ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
จากที่นักเตะดังในลีกยุโรปแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ไม่ว่าจะเป็นการเขียนในสื่อโซเซียล ถ่ายรูป ถือธงชาติปาเลสไตน์ลงสนามหรือแม้กระทั่งล่าสุดเป็นเรื่องดราม่าในโลกโซเซียลไทยเมื่อนักเตะจากนราธิวาสถือธงชาติปาเลสไตน์ถ่ายลงสนามสะท้อนว่า สงคราม ปาเลสไตน์-อิสราเอลมิใช่จำกัดเฉพาะสนามรบ
17 ต.ค. 2566 BBC สื่อชื่อดังของอังกฤษ รายงานว่า อันวาร์ อัล กาซี ปีกชาวดัตช์ ถูกไมนซ์ 05 ต้นสังกัดในศึกบุนเดสลีกา เยอรมนี สั่งแบนจากการฝึกซ้อมและการลงสนาม เนื่องจากโพสต์บนโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์
แม้ในเวลาต่อมานักเตะวัย 28 ปีได้ลบโพสต์ที่สโมสรของเขารู้สึกว่ายอมรับไม่ได้ออกไปจากโลกออนไลน์แล้ว
แถลงการณ์ของไมนซ์กล่าวว่า “อัล กาซี เข้ามาแสดงบทบาทต่อความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ในตะวันออกกลาง ซึ่งสโมสรถือว่าไม่ใช่เรื่องที่ควรจะยอมรับ
“ก่อนการตัดสินใจครั้งนี้สโมสรและผู้เล่นได้พูดคุยกันในเชิงลึกเรียบร้อยแล้ว
“ไมนซ์ 05 เคารพความจริงที่ว่ามีมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความขัดแย้งที่ซับซ้อนและยาวนานหลายทศวรรษในตะวันออกกลาง
“อย่างไรก็ตาม สโมสรต้องการออกห่างจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น และเนื้อหาที่โพสต์บนโซเชียลมีเดียของนักเตะไม่สอดคล้องกับค่านิยมของสโมสร”
อดีตปีกแอสตัน วิลลาและเอฟเวอร์ตันย้ายไปร่วมทีมไมนซ์ในช่วงซัมเมอร์ที่ผ่านมา โดยเขาเล่นเกมลีกไปแล้ว 3 นัดให้กับสโมสรหลังจากเซ็นสัญญาร่วมทีมแบบไร้ค่าตัว
มีรายงานว่าบาเยิร์น มิวนิก ก็เป็นอีกทีมที่กำลังต้องเจอกับปัญหานี้ หลังมีกำหนดพูดคุยกับ นูสแซร์ มาซราอุย ฟูลแบ็กหลังทีมชาติโมร็อกโกที่แชร์วิดีโอที่สนับสนุนชาวปาเลสไตน์บน Instagram
ในแถลงการณ์ของสโมสรระบุว่า “บาเยิร์นติดต่อ นูสแซร์ มาซราอุย ทันทีหลังจากเห็นโพสต์ใน Instagram ของเขาเมื่อวันอาทิตย์
“หลังจากที่เขากลับมา (จากการปฏิบัติหน้าที่ในทีมชาติ) จะมีการประชุมกับฝ่ายบริหารของสโมสรในมิวนิกเป็นการส่วนตัวโดยละเอียด”
ก่อนหน้านี้ ยูเซฟ อาตัล กองหลังของนีซ กำลังถูกอัยการในฝรั่งเศสสอบสวน หลังจากถูกกล่าวหาว่าโพสต์วิดีโอต่อต้านชาวยิวบนโซเชียลมีเดีย สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งในอิสราเอลและฉนวนกาซาเช่นกัน
ในขณะที่มุฮัมมัด ซาลาห์ กองหน้าชื่อดังระดับโลกทีมชาติอียิปต์และลิเวอร์พูล เผยแพร่วิดีโอที่เขาเรียกร้องให้ยุติการสังหารหมู่และให้ความช่วยเหลือในฉนวนกาซา และมีผู้คนหลายร้อยล้านคนเข้าไปดู
เกิดเรื่องดราม่าขึ้นอีกครั้งในวงการฟุตบอลไทย เมื่อนักฟุตบอลของทีม นรา ยูไนเต็ด พร้อมใจชูธงปาเลสไตน์ ในเกมไทยลีก 3 "ปุ๋ยรุ่งอรุณลีก" ฤดูกาล 2023/24 เมื่อวันที่ 15 ต.ค.ที่ผ่านมา
เกมดังกล่าวเจ้าถิ่น นรา ยูไนเต็ด พ่ายคาบ้านให้กับ สงขลา เอฟซี 0-1 แต่นอกเหนือจากผลการแข่งขันแล้ว นักฟุตบอลของเจ้าบ้านก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักที่แสดงออกในการชูธงปาเลสไตน์ก่อนเกมจะเริ่ม ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า ปาเลสไตน์ กำลังทำสงครามกับ อิสราเอล จนมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก รวมถึงคนไทยด้วย
โลกโซเชียลหากเป็นคนที่ไม่ได้อยู่ชายแดนใต้จะวิจารณ์อย่างหนักถึงเรื่องดังกล่าว ถึงขั้น ว่าเป็นสิ่งที่น่าอับอาย สมาคมฟุตบอลไทยต้องอกบทลงโทษในขณะที่คนชายแดนใต้ส่วนใหญ่มองอีกด้านว่า การชูธงปาเลสไตน์มิได้หมายความว่าสนับสนุนสงครามแต่พยามจะบอกให้สังคมไทยว่า เป็นการยืนบนมนุษยธรรมที่คนปาเลสไตน์ซึ่งคนบริสุทธิ์ เด็ก สตรี คนชรากำลังโดนถล่มทุกวันซึ่งขณะนี้ใช้เวลา 1 เดือนเต็มที่รัฐอิสราเอลปิดล้อมถล่มทั้งทางบก อากาศและทะเล”
การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ของนักฟุตบอลในสงครามปาเลสไตน์-อิสราเอลมิใช่ครั้งแรกและทุกครั้งทุกปีที่มีการปะทะ
เช่นปี 2021 ฮัมซา ชาวฮ์ดรี และ เวสลีย์ โฟฟานา ชูธงปาเลสไตน์หลังคว้าแชมป์เอฟเอคัพอังกฤษ ในปีนั้นเช่นเดียวกับบรรดานักฟุตบอลมุสลิมที่ออกโรงปกป้องปาเลสไตน์ผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้ง ซาลาห์ และ ซาดิโอ มาเน ส่วนนักเตะหนุนอิสราเอลเช่นโทเมอร์ เฮเหม็ด (Tomer Hemed) จากสโมสร เวลลิงตัน ฟีนิกซ์ ทีมนิวซีแลนด์หนึ่งเดียวที่เล่นอยู่ในเอลีกของออสเตรเลีย หัวหอกดีกรีอดีตทีมชาติอิสราเอลฉลองการทำประตูในเกมกับ เมลเบิร์น ซิตี้ ด้วยการวิ่งไปหากลุ่มแฟนบอลชาวยิว และนำธงชาติอิสราเอลมาคลุม
เมื่อทำประตูที่ 2 ก็หยิบหมวกคิปปาห์ (kippah) ของชาวยิว มาสวมบนศีรษะ มือข้างขวาปิดหน้า ข้างซ้ายชูขึ้นฟ้าและเขาแสดงออกไม่ใช่ครั้งแรกที่เฮเหม็ดแสดงออกถึงความเป็นชาวอิสราเอล เพราะหลายครั้งที่ทำประตูได้เขาก็วิ่งไปฉลองกับแฟนบอลซึ่งเป็นกลุ่มชุมชนชาวยิว เพียงแต่บริบทความแตกต่างอยู่ที่ความอ่อนไหวของปัจจุบันคือภาวะใกล้เคียง ‘สงคราม’
มิใช่เฉพาะนักฟุตบอลแต่ยังรวมถึงแฟนฟุตบอล ที่การแสดงออกถือธง โบกธง ส่งเสียง และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมายโดยเฉพาะในลีกยุโรปหรือที่สนามกีฬาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
จากสนามบอลสู่ชุมชนชายแดนใต้และกรุงเทพมหานคร เน้นมนุษยธรรม
ชุมชนมุสลิมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในปัญหานี้ผ่านกิจกรรมต่างๆในชุมชนผ่านมัสยิดเช่นละหมาดขอพรทุกเวลาวันละห้าครั้งตามที่สำนักจุฬาราชมนตรีประกาศ บรรยายสถาการณ์ทุกสัปดาห์ในวันศุกร์ ในสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะวันที่วันเสาร์ ที่ 4 พฤศจิกายน 2566 ตั้งแต่เวลา 9.00 น. ประชาชนประมาณ 5,000 คน รวมตัวกันที่ณ มัสยิดกลางประจำจังหวัดปัตตานี
เพื่อเรียกร้องมนุษยธรรมผ่านสามกิจกรรม1.ละหมาดฮายัตขอพรพระเจ้าร่วมกัน 2. ถ่ายรูปร่วมกันพร้อมชูป้ายหรือธงสัญลักษณ์ของปาเลสไตน์หลังจากนั้น 3.มีการบรรยายพิเศษ "Palestine talk" ทำความเข้าใจสถานการณ์สงคราม ซึ่งกิจกรรมนี้จัดโดยสมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (CAP) และภาคีเครือข่าย หลังจากนั้นมีการอ่านแถลงการณ์เรียกร้อง 3 ประการดังต่อไปนี้
1. ขอเรียกร้องให้อิสราเอล ยุติการปฏิบัติการเลวร้ายทันทีต่อประชาชนปาเลสไตน์
2. ขอให้ประชาคมระหว่างประเทศดำเนินการกดดันทางการทูตต่ออิสราเอลเพื่อให้ยุติปฏิบัติการทางทหารอย่างเร่งด่วนที่สุด และให้คำนึงถึงหลักมนุษยธรรมภายใต้กรอบกฎหมาย ระหว่างประเทศว่าด้วยการทําสงคราม
3. ขอวิงวอนต่อพี่น้องประชาชาติมุสลิมทั่วทุกมุมโลก โปรดอย่านิ่งเฉย" และช่วยกันสนับสนุน ช่วยกันดุอาร์ให้แก่พี่น้องของชาวปาเลสไตน์
ข้อควรระมัดระวังในมิติหน่วยความมั่นคง
ความเป็นจริงการแสดงออกชูธง ปาเลสไตน์ของนักฟุตบอล มิใช่ ในประเทศไทย หรือชายแดนใต้ เท่านั้นในยุโรปนักเตะชื่อดังหลายคนก็ทำเช่นกันดังที่กล่าวมาแล้ว หรือเอริค คันโตนาอดีตจอมทัพผู้ยิ่งใหญ่ของ "ปีศาจแดง" แมนเชสเตอร์ ยูในเต็ด เคยกล่าวว่า " การปกป้องชาวปาเลสไตน์ ไม่ใช่การสนับสนุนฮามาส แต่คือปลดปล่อยพวกเขาจากอำนาจของอิสราเอล ที่ยึดครองสิทธิของพวกนาน 75 ปีปล่อยพวกเขา ออกจากคุกเปิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก " (อ้างอิงจากเพจ THAIRATH SPORT) แฟนฟุตบอลในสนามก็ทำ ไม่เพียงวงการฟุตบอลในชายแดนใต้ หรือมุสลิมไทย แต่ทุกวงการ ซึ่งประชาชนทั่วโลกรวมทั้งอเมริกาที่รักความยุติธรรม (https://mgronline.com/daily/detail/9660000100838)
อย่างไรก็แล้วแต่ได้ข่าวลือว่า หน่วยความมั่นคงกำลังติดตาม มุสลิมที่ชายแดนใต้ หรือล่าสุดอำเภอจะนะคุกคามวิทยาลัยเทคโนโลยีสันติวิทย์ หลังแสดงจุดยืนเคียงข้าง ปาเลสไตน์
“10 พ.ย. 2566 ดร.มังโสด หมะเต๊ะ ผู้รับใบอนุญาตวิทยาลัยเทคโนโลยีสันติวิทย์ สงขลา เปิดเผยว่า “ว่าหลังจากที่ นศ.แสดงกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ก็ถูกคุกคามโดย ทั้งตำรวจและ ฝ่ายปกครองจากอำเภอจะนะและ สภ. จังหวัดสงขลา โทรศัพท์จะเอารายชื่อ ผู้อำนวยการ ครูที้ร่วมกิจกรรม” (อ้างอิง https://share.csitereport.com/share.php?post_id=0000037128)
นอกจากนี้ไกลกว่านั้นกลับถูกมองว่าเป็น”การปลุกระดมสร้างความแตกแยกแบ่งพรรคแบ่งพวกเลือกฝ่ายให้เกิดขึ้นในพื้นที่ แล้วผูกโยงว่า ในสงครามครั้งนี้มีพี่น้องคนไทยเสียชีวิตจำนวนมาก แต่กลับไม่เคยมีการพูดถึงหรือแสดงความเสียใจ เสมือนไม่ได้เห็นค่าชีวิตพี่น้องคนไทยด้วยกันที่เสียชีวิตแม้แต่น้อย กลับมารณรงค์สนับสนุนผู้ก่อเหตุ ซึ่งมันสะเทือนใจต่อครอบครัวคนไทยที่สูญเสียเป็นอย่างมากไม่สำนึกในความเป็นคนไทยแผ่นดินไทย” ซึ่ง ดร.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ ออกมาเตือน หน่วยความมั่นคงชายแดนใต้ โดย สะท้อนต่อเรื่องนี้ว่า “ขอร้อง โปรดเข้าใจ”ซึ่งหน่วยฝ่ายความมั่นคงอาจไม่สบายใจต่อการแสดงออกของมุสลิมไทยในกรณีสงครามปาเลสไตน์ในช่วงนี้ดังนั้นจึงขอร้องฝ่ายความมั่นคง (หรือคนไทยอื่นๆทุกท่าน)โปรดเข้าใจว่า การแสดงออกของมุสลิมในเรื่องนี้อย่าเหมารวม มันเป็นเพียงปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อภาพความโหดร้ายที่ปรากฎตามสื่อต่าง ๆ ที่อิสราเอลกระทำต่อพลเรือน เด็ก ผู้หญิงและคนชราในฉนวนกาซา และล่าสุดก็คือการระเบิดโรงพยาบาลมะอฺมะดานีย์ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 500 คน การแสดงออกเหล่านี้เป็นธรรมชาติของคนที่มีคุณธรรมและมนุษยธรรมในหัวใจ และหากประชาชนคนไทยถูกกระทำเช่นที่ประชาชนกาซาถูกกระทำอยู่ในเวลานี้ พวกเรามุสลิมไทยก็พร้อมที่จะแสดงออกเพื่อปกป้องชีวิตคนไทยดุจเดียวกัน ดังเช่นที่ผู้ใหญ่หลายคนในองค์กรมุสลิมกำลังพยายามที่จะช่วยชีวิตคนไทยที่ตกเป็นตัวประกันในมือของฮามาสอยู่ในเวลานี้
ขอให้เข้าใจว่าทุกคนที่แสดงออกว่าสนับสนุนปาเลสไตน์ พวกเขาก็รักประเทศไทยเหมือนที่ท่านรัก จึงไม่มีวันที่จะทำให้ประเทศไทยเสียหายด้วยการแสดงออกเหล่านี้
ที่สำคัญประเทศไทยควรเป็นที่รู้จักว่าค้ำจุนความเป็นธรรม เคารพความเป็นมนุษย์และไม่ฝักใฝ่ฆาตกรสงครามกระหายเลือด
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ