นอร์ธเทิร์นกัลฟ์ปิโตรเลียม ประเทศไทย ประกาศข่าวดี เริ่มผลิตน้ำมันดิบจากหลุมผลิตรสสุคนธ์ 2 แหล่งรสสุคนธ์ ตั้งแต่วันที่ 13 พ.ย. 2566 เวลา 20:59 น. เป็นปฐมฤกษ์ โดยคาดว่ามีกำลังผลิต จากหลุมรสสุคนธ์ 2 ประมาณ 1,300 -1,500 บาร์เรลต่อหลุมต่อวัน ซึ่งหลุมผลิตที่เหลือในแหล่งน้ำมันรสสุคนธ์ อีกจำนวน 6 หลุม บริษัทฯ จะเริ่มทยอยผลิตต่อจากนี้ไปจนถึงสิ้นปี ซึ่งจะทำให้มีกำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 10,000-13,000 บาร์เรลต่อวันโดยประมาณ
เมื่อช่วงเดือน พ.ย. 2566 Energy News Center รายงานว่านางสาว มาริษา เย็นบำรุง กรรมการบริษัทนอร์ธเทิร์นกัลฟ์ปิโตรเลียม ประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทได้เริ่มผลิตน้ำมันดิบจากหลุมผลิตรสสุคนธ์ 2 ตั้งแต่วันที่ 13 พ.ย. 2566 เวลา 20:59 น. โดยคาดว่า มีกำลังผลิต จากหลุมรสสุคนธ์ 2 ประมาณ 1,300 -1,500 บาร์เรลต่อหลุมต่อวัน ซึ่งหลุมผลิตที่เหลือในแหล่งน้ำมันรสสุคนธ์ อีกจำนวน 6 หลุม บริษัทฯ จะเริ่มทยอยผลิตต่อจากนี้ไปจนถึงสิ้นปี ซึ่งจะทำให้มีกำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 10,000 – 13,000 บาร์เรลต่อวัน โดยประมาณ
บริษัท ได้รับอนุมัติแผนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และได้รับอนุมัติแผนการผลิตจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกเหนือจากนั้นบริษัทฯ ยังได้รับการสนับสนุนด้านนโยบายจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน คุณพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค จึงสามารถดำเนินงานได้จนสำเร็จลุล่วง
โดยการที่บริษัทเริ่มผลิตน้ำมันดิบได้ในวันที่ 13 พ.ย. ที่ผ่านมา หลังจากที่เข้ามาเป็นผู้ดำเนินการผลิตอย่างเต็มตัวเมื่อเดือน พ.ค. 2566 ถือว่าเป็นสถิติใหม่ของโลก ที่สามารถทำการผลิตแหล่งน้ำมันดิบนอกชายฝั่งได้ภายในเวลา 6 เดือน ถือเป็นที่น่าภาคภูมิใจของชาวไทย โดยเป็นผลงานจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขา ทั้งคนไทยและต่างชาติ นักธรณีวิทยา นักธรณีฟิสิกส์ วิศวกรผู้ชำนาญการด้านการผลิตปิโตรเลียม ด้านการจัดการแหล่งปิโตรเลียม (Reservoir Management) ที่มีประสบการณ์กับบริษัทยักษ์ใหญ่มายาวนาน ไม่ว่าจะเป็น Petronas หรือ Unocal
.
สำหรับแหล่งน้ำมันรสสุคนธ์ อยู่ในแปลงสัมปทาน G6/48 ในทะเลอ่าวไทยอยู่ห่างจากฝั่งทะเลทางภาคใต้ ระยะทางประมาณ 194 กม. ระดับความลึกของน้ำทะเลประมาณ 65 เมตร โดย นอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ปิโตรเลียม บริษัทที่ถือหุ้นโดยคนไทย 100% เป็นผู้ดำเนินการผลิต โดยรักษามาตรฐานความปลอดภัยในการผลิตปิโตรเลียมอย่างเคร่งครัดตามหลักมาตรฐานสากล ภายใต้การกำกับดูแลโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน โดยประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นสำหรับประเทศไทย นอกจากช่วยให้เกิดการลงทุน การจ้างงาน และสร้างรายได้ให้กับรัฐทั้งในรูปของค่าภาคหลวง และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมภายใต้ระบบสัญญาสัมปทานแล้ว ยังช่วยทดแทนการนำเข้าน้ำมันดิบและช่วยสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศอีกด้วย
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ