ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
วันที่ 7 สิงหาคม 2566 อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์" หรือศาสตราจารย์ ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการชื่อดังของไทยได้เสียชีวิตลงในวัย 83 ปี ท่านไม่เพียงเป็นนักวิชาการที่ได้ยอมในระดับประเทศเท่านั้นแต่สำหรับคนชายแดนใต้แล้วท่านเป็นอีกหนึ่งนักวิชาการที่คนชายแดนฝากความหวังในการช่วยชี้แนะการดำเนินนโยบายของรัฐอไม่ว่าภายใต้รัฐบาลประชาธิปไตยหรือภายใต้รัฐบาลทหารโดยเฉพาะหลังวิกฤตไฟใต้ตลอด 20 ปี
"สุชาติ สวัสดิ์ศรี" นักเขียนรางวัลช่อการะเกด โพสต์ข้อความว่า "นิธิ เอียวศรีวงศ์ ลาลับจากไปแล้ว ด้วยรักและอาลัยในมิตรภาพ ที่ยาวนานมาตั้งแต่ครั้ง สังคมศาสตร์ปริทัศน์"
สำหรับ ศาสตราจารย์ ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็นอาจารย์ที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกิดที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2483
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและโท สาขาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยอาจารย์มีชื่อเสียงจากผลงานวิชาการด้านประวัติศาสตร์ รวมทั้งมีงานเขียนตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน และนิตยสารศิลปวัฒนธรรม
ในปี 2556 เกิดขึ้นหลังจาก ที่ ผมได้จัดโครงการ โรงเรียนประชาธิปไตย ผ่านการสนับสนุนจาก โครงการสะพาน ได้มีการ ไปดูงาน ที่ เชียงใหม่ จึงมีโอกาส พบกับ อ.นิธิ ที่ ร้านหนังสือ อ.สนใจ ประเด็นชายแดนใต้ และ ให้ เกียรติกลุ่มคนเล็กๆ ที่ขึ้นไป เชียงใหม่ ในครั้งนั้น
ผมจึงบอกอาจารย์ว่า ถ้าพวกเราจะเชิญอาจารย์ไปบรรยายที่ปัตตานีอาจารย์จะไปไหมครับ อาจารย์ตอบว่ายินดียิ่ง
กระทั่งหลังจากพวกเรากลับมาไม่นาน ได้เชิญอาจารย์มาบรรยายเรื่องประวัติศาสตร์การเมืองไทยให้กับเยาวชนนอกระบบการศึกษาที่ปัตตานี จำได้ว่าสิ่งหนึ่งที่ผมมักจะต้องอธิบายให้ เพื่อนๆ หรืออาจารย์ และผู้คนต่างถิ่น คือ กระบวนยุติธรรมและวิถีปฎิบัติที่ใช้อยู่ในพื้นที่ชายแดนใต้ กฎอัยการศึก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทหาร ชรบ. ให้เข้าใจ มันยากมาก ในเวลานั้นการมีโอกาสได้รวมสร้างสัมพันธมิตรกับคณาจารย์ ผมถือว่าเป็นภารกิจหนึ่งที่จะสื่อสารเรื่องราว สร้างความเข้าใจในบริบทของพื้นที่ในลักษณะนี้ ให้ทุกคนเข้าใจ วันนี้ สถานการณ์ที่ปาตานีหรือชายแดนใต้ คนส่วนกลางเข้าใจถึงชะตากรรมของคนชายแดนใต้ อย่างลึกซึ้งมาก
"นิธิ เอียวศรีวงศ์"เป็นนักวิชาการใหญ่ ที่มีผลงาน การเขียนและบรรยาย “ปัญหาปาตานี/ชายแดนใต้” มากที่สุดคนหนึ่ง เช่น ความแปลกหน้าของมุสลิม (อ่านเพิ่มเติมใน https://www.matichonweekly.com/column/article_58920 “ประวัติศาสตร์ลังกาสุกะและปาตานี” https://mgronline.com/south/detail/9490000062800 3. ปอเนาะ (https://prachatai.com/journal/2022/01/96776) และมองสถานการณ์ภาคใต้ผ่านสายตาของนิธิ ซึ่งท่านสามารถอ่านรวบรวมผลงานท่านใน https://midnightuniv.tumrai.com/midnight2545/document9782.html
สำหรับผู้เขียนเคยเรียนกับท่านในระดับปริญญาเอกสาขา วัฒนธรรมศึกษาของมหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อ ปี 50 (ถ้าจำไม่ผิด)และอีกอีกประการเคยนำทัศนะท่านในบทความผู้เขียน “ปอเนาะการศึกษาทางเลือก :จิตวิญญาณปาตานี” ปัญหาและทางออก”ในช่วงที่รัฐและสังคมนอกมองว่า การศึกษาในระบบปอเนาะซึ่งมีเฉพาะชายแดนใต้ว่าเป็นแหล่งบ่มเพาะการก่อการร้ายโดยท่าน (ศ.นิธิ เอียวศรีวงศ์) สะท้อนว่า “ความสัมพันธ์ ปอเนาะ โต๊ะครู (บาบอ) และชุมชนกับรัฐโดยให้ทัศนะว่า “เมื่อพิจารณาบทบาทโต๊ะครูที่มีต่อชาวบ้านและชุมชน จะพบว่ามันสอดคล้องกับความเชื่อเรื่องกระบวนการผู้มีบุญที่มีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของชาวเขาทางภาคเหนือของไทย ซึ่งใช้ทฤษฎี (Revitalization Theory)เมื่อถูกกดดันจากภาครัฐ ทำให้โต๊ะครูและชาวบ้านมีทางเลือกสองทางคือ การไม่ยอมรับการจดทะเบียนปอเนาะ เพราะกลัวว่ารัฐจะเข้ามาควบคุม ซึ่งเป็นส่วนน้อย เมื่อพิจารณาจากส่วนใหญ่ของปอเนาะที่ยอมจดทะเบียนเพื่อฟื้นฟูพลังการดำรงอยู่ และพลังที่พวกเขานำมาใช้เพื่อการคงอยู่ ก็มีบริบทภายในวัฒนธรรมตนเองและปัจจัยทางการเมืองภายนอก และขณะเดียวกันมีการใช้กระบวนการต่อรอง (Negotiation) ตามแนวคิดของกรัมชี ระหว่างโต๊ะครู ชุมชน กับรัฐ โดยการยอมรับของชุมชนและโต๊ะครูนั้น รัฐต้องมาสนับสนุนหนุนเสริมพัฒนา ไม่ใช่มาควบคุม “ (อ้างอิง https://www.thaingo.org/content/detail/5168)
กล่าวโดยสรุปผลงานของท่านมีผลต่อนักวิชาการและวิชาการอันเป็นฐานสำคัญในการต่อยอดการแก้ปัญหาและพัฒนาชายแดนใต้ ทุกมิติไม่ว่ามิติการเมือง สังคม ศาสนา วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ทีเชื่อมโยงเกี่ยวกับโครงสร้างและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของ จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรในท้องถิ่น เพื่อนําไปสู่การแก้ไขปัญหาและสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ด้านสวัสดิภาพหรือคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงกลุ่มแรงงานที่ไปทํางานในต่างแดน เช่น ประเทศมาเลเซีย การบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยเน้นการมีส่วนร่วมภาคประชาชนมิติสังคม ได้แก่
1. แนวทางของการกระจายอํานาจชุมชนและแนวทางการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้
2. ปัญหาเชิงโครงสร้างความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อนําไปสู่การหาทางออกและการแก้ไขปัญหา
3. ด้านความมั่นคงของมนุษย์มากกว่าความมั่นคงด้านทหาร
4. ระบบราชการและการบริหารจัดการของภาครัฐที่เหมาะสมกับบริบทของ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของภาครัฐและการทําให้ประชาชนเข้าถึงบริการของรัฐ อย่างเท่าเทียม และเหมาะสม โดยเฉพาะประเด็นกระบวนการพูดคุยสันติภาพ มุสลิมกับชาวพุทธ คนเห็นต่างและกระบวนการยุติธรรม
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ