Rocket Media Lab: เปิดข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2566

กองบรรณาธิการ TCIJ 23 ก.พ. 2566 | อ่านแล้ว 23266 ครั้ง


Rocket Media Lab เปิดข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2566 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (First Voter) มีจำนวน 4,012,803 คน คิดเป็นร้อยละ 7.67 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด เจเนอเรชั่น X เป็นกลุ่มที่มีจำนวนผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งมากที่สุด มีจำนวน 16,151,442 คน คิดเป็นร้อยละ 30.87 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด | ที่มาภาพ: rawpixel.com on Freepik

  • ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (First Voter) มีจำนวน 4,012,803 คน คิดเป็นร้อยละ 7.67 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด
  • ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นผู้สูงอายุ มีจำนวน 14,378,037 คน คิดเป็นร้อยละ 27.48 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด
  • เจเนอเรชั่น X เป็นกลุ่มที่มีจำนวนผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งมากที่สุด มีจำนวน 16,151,442 คน คิดเป็นร้อยละ 30.87 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

จากการประกาศการแบ่งเขตเลือกตั้งในการเลือกตั้งปี 2566 ของ กกต. พบว่า กกต. นำเอาข้อมูลจำนวนประชากรที่นำมาใช้ในการคำนวณจำนวน ส.ส. รายเขต ทั้ง 400 เขต โดยนำมาจากประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่องจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานทะเบียนราษฎร เมื่อ 31 ธันวาคม 2565 ซึ่งมีจำนวนประชากร 66,090,475 คน 

ซึ่งปรากฏว่าจำนวน ส.ส. รายเขต ทั้ง 400 เขตแยกตามภาคได้ดังนี้ 

ภาคเหนือ 9 จังหวัด มีจำนวน ส.ส. 39 คน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด มีจำนวน ส.ส. 132 คน

ภาคกลาง 22 จังหวัด มีจำนวน ส.ส. 122 คน

ภาคตะวันออก 7 จังหวัด มีจำนวน ส.ส. 29 คน

ภาคตะวันตก 5 จังหวัด มีจำนวน ส.ส. 20 คน

ภาคใต้ 14 จังหวัด มีจำนวน ส.ส. 58 คน 

จากนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับการเลือกตั้งปี 2562 พบว่า มี 43 จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส.เพิ่มขึ้น โดยกรุงเทพฯ มีจำนวน ส.ส. เพิ่มขึ้นมากที่สุด 3 คน จาก 30 คนเป็น 33 คน รองลงมา เพิ่มขึ้นจังหวัดละ 2 คน มี 5 จังหวัด คือ นนทบุรี จาก 6 เป็น 8 คน ชลบุรี จาก 8 เป็น 10 คน นครราชสีมา จาก 14 เป็น 16 คน  บุรีรัมย์ จาก 8 เป็น 10 คน เชียงใหม่จาก 9 เป็น 11 คน

จังหวัดที่มี ส.ส. เพิ่มขึ้น 1 คน มี 37 จังหวัดได้แก่ กระบี่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ เชียงราย ตรัง ตาก นครนายก นครปฐม นครศรีธรรมราช นราธิวาส บึงกาฬ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา พังงา เพชรบูรณ์ แพร่ ภูเก็ต มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ร้อยเอ็ด ระยอง เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สงขลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สระบุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ อ่างทอง อุดรธานี อุตรดิตถ์ และอุบลราชธานี

ข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

จำนวนประชากรที่ กกต. นำมาใช้ในการคำนวณจำนวน ส.ส. รายเขตทั้ง 400 เขต มีทั้งสิ้น 66,090,475 คน อย่างไรก็ตาม เมื่อดูข้อมูลประชากรไทยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแยกรายอายุรายเดือน ธันวาคม 2565 กรมการปกครอง พบว่าเป็นผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 52,322,824 คน โดยสามารถแยกได้ดังนี้

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (First Voter) ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 18-22 ปี จำนวน 4,012,803 คน คิดเป็นร้อยละ 7.67 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 58 ปีขึ้นไป จำนวน 14,378,037 คน คิดเป็นร้อยละ 27.48 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เมื่อจำแนกตามเจเนอเรชั่น ซึ่งจำแนกตามศูนย์วิจัย Pew Research Center สหรัฐอเมริกา พบว่า

เจเนอเรชั่น Z ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 18-25 ปี มี 6,689,453 คน คิดเป็นร้อยละ 12.78 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เจเนอเรชั่น Y ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 26-41 ปี มี 15,103,892 คน คิดเป็นร้อยละ 28.87 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เจเนอเรชั่น X ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 42-57 ปี มี 16,151,442 คน คิดเป็นร้อยละ 30.87 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เจเนอเรชั่น Baby Boomers ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 58-76 ปี มี 11,844,939 คน คิดเป็นร้อยละ 22.64 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เจเนอเรชั่น Silent ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 77 ปีขึ้นไป มี 2,533,098 คน คิดเป็นร้อยละ 4.84 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

และเมื่อจำแนกรายละเอียดตามกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้ง พบว่า

First Voter 

10 จังหวัดที่มีสัดส่วนร้อยละผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก อายุ 18-22 ปี (first voter) ต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

มากที่สุด ได้แก่

  1. ปัตตานี ร้อยละ 12.25
  2. ยะลา ร้อยละ 11.53
  3. นราธิวาส  ร้อยละ 11.38
  4. ตาก ร้อยละ 10.67
  5. แม่ฮ่องสอน 10.32 
  6. สตูล ร้อยละ 9.72
  7. กระบี่ ร้อยละ 9.08
  8. สงขลา ร้อยละ 8.91
  9. กาญจนบุรี ร้อยละ 8.65
  10. ลพบุรี ร้อยละ 8.58

น้อยที่สุด ได้แก่

  1. ลำพูน ร้อยละ 5.48
  2. ลำปาง ร้อยละ 5.76
  3. แพร่ ร้อยละ 5.80
  4. พะเยา ร้อยละ 6.09
  5. น่าน ร้อยละ 6.31
  6. สิงห์บุรี ร้อยละ 6.34
  7. สมุทรสงคราม ร้อยละ 6.44
  8. นนทบุรี ร้อยละ 6.44
  9. ชัยนาท ร้อยละ 6.45
  10. สุโขทัย ร้อยละ 6.54

ผู้สูงอายุ

10 จังหวัดที่มีสัดส่วนร้อยละผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นผู้สูงอายุ ( 58 ปีขึ้นไป) ต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

มากที่สุด ได้แก่

  1. ลำปาง ร้อยละ 35.58
  2. ลำพูน ร้อยละ 35.44
  3. สิงห์บุรี ร้อยละ 35.38
  4. แพร่ ร้อยละ 35.09
  5. ชัยนาท ร้อยละ 34.10
  6. พะเยา ร้อยละ 33.75
  7. สมุทรสงคราม ร้อยละ 33.52
  8. อ่างทอง ร้อยละ 33.22
  9. อุตรดิตถ์ ร้อยละ 32.65
  10. เชียงใหม่ ร้อยละ 32.27

น้อยที่สุด ได้แก่

  1. ภูเก็ต ร้อยละ 20.21
  2. นราธิวาส ร้อยละ 20.45
  3. ปัตตานี ร้อยละ 21.04
  4. ยะลา ร้อยละ 21.42
  5. กระบี่ ร้อยละ 21.43
  6. ระยอง ร้อยละ 21.71
  7. สตูล ร้อยละ 22.34
  8. ชลบุรี ร้อยละ 22.46
  9. บึงกาฬ ร้อยละ 23.03
  10. แม่ฮ่องสอน ร้อยละ 23.51

Gen Z 

10 จังหวัดที่มีสัดส่วนร้อยละ Gen Z (อายุ 18-25 ปี) ต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

มากที่สุด

  1. ปัตตานี ร้อยละ 19.59
  2. ยะลา ร้อยละ 18.49
  3. นราธิวาส ร้อยละ 18.34
  4. ตาก ร้อยละ 16.98
  5. แม่ฮ่องสอน ร้อยละ 16.60
  6. สตูล ร้อยละ 15.46
  7. กระบี่ ร้อยละ 14.83
  8. สงขลา ร้อยละ 14.47
  9. ระนอง ร้อยละ 14.09
  10. นครพนม ร้อยละ 13.99

น้อยที่สุด

  1. ลำพูน ร้อยละ 9.44
  2. แพร่ ร้อยละ 9.98
  3. ลำปาง ร้อยละ 10.02
  4. พะเยา ร้อยละ 10.46
  5. สิงห์บุรี ร้อยละ 10.71
  6. ชัยนาท ร้อยละ 10.86
  7. นนทบุรี ร้อยละ 10.86
  8. สมุทรสงคราม 10.89%
  9. น่าน 10.94%
  10. สุโขทัย 11.13%

Gen Y 

10 จังหวัดที่มีสัดส่วนร้อยละ Gen Y (อายุ 26-41 ปี) ต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

มากที่สุด

  1. นราธิวาส ร้อยละ 34.74
  2. ปัตตานี ร้อยละ 34.22
  3. ยะลา ร้อยละ 34.22
  4. ภูเก็ต ร้อยละ 33.80
  5. แม่ฮ่องสอน ร้อยละ 33.51
  6. กระบี่ ร้อยละ 33.20
  7. สตูล ร้อยละ 33.03
  8. ระยอง ร้อยละ 32.89
  9. ชลบุรี ร้อยละ 32.00
  10. สมุทรปราการ ร้อยละ 30.62

น้อยที่สุด

  1. อุตรดิตถ์ ร้อยละ 24.74
  2. ชัยนาท ร้อยละ 25.42
  3. แพร่ ร้อยละ 25.46
  4. สิงห์บุรี ร้อยละ 25.49
  5. สุโขทัย ร้อยละ 25.51
  6. สมุทรสงคราม ร้อยละ 25.59
  7. ลำปาง ร้อยละ 25.68
  8. อ่างทอง ร้อยละ 26.16
  9. พิจิตร ร้อยละ 26.20
  10. พะเยา ร้อยละ 26.27

Gen X 

10 จังหวัดที่มีสัดส่วน Gen X (อายุ 42-57 ปี) ต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

มากที่สุด

  1. บึงกาฬ ร้อยละ 34.21
  2. สกลนคร ร้อยละ  33.49
  3. กาฬสินธุ์ ร้อยละ 33.42
  4. ปทุมธานี ร้อยละ 33.29
  5. หนองคาย ร้อยละ 33.19
  6. นครพนม ร้อยละ 33.09
  7. อุดรธานี ร้อยละ 33.04
  8. ยโสธร ร้อยละ 33.04
  9. มุกดาหาร ร้อยละ 33.04
  10. หนองบัวลำภู ร้อยละ 33.04

น้อยที่สุด

  1. ปัตตานี ร้อยละ 25.16
  2. ยะลา ร้อยละ 25.87
  3. แม่ฮ่องสอน ร้อยละ 26.38
  4. นราธิวาส ร้อยละ 26.47
  5. เชียงใหม่ ร้อยละ 27.15
  6. ลำพูน ร้อยละ 27.83
  7. ตาก ร้อยละ 28.00
  8. สิงห์บุรี ร้อยละ 28.42
  9. เชียงราย ร้อยละ 28.58
  10. ลำปาง ร้อยละ 28.72

Gen Baby Boomers 

10 จังหวัดที่มีสัดส่วน Gen Baby Boomers (อายุ 58-76 ปี) ต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

มากที่สุด 

  1. ลำพูน ร้อยละ 30.24
  2. ลำปาง ร้อยละ 29.99
  3. แพร่ ร้อยละ 29.69
  4. พะเยา ร้อยละ 29.31
  5. สิงห์บุรี ร้อยละ 28.39
  6. ชัยนาท ร้อยละ 27.52
  7. เชียงใหม่ ร้อยละ 27.44
  8. เชียงราย ร้อยละ 27.09
  9. น่าน ร้อยละ 26.94
  10. อุตรดิตถ์ ร้อยละ 26.90

น้อยที่สุด

  1. ปัตตานี ร้อยละ 16.48
  2. นราธิวาส ร้อยละ 16.62
  3. ยะลา ร้อยละ 17.10
  4. ภูเก็ต ร้อยละ 17.12
  5. กระบี่ ร้อยละ 17.68
  6. ระยอง ร้อยละ 18.00
  7. สตูล ร้อยละ 18.30
  8. ชลบุรี ร้อยละ 18.56
  9. แม่ฮ่องสอน ร้อยละ 18.92
  10. บึงกาฬ ร้อยละ 19.55

Gen Silent

10 จังหวัดที่มีสัดส่วน Gen Silent (อายุ 77 ปีขึ้นไป ) ต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

มากที่สุด 

  1. สมุทรสงคราม ร้อยละ 7.14
  2. สิงห์บุรี ร้อยละ 6.99
  3. พัทลุง ร้อยละ 6.61
  4. อ่างทอง ร้อยละ 6.58
  5. ชัยนาท ร้อยละ 6.58
  6. สุพรรณบุรี ร้อยละ 6.23
  7. นครศรีธรรมราช ร้อยละ 6.22
  8. นครนายก ร้อยละ 6.18
  9. อุทัยธานี ร้อยละ 6.15
  10. นครสวรรค์ ร้อยละ 6.03

น้อยที่สุด

  1. ภูเก็ต ร้อยละ 3.09
  2. สกลนคร ร้อยละ 3.43
  3. บึงกาฬ ร้อยละ 3.48
  4. ปทุมธานี ร้อยละ 3.51
  5. หนองบัวลำภู ร้อยละ 3.52
  6. อุดรธานี ร้อยละ 3.58
  7. ระยอง ร้อยละ 3.72
  8. กระบี่ ร้อยละ 3.75
  9. มุกดาหาร ร้อยละ 3.75
  10. นครพนม ร้อยละ 3.78

ดูข้อมูลพื้นฐานได้ที่ https://rocketmedialab.co/database-election-66-2

หมายเหตุ
อ้างอิงจำนวนประชากรจากจำนวนประชากรไทยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแยกรายอายุรายเดือน ธันวาคม 2565 สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง

จำแนกเจเนอเรชั่นตามศูนย์วิจัย Pew Research Center สหรัฐอเมริกา

 

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: