เครือข่ายองค์กรประชากรข้ามชาติ (MWG) สรุปสถานการณ์ที่เป็นประเด็นถกเถียงในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ
วันที่ 4 กันยายน 2567 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีคำสั่งจากประกาศให้ปิดศูนย์การเรียนมิตตาเย๊ะ บางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี อ้างถึงว่าไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 และจะมีการดำเนินคดีตามกฎหมาย ทั้งนี้คาดว่าคำสั่งดังกล่าวสืบเนื่องมาจากการเผยแพร่คลิปสั้นที่มีการร้องเพลงชาติพม่าในศูนย์การเรียนจนเกิดกระแสในสื่อสังคมออนไลน์
วันที่ 6 กันยายน 2567 MWG ส่งหนังสือถึง รมต ศึกษาธิการ ถึงความกังวลใจต่อการมีคำสั่งปิดศูนย์การเรียนรู้และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะสั้นและระยะกลางทั้งนี้ยืนยันสิทธิในการเข้าถึงการศึกษาของเด็กทุกคนตาม รธน.และอนุสัญญาสากล ปฎิญญาอาเซียน
วันที่ 8 กันยายน 2567 หลังจากที่ MWG เผยแพร่หนังสือข้างต้นผ่านโซเชี่ยลมีเดีย Facebook มีคนมีแสดงความเห็นจำนวนมากส่วนใหญ่มีความเห็นในลักษณะที่ไม่เห็นด้วยในเรื่องการส่งเสริมสิทธิด้านการศึกษาให้เด็กข้ามชาติ และพบคอนเท้นท์ในสื่อสังคมออนไลน์ทั้ง X Facebook TikTok อันมีเนื้อหาแสดงความไม่เห็นด้วยเรื่องการจัดการศึกษาให้เด็กข้ามชาติ
วันที่ 9 กันยายน 2567 MWG ส่งหนังสือถึง Tik Tok แสดงความกังวลเรื่องคอนเท้นที่เสี่ยงต่อการสร้างความเกลียดชังและการเลือกปฎิบัติ ซึ่ง TikTok ตอบกลับและมีมาตรการเบื้องต้นคือแนะนำวิธีการการรายงานคอนเท้นที่ไม่เหมาะสม ตามนโยบาย TikTok, we do not allow any hate speech, hateful behavior, or promotion of hateful ideologies.
ซึ่งผู้พบเห็นเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมสามารถรายงานตามขั้นตอนดังนี้
- Have not made your FIRST report to the TSET yet? Please refer to the guide below and attachments to make the report.
- (Login Page) Login as an APPROVED TIKTOK PARTNER (3rd category) with your organization's whitelisted email to TSET https://safety-enforcement.tiktok.com/login?redirect_to=/
- (Main Page) Click the 'Create request' button
- (Report Page) Please fill in relevant content and click 'submit'
- 4.(Main Page) You can check the status of your submission and results by clicking each report you have made (โปรดดูคู่มือที่แนบมาพร้อมกันนี้)
ทั้งนี้ MWG จะนัดหารือกับ TikTok เพื่อกำหนดมาตรป้องกันหรือเฝ้าระวังเนื้อหาที่น่ากังวลภายใต้การเคารพในสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนร่วมกันต่อไป
วันที่ 10 กันยายน 2567 MWG หารือกับองค์กร Chang Fusion ที่ทำงานประเด็นความปลอดภัยบนสื่อสังคมออนไลน์ ให้ข้อชี้แนะว่า มีเครื่องมือที่จะสามารถดักจับถ้อยคำที่เรากังวลชื่อ ZocialEye เป็นเครื่องมือที่สามารถจำแนกคำ ประเภทประโยค กำหนดช่วงเวลาในเฟลตฟอร์มสาธารณะได้ซึ่งจะสามารถนำข้อมูล (date Science) ไปวิเคราะห์เพื่อออกแบบมาตรการทางเทคโนโลยีได้แต่ใช้งบประมาณสูง มีตัวอย่างความสำเร็จในพม่าที่มีการใช้ถ้วยความสร้างความเกลียดชังทางศาสนาที่นำไปสู่การก่ออาชญกรรมร้ายแรง เพื่อพบข้อมูลจากการเก็บข้อมูล date science gเหล่านี้ก็นำไปเสนอให้เจ้าของเพลตฟอร์มเพื่อปิดกั้นข้อมูลเหล่านั้น เป็นต้น
ในเบื้องต้น MWG สามารถเก็บข้อมูลแบบแมนนวลในรูปแบบ “คลังคำ” แยกเป็นมิติต่างๆ เช่น คลังคำที่สร้างความเกลียดชัง คลังคำที่เป็นข้อมูลบิดเบือน คลังคำข้อมูลเท็จ แล้วนำคลังคำเหล่านี้ไปค้นหาในเพลตฟอร์มสังคมออนไลน์สาธารณะอื่นๆมารวบรวมเป็นฐานข้อมูลที่มีรายละเอียดต่างๆ เช่น URL ข้อมูล engagement เพื่อนำไปทำ Policy Advocacy ต่อไป รวมถึงการประสานงานกับเครือข่าย Co-fact ซึ่งเป็นเครือข่ายออนไลน์ทำงานประเด็นความปลอดภัยบนสื่อสังคมออนไลน์ทั้งในและต่างประเทศ(มีคุณสุภิญญา กล้าณรงค์ เป็นผู้ประสานงานประเทศไทย) เพื่อหาแนวทางการทำงานร่วมกันต่อไป
หมายเหตุ
คอนเท้นที่มีเนื้อหาที่มีความกังวลว่าจะนำไปสู่ความเกลียดชังหรือการเลือกปฎิบัติเหล่านี้แม้อาจจะไม่เคยมีเหตุการณ์ที่นำไปสู่การก่อความรุนแรงเชิงกายภาพหรือก่ออาชญกรรมที่ชัดเจน แต่มีการแสดงออกที่เป็นรูปธรรมในเชิงโครงสร้างหรือนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้เปราะบางอย่างรุนแรง เช่น นโยบายการกวาดจับแรงงานข้ามชาติ การปิดศูนย์การเรียน การผลักดันกลับเผจญภัยประหัตประหารในประเทศต้นทาง เป็นต้น
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ