รายงานการเงินรวมภาครัฐประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

กองบรรณาธิการ TCIJ 24 เม.ย. 2566 | อ่านแล้ว 39210 ครั้ง

รายงานการเงินรวมภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ 2565 ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน และงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงินของรัฐบาล หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 8,424 หน่วยงาน จากทั้งหมดจำนวน 8,443 หน่วยงาน

เมื่อช่วงเดือน มี.ค. 2566 มีการเปิดเผย 'รายงานการเงินรวมภาครัฐประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565' ในการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

รายงานการเงินรวมภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงินและงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงินของรัฐบาล หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 8,424 หน่วยงาน จากทั้งหมดจำนวน 8,443 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 99.97 สรุปได้ ดังนี้

1. รายงานการเงินรวมภาครัฐ ประกอบด้วย

รายการ

จำนวน

(ล้านล้านบาท)

รายละเอียด

สินทรัพย์

34.20

เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 2.96 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ดิน       ราชพัสดุและอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่อยู่ภายใต้การดูแลของกรมธนารักษ์ เงินลงทุนระยะยาว และสินทรัพย์ของสถาบันการเงินของรัฐ

หนี้สิน

26.87

เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 7.73 เนื่องจากมีการกู้เงินเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคม และการชดเชยรายได้ของประชาชนตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และพระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564

รายได้

8.79

เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 17.61 เนื่องจากมีรายได้แผ่นดิน (หักจัดสรรและถอนคืน) เพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และการจัดเก็บอากรขาเข้าเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับสถานการณ์  โควิด-19 ที่คลี่คลาย ทำให้รัฐวิสาหกิจมีผลประกอบการที่ดีขึ้น

ค่าใช้จ่าย

8.97

เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 16.98 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลาย ทำให้ต้นทุนการขายสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น*

2. รายงานการเงินรวมของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ (ไม่รวมรัฐวิสาหกิจและ อปท.) ประกอบด้วย

รายการ

จำนวน

(ล้านล้านบาท)

รายละเอียด

สินทรัพย์

16.75

ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 1.20 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ที่มีจำนวนลดลงจากการใช้งานตามปกติในรูปแบบของค่าเสื่อมราคาอาคารและอุปกรณ์ของหน่วยงาน

หนี้สิน

12.25

เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 10.02 เนื่องจากมีการกู้เงินเพื่อดำเนินแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินเพื่อแก้ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และพระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564

รายได้

3.45

ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 9.32 เนื่องจากมีรายได้ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติลดลง

ค่าใช้จ่าย

4.21

เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 3.49 เนื่องจากค่าใช้จ่ายจากการอุดหนุนอื่นและการบริจาค และค่าใช้จ่ายอื่น เช่น สวัสดิการสังคมและเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย

3. รายงานการเงินรวมของรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย

รายการ

จำนวน

(ล้านล้านบาท)

รายละเอียด

สินทรัพย์

18.42

เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 5.08 เนื่องจากสินทรัพย์ของสถาบันการเงินของรัฐเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน

หนี้สิน

15.13

เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 4.79 เนื่องจากหนี้สินของสถาบันการเงินของรัฐเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นของธนาคารกรุงไทยฯ และธนาคาร   ออมสิน

รายได้

5.11

เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 41.41 เนื่องจากสถานการณ์     โควิด-19 ที่คลี่คลาย ส่งผลให้รัฐวิสาหกิจมีผลประกอบการดีขึ้นและมีรายได้เพิ่มขึ้น

ค่าใช้จ่าย

4.73

เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 39.98 เนื่องจากการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจมีผลประกอบการดีขึ้นจากการขายสินค้าและการให้บริการที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนขายสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น

4. รายงานการเงินรวมของ อปท.

รายการ

จำนวน

(ล้านล้านบาท)

รายละเอียด

สินทรัพย์

1.61

เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 13.18 โดยส่วนใหญ่เป็นที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ และสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐาน

หนี้สิน

0.11

เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 0.41 โดยส่วนใหญ่เป็นภาระหนี้สินของกรุงเทพมหานครจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวและเงินรับฝากระยะสั้น

รายได้

0.82

เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 20.89 เนื่องจากรายได้ของ อปท. เพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตราปกติ (ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีการจัดเก็บภาษีตามมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19)

ค่าใช้จ่าย

0.60

เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 3.11 โดยเป็นค่าใช้จ่ายบุคลากร ค่าบำเหน็จบำนาญ และค่าใช้จ่ายสวัสดิการของรัฐ

5. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีหน่วยงานของรัฐที่ไม่ส่งรายงานการเงินภายในระยะเวลา 90 วัน ตามมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 จำนวน 56 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 0.66 ประกอบด้วย (1) หน่วยงานของรัฐที่ส่งรายงานการเงินไม่ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด จำนวน 37 หน่วยงาน ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ จำนวน 16 หน่วยงาน เช่น สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย และกองทุนประกันวินาศภัย รัฐวิสาหกิจ จำนวน 6 หน่วยงาน เช่น องค์การสะพานปลา การกีฬาแห่งประเทศไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และ อปท. จำนวน        15 หน่วยงาน เช่น เทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เทศบาลเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี และเทศบาลเมืองคลองมะเดื่อ จังหวัดสมุทรสาคร และ (2) หน่วยงานของรัฐที่ไม่ส่งรายงานการเงิน จำนวน 19 หน่วยงาน ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ จำนวน 2 หน่วยงาน คือ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 (ลพบุรี) และกองทุนเพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ และ อปท. จำนวน 17 หน่วยงาน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา องค์การบริหารส่วนตำบลคชสิทธิ์ จังหวัดสระบุรี และองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินเหนือ จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งนี้ ข้อมูลเปรียบเทียบการจัดส่งรายงานการเงินระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และ ปี 2564 สรุปได้ ดังนี้

หน่วยงาน

ปี 2565

ปี 2564

ส่งรายงานการเงิน

ไม่ทันภายใน

เวลาที่กำหนด

ไม่ส่ง

รายงานการเงิน

ส่งรายงานการเงิน

ไม่ทันภายใน

เวลาที่กำหนด

ไม่ส่ง

รายงานการเงิน

หน่วยงานของรัฐ

16

2

15

3

รัฐวิสาหกิจ

6

-

-

1

อปท.

15

17

462

69

รวม

37

19

477

73

รวมทั้งหมด

56

550

6. ผลการวิเคราะห์ที่สำคัญ

รายได้รวมของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คิดเป็นร้อยละ 17.61 ในขณะที่ค่าใช้จ่ายของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คิดเป็นร้อยละ 16.98 โดยมีสัดส่วนรายได้เพิ่มสูงกว่าค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แสดงถึงสัญญาณทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นทั้งการจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานของรัฐและรายได้แผ่นดิน ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐควรเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องด้วยการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการจัดเก็บรายได้ โดยมีการประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่จะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ ตลอดจนการบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อให้การจัดเก็บรายได้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งควรบริหารจัดการสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพและสามารถสร้างรายได้สูงสุด นอกจากนี้ ควรทบทวนการขอรับจัดสรรงบประมาณเท่าที่จำเป็นและเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณและการใช้จ่ายเงินภาครัฐตั้งแต่ต้นปีงบประมาณและมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ

_____________________

* จากการประสานข้อมูลเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 กรมบัญชีกลางแจ้งว่า ต้นทุนการขายสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นต้นทุนจากการผลิตสินค้าและบริการของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: