ครบรอบ 1 ปี ฟ้อง 5 หน่วยงานรัฐ โครงการ ‘ม. 33 เรารักกัน’ เลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติโดยไม่เป็นธรรม

กองบรรณาธิการ TCIJ 27 พ.ค. 2566 | อ่านแล้ว 41680 ครั้ง

ครบรอบ 1 ปี ฟ้อง 5 หน่วยงานรัฐ โครงการ ‘ม. 33 เรารักกัน’ เลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติโดยไม่เป็นธรรม

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) เผยครบรอบ 1 ปี ฟ้อง 5 หน่วยงานรัฐ โครงการ ‘ม. 33 เรารักกัน’ เลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติโดยไม่เป็นธรรม

27 พ.ค. 2566 มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) แจ้งข่าวว่าในวันนี้ (27 พ.ค.) ถือเป็นวันครบ 1 ปี (ยื่นฟ้อง 27 พ.ค. 2565) ที่ตัวแทนผู้ประกันตนแรงงานข้ามชาติยื่นฟ้อง 5 หน่วยงานรัฐ ต่อศาลปกครองกลาง กรณีโครงการของสำนักงานประกันสังคม ‘ม.33 เรารักกัน’ ไม่เยียวยาแรงงานทุกคนที่เป็นผู้ประกันตนในช่วงวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 โดยหน่วยงานรัฐมีเจตนากำหนดคุณสมบัติกีดกันทางสัญชาติ ทั้งๆที่แรงงานข้ามชาติจำนวนเกือบหนึ่งล้านคนเป็นผู้ประกันตนและได้รับผลกระทบรุนแรงแต่ไม่ได้รับการเยียวยา ทั้งนี้ มูลนิธิสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ชี้ว่าโครงการนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 4,27 และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (CERD)

ปสุตา ชื้นขจร ผู้ประสานงานโครงการยุติธรรมเพื่อแรงงานข้ามชาติ กล่าวถึงความก้าวหน้าของคดีดังกล่าว โดยชี้ให้เห็นผลการพิจารณาคดีของศาลปกครองกลางเมื่อ วันที่ 24 มิ.ย.2565 โดยศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานข้ามชาติ เนื่องจากเห็นว่าผู้ฟ้องคดีไม่ได้ยื่นฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้เหตุแห่งการฟ้องคดี ต่อมาวันที่ 27 พ.ค.2565 ตัวแทนผู้ประกันตนแรงงานข้ามชาติ ได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาต่อศาลปกครองสูงสุด โดย มสพ. เห็นว่าคดีที่ตัวแทนผู้ประกันตนแรงงานข้ามชาติอุทธรณ์คดีนี้มีผลกระทบต่อสาธารณชนและส่งผลในวงกว้าง โดยอ้างถึงพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ให้สิทธิคู่กรณีในการฟ้องคดีไว้ในกรณีที่คดีที่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือสถานะของบุคคลเพื่อให้ศาลรับไว้พิจารณา ซึ่งประชาชนสามารถอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องได้  

“กรณีโครงการ ‘ม.33เรารักกัน’แสดงให้เห็นว่านโยบายของรัฐไทยไม่ได้มองแรงงานข้ามชาติเป็นมนุษย์ หรือว่ามองไม่เห็นว่ามีคนกลุ่มนี้อยู่ พยายามซุกเรื่องเหล่านี้ไว้ใต้พรม หมายความว่าการฟ้องคดีเพื่อชี้ว่าไม่ได้มีแค่คนไทยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มันมีคนอื่นๆ ที่ถูก stigmatize (ตีตรา) ให้เป็นคนอื่นไป หรือว่ามองว่าไม่เป็นมนุษย์เพื่อรัฐจะไม่ต้องเยียวยาหรือปล่อยเขาทิ้งไว้อย่างนั้น เรามองว่าไม่เป็นธรรม” ปสุตา กล่าว

ปัจจุบันครบรอบ 1 ปีแล้วในการที่เรายื่นคำฟ้องไป แต่ศาลปกครองสูงสุดอยู่ในระหว่างการพิจารณา ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวส่งผลให้แรงงานข้ามชาติรู้สึกเคว้างคว้าง โดย มสพ. มองว่าการหาช่องทางให้ศาลพิจาณาเพื่อวินิจฉัยกรณีที่นโยบายรัฐส่งผลกระทบต่อประชาชนยังไม่ได้เปิดโอกาสโดยง่าย  และ มองว่ากลไกนี้ยังมีความล่าช้ากับสิ่งที่แรงงานต้องแบกรับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19  ดังนั้น การเพิกเฉยต่อแรงงานข้ามชาติในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา จึงเป็นการขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน เพราะวิกฤติการแพร่ระบาดไวรัสโควิด–19 นั้นส่งผลต่อประชาชนไม่เลือกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แรงงานข้ามชาติที่ทำงานในประเทศไทยต่างได้รับความเดือนร้อนเช่นเดียวกับคนไทย เช่นจาก สถานประกอบการถูกสั่งปิด การตกงาน ดิ้นรนหารายได้ เพื่อให้ตนและครอบครัวมีชีวิตรอด

หนึ่งกลุ่มใหญ่ของคนทำงานที่ได้รับความเดือนร้อนอย่างสาหัสไม่ต่างกันก็คือแรงงานข้ามชาติและแรงงานไร้สัญชาติ ที่ต้องประสบปัญหาตกงาน ขาดรายได้ ทั้งยังเข้าไม่ถึงสิทธิและการช่วยเหลือการเยียวยาของภาครัฐไทย ด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติสัญชาติ ที่พวกเขาถูกตีตราว่าเป็น “ต่างด้าว”

ในวาระนี้ มสพ. เรียบเรียงบทสรุปไทมไลน์ "กรณีแรงงานข้ามชาติและแรงงานไร้สัญชาติไม่ได้รับการเยียวยาจากโครงการ ‘ม.33 เรารักกัน’ โดยรวบรวมช่วงเวลาที่สำคัญของการต่อสู้ของแรงงานข้ามชาติที่นำไปสู่การฟ้องเพิกถอนการกำหนดคุณสมบัติสัญชาติไทย ในการเยียวยาผลกระ

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: