ข้อมูลจาก 'โครงการประเมินและสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตข้าราชการตำรวจ' พบกำลังพลระดับรอง ผบก.ลงมา 205,268 นาย เข้ารับการประเมิน 195,524 นาย (95.25%) ไม่เข้ารับการประเมิน 9,744 นาย (4.75%) ไม่พบความเสี่ยง 195,274 นาย (99.87%) พบความเสี่ยง 250 นาย (0.13%) ตำรวจที่เข้าสู่กระบวนการรักษาจาก 142 นาย พบว่าสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) มากที่สุด 32 นาย ตามมาด้วยกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) และตำรวจภูธร ภาค 3(ภ.3) เท่ากันที่ 11 นาย แนะผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าหน่วยทุกระดับควรเข้ารับการอบรมความรู้ และมีทักษะในการป้องกันแก้ไขปัญหาตำรวจฆ่าตัวตาย
ข้อมูลจากการประชุมติดตามการดำเนินงานตาม 'โครงการประเมินและสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตข้าราชการตำรวจ' เมื่อช่วงต้นเดือน พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา มีการรายงานผลการดำเนินโครงการฯ โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
การดำเนินโครงการฯ นี้ได้ทำการประเมินเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้าร่วมโครงการทางออนไลน์ (ระหว่าง 21 พ.ย.-7ธ.ค. 2565), ประมวลผลและแจ้งผลผู้เสี่ยง (8 ธ.ค. 2565-12 ม.ค. 2566), ตรวจวินิจฉัย รักษาและรายงานผลต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (จนถึงปัจจุบันเดือน พ.ค. 2566)
พบตำรวจระดับรอง ผบก.ลงมา 205,268 นาย ไม่เข้ารับการประเมินสุขภาพจิต 9,744 นาย
สรุปผลการดำเนินโครงการฯ จากกำลังพลระดับรอง ผบก.ลงมา 205,268 นาย เข้ารับการประเมิน 195,524 นาย (95.25%) ไม่เข้ารับการประเมิน 9,744 นาย (4.75%) ไม่พบความเสี่ยง 195,274 นาย (99.87%) พบความเสี่ยง 250 นาย (0.13%)
*"กลุ่มเสี่ยง" คือผู้มีผลการประเมินเสี่ยงทั้ง 3 ด้านได้แก่ 1.มีความเครียดระดับมากที่สุด 2.มีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง 3. มีความเสี่ยงทำร้ายตนเองระดับปานกลาง-รุนแรง
สำหรับตำรวจที่พบความเสี่ยง 250 นายนั้น เข้าสู่กระบวนการรักษา 142 นาย (56.8%) ไม่พบความผิดปกติ 103 นาย (41.2%) รอพบแพทย์ 3 นาย (1.2 %) ลาออกจากราชการ 2 นาย (0.8%)
สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เข้าสู่กระบวนการรักษามากที่สุด
เมื่อพิจารณาตัวเลขตำรวจที่เข้าสู่กระบวนการรักษาจาก 142 นายนั้น พบว่าสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) มากที่สุด 32 นาย ตามมาด้วยกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) และตำรวจภูธร ภาค 3(ภ.3) เท่ากันที่ 11 นาย
ด้านปัญหาและอุปสรรคของโครงการฯ พบข้อจำกัดของการประเมินสุขภาพจิตผ่านระบบออนไลน์ โดยตำรวจบางนายอาจไม่ถนัดการใช้งานผ่านระบบออนไลน์ ทำให้เกิดความผิดพลาดในการกรอกข้อมูลได้ เช่น กรอกข้อมูลไม่ถูกต้อง เลือกสังกัดผิด ส่งผลให้รายชื่อตกหล่น ไม่พบรายชื่อในสังกัดของตน และจานวนของผู้เข้าทำแบบประเมิน อาจคาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง
นอกจากนี้ระบบของการประเมินค่อนข้างใช้งานได้ลาบาก เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลระหว่างช่วงของการประเมินได้แบบ real time time ต้องรอจนประเมินครบทุกหน่วยและปิดระบบการประเมินก่อนจึงจะสามารถตรวจสอบข้อมูลและแก้ไขได้ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบหรือติดตามให้เข้าทำแบบประเมินได้ครบทุกนาย
การประเมินในครั้งนี้เป็นเพียงการคัดกรองเบื้องต้น ซึ่งลักษณะของแบบประเมินเป็นแบบรายงานตนเอง (self report) ผู้ประเมินต้องซื่อสัตย์กับตนเอง และตอบตามความเป็นจริง จึงจะได้ผลลัพธ์ที่เชื่อถือได้
การประเมินสุขภาพจิตครั้งนี้เป็นเพียงการคัดกรองภาวะสุขภาพจิตเบื้องต้นและผลการประเมินสุขภาพจิตที่ได้เป็นผลขณะทำการทดสอบเท่านั้น ซึ่งภาวะสุขภาพจิตนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่กำลังเผชิญจึงไม่สามารถใช้ในการทำนายอนาคตได้ แนะนำให้ผู้บังคับบัญชาคอยสอดส่องดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาทุกนายอย่างใกล้ชิด หากพบความผิดปกติหรือสัญญาณเตือนถึงความเสี่ยงต่อการทำร้ายต้นเองสามารถดำเนินการนำตัวส่งพบแพทย์ได้ทันที
ตำรวจบางนายกลัวถูกตีตราไม่กล้าตอบตามความจริง เนื่องจากกังวลถึงผลลัพธ์ที่จะตามมา
สำหรับข้อจำกัดในการดำเนินการนั้น มีเรื่องการรักษาความลับ เนื่องจากการดำเนินการต้องมีการประสานให้ผู้บังคับบัญชานำตัวผู้ที่มีความเสี่ยงสูงไปพบแพทย์ ทาให้ผู้ที่ตอบแบบประเมินบางนายกลัว ถูกตีตราไม่กล้าตอบตามความจริง ให้คาตอบที่เป็นไปตามความคาดหวังของสังคม เนื่องจากกังวลถึงผลลัพธ์ที่จะตามมา
กำลังพลมีการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายอยู่ตลอด อาจทาให้เกิดความสับสน และลำบากในการติดตามอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้สถานพยาบาลบางแห่งมีจานวนจิตแพทย์จำกัด อาจต้องรอคิวนาน หรืออยู่ห่างไกลทำให้เกิดความลาบากและมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความลำบากในการไปรักษาอย่างต่อเนื่อง
รวมถึงข้อจำกัดเรื่องความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต ผู้บังคับบัญชาบางหน่วยอาจขาดความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต เช่น มีการตำหนิผู้ที่มีความเสี่ยงซึ่งได้ตอบแบบประเมินตามความจริง ว่าไม่ควรตอบ ให้มีความเสี่ยง เนื่องจากกังวลว่าจะมีปัญหาตามมา นอกจากนี้ยังอาจขาดความเข้าใจเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพจิต/โรคทางจิตเวช อาจมีการตัดสิน ตีตราผู้ที่มีความเสี่ยงว่าเป็นคนบ้า หรืออาจมีการสื่อสารที่ไม่เหมาะสมทำให้ผู้มีความเสี่ยงรู้สึกแปลกแยกจากผู้อื่นเกิดความพยายามที่จะปกปิดปัญหาไว้ จนอาจนำไปสู่ปัญหาที่รุนแรงได้ นอกจากนี้ยังอาจขาดทักษะในการสังเกต พฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการทาร้ายตัวเอง จะมีส่วนสำคัญในการช่วยยุติความรุนแรงและป้องกันเหตุได้อย่างทันท่วงที
นอกจากนี้ผู้ที่มีความเสี่ยงบางนายอาจขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคทางจิตเวช คิดว่า ทานยาแล้วอาการดีขึ้นคือหายแล้ว จึงหยุดยาเอง ไม่ไปรักษาต่อเนื่องตามที่แพทย์สั่ง ทาให้กลับมามีอาการอีก
แนะผู้บังคับบัญชาใส่ใจปัญหาสุขภาพจิต ป้องกันตำรวจฆ่าตัวตาย
ในด้านข้อเสนอแนะของโครงการฯ มีดังนี้
1. ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าหน่วยทุกระดับ โดยเฉพาะผู้บังคับบัญชาระดับบริหารที่สามารถขับเคลื่อนการให้ความช่วยเหลือได้อย่างต่อเนื่อง ควรเข้ารับการอบรมความรู้ และมีทักษะในการป้องกันแก้ไขปัญหาข้าราชการตำรวจกระทำอัตวินิบาตกรรมเพื่อเข้าใจปัญหาของผู้ใต้บังคับบัญชา หาแนวทางแก้ไขร่วมกัน และสามารถกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างเหมาะสม
2. ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าหน่วยทุกระดับ ควรหมั่นสังเกต สอดส่องดูแล และให้ความช่วยเหลือผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิดและเหมาะสม รวมถึงมอบหมายงาน ให้ตรงกับศักยภาพ
3. ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าหน่วยทุกระดับ ควรให้การสนับสนุน ติดตามการรักษาให้สามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์สั่ง ไม่หยุดยาเอง
อนึ่ง 'โครงการประเมินและสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตข้าราชการตำรวจ' จัดขึ้นเพื่อดูแลข้าราชการตำรวจให้มีสุขภาพจิตที่ดีและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
สถิติชี้ตำรวจไทยมีอัตรา 'ฆ่าตัวตาย' สูงกว่าคนทั่วไป 2 เท่า-ดัน สตช.เร่งแก้ไข
กรมสุขภาพจิตชี้ 'ตำรวจ' เสี่ยงฆ่าตัวตายสูง เหตุเจอคดีสะเทือนขวัญบ่อย
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ