คู่มือไม่ท้อง_ฉบับพกพาEbook2.pdf (whaf.or.th)
e0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b887e0b8b2e0b899e0b881e0b8b2e0b8a3e0b89be0b8a3e0b8b0e0b88ae0b8b8e0b8a1e0b8a7e0b8b4e0b88ae0b8b2e0b881e0b8b2e0b8a3-2.pdf (choicesforum.org)
(Slide7-11)
https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/files/2017/04/Family-planning-for-Extern.pdf
(Page 6-7)
https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=43
https://www.prd.go.th/th/content/page/index/id/5295

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: