เปิด 6 ประเด็นที่ควรอยู่บนโต๊ะพูดคุยสันติภาพ

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) 5 ม.ค. 2567 | อ่านแล้ว 19305 ครั้ง


ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
 
ตามที่วันที่ (4 มกราคม 2567) นายฉัตรชัย บางชวด หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ และคณะฯ ลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หารือการขับเคลื่อนงานด้านการพูดคุยเพื่อสันติสุข ร่วมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ คณะสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม วิทยาเขตปัตตานี คณะทำงาน สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ ตัวแทนภาคประชาสังคมในพื้นที่นั้น 
 
ทั้งนี้ นายฉัตรชัย บางชวด หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า รัฐบาลได้มอบหมายให้ทางคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่องและนำบทเรียนที่ผ่านมาแก้ไขปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำในอนาคต ซึ่งการพูดคุยเพื่อสันติสุขมีความจริงจัง จริงใจ ตั้งใจให้เกิดความสำเร็จให้เกิดรูปธรรม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สานต่อสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ต่อเนื่องที่ทุกฝ่ายได้ทำมาโดยมีระบบ มีระเบียบ มีการสานต่อแผนที่มีการยอมรับและให้ความสำคัญทั้งรัฐไทยและผู้เห็นต่าง โดยข้อมูลการวิจัยในครั้งนี้ เป็นประโยชน์อาจจะมีข้อมูลใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งเป้าหมายและความคาดหวังคือคืนความเป็นปกติในพื้นที่ภายในปี 2567 ซึ่งต้องเป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วน หลังจากนี้กระบวนการที่ต้องทำตามแผนใน ปี 2567-2568 ต้องอาศัยทุกภาคส่วนมาช่วยกัน ภายใต้ในแผนคือ การลดความรุนแรงสร้างบรรยากาศการพูดคุยสันติสุข และการมีส่วนร่วมของของทุกภาคส่วน รวมถึงแสวงหาทางออกทางการเมือง ด้วยกระบวนการต้องมีความต่อเนื่อง และนำแผนไปปฏิบัติจริง รวมถึงติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ทางคณะฯ พร้อมที่จะรับฟังทุกภาคส่วนเป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อคืนความสันติสุขโดยเร็ว
 
อย่างไรก็ตาม คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเดินหน้าขับเคลื่อนการพูดคุยฯ รวมทั้งประสานงาน และแสวงหาความร่วมมือจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ภายใต้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บนพื้นฐานของความจริงใจ สมัครใจ และให้เกียรติ เพื่อให้ปัญหาความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการแก้ไขจนเกิดความสงบ และสันติสุขอย่างยั่งยืน ประชาชนในพื้นที่มีความปลอดภัยทั้งในชีวิต และทรัพย์สิน อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม
 
สำหรับผู้เขียนขอเสนอ 6 ประเด็นควรอยู่บนโต๊ะพูดคุยสันติภาพส่วน “การปรึกษาหารือกับประชาชนในพื้นที่”เสนอองค์กรกลางที่น่าเชื่อถือจัด
สำหรับข้อเสนอ 6 ประเด็น ประกอบด้วย
 
- ลดความรุนแรง เสนอพื้นที่ปลอดภัยสาธารณะสานต่อรอมฎอนสันติ (สารัตถะที่1) (เร่งปกป้องพลเรือนจากความรุนแรงและการละเมิดสิทธิ์)พร้อม ตั้งหน่วยงานกลางที่ได้รับความไว้วางใจ เพื่อเป็นกลไกพิสูจน์ ข้อเท็จจริงเหตุรุนแรง
-การแก้ปัญหาปากท้องและยาเสพติด (ปรึกษาสาธารณะ)
-การศึกษาที่มีคุณภาพสอดคล้องกับพื้นที่(ปรึกษาสาธารณะ)
-การปกครองที่สอดคล้องกับพื้นที่ (แสวงหาทางออกทางการเมือง)
-พัฒนาพื้นที่บนฐานศักยภาพชุมชน (ปรึกษาสาธารณะ)
-เปิดพื้นที่ปลอดภัยทางการเมือง (เปิดพื้นที่ให้คนได้ถกเถียงเรื่องอ่อนไหวทางการเมืองโดยไม่ถูก คุกคามจากทุกฝ่าย)(แสวงหาทางออกทางการเมือง)
 
สำหรับ 6 ประเด็น สามารถลงรายละเอียดใน 3 ประเด็นสารัตถะ ที่รัฐกับขบวนการเห็นต่างได้ตกลงไว้ก่อนหน้านี้ประกอบด้วย 1.ลดความรุนแรง 2.การปรึกษาหารือกับประชาชนในพื้นที่ และ 3.แสวงหาทางออกทางการเมือง"
 
ในขณะที่ 6 ประเด็นนี้ ก็อยู่ในข้อเสนอแนะที่ผ่านจากงานวิชาการที่เรียกว่า Peace Survey (อ่านย้อนหลังได้ใน https://peaceresourcecollaborative.org/wp-content/uploads/2019/11/peace_survey_recommendation_2019_th.pdf)
 
ส่วน “การปรึกษาหารือกับประชาชนในพื้นที่” ซึ่งศัพท์ทางการใช้คำว่า การปรึกษาหารือสาธารณะ (Public Consultation) เสนอองค์กรกลางที่น่าเชื่อถือจัด อาจจะเป็นสถาบันทางวิชาการร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม คล้ายๆ องค์กรที่จัด Peace Survey
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: