ผู้เชี่ยวชาญเผย 'การขนส่งปศุสัตว์' เป็นปัจจัยสำคัญในการแพร่กระจายของโรคร้าย

กองบรรณาธิการ TCIJ 15 ก.ค. 2567 | อ่านแล้ว 16681 ครั้ง

ผู้เชี่ยวชาญเผย 'การขนส่งปศุสัตว์' เป็นปัจจัยสำคัญในการแพร่กระจายของโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง และอาจทำให้เกิดโรคระบาดใหญ่ได้ การขนส่งปศุสัตว์คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้การระบาดของไวรัสที่ร้ายแรงอย่างไข้หวัดนกแพร่กระจายได้รวดเร็วขึ้น

เมื่อช่วงเดือน ก.ค. 2567 ซิเนอร์เจีย แอนนิมอล รายงานว่าการขนส่งปศุสัตว์กลายเป็นประเด็นสำคัญ หลังจากบทความล่าสุดจาก The New York Times ที่ชูประเด็นเรื่องการขนส่งปศุสัตว์ว่า เป็นปัจจัยสำคัญในการแพร่กระจายของโรคที่มีอัตรา การเสียชีวิตสูง และอาจทำให้เกิดโรคระบาดใหญ่ได้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจาก Colorado State University, Harvard Law School, University College London และ City University of Hong Kong ออกมาอธิบายให้เห็นถึงความ เชื่อมโยงระหว่างการขนส่งปศุสัตว์และการระบาดของเชื้อ H5N1 ในวัวที่สหรัฐอเมริกา

“การเกษตรสมัยใหม่ในปัจจุบันลดคุณภาพความเป็นอยู่ของสัตว์ และกระบวนการขนส่งปศุสัตว์ก็มักมีการขังสัตว์ ในพื้นที่ที่แคบและไม่มีการระบายอากาศที่ดี ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแพร่กระจายของโรค” ชิสากัญญ์ อารีพิพัฒน์ ผู้จัดการฝ่ายการสื่อสาร ของซิเนอร์เจีย แอนนิมอล ประเทศไทย กล่าว

การระบาดของไข้หวัดนกในโคนมที่สหรัฐอเมริกา

ตั้งแต่เดือนมีนาคม ได้รับการยืนยันแล้วว่ามีการระบาดของไข้หวัดนก H5N1 ในฟาร์มโคนม 51 แห่งทั่ว 9 รัฐของ สหรัฐอเมริกา และมีคนงานในฟาร์มติดเชื้อไวรัสนี้ด้วยอย่างน้อยหนึ่งคน การระบาดครั้งนี้มีต้นตอจากการแพร่เชื้อ จากนกป่ามายังวัวในรัฐเท็กซัสเมื่อปีที่ผ่านมา และภายในเวลาไม่นานไวรัสก็ได้แพร่กระจายไปไกลถึงฟาร์มใน ไอดาโฮ นอร์ทแคโรไลนา และมิชิแกน  นี่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการแพร่กระจายของโรคผ่านการขนส่ง ปศุสัตว์

องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่ามีคนติดเชื้อไวรัส H5N1 กว่า 800 คนในระหว่างปี 2003 ถึง 2024 และมีอัตรา การเสียชีวิตมากถึงร้อยละ 50 “เราต้องเร่งดำเนินการอย่างจริงจังเรื่องสุขภาพสัตว์และสุขภาพมนุษย์ เพื่อลดการ ระบาดของไวรัสอันตรายอย่าง H5N1 การควบคุมการระบาดไม่ใช่เรื่องที่สามารถจัดการได้ง่าย เราจึงต้องเน้นการ ป้องกันก่อนที่จะสายเกินไปค่ะ” ชิสากัญญ์กล่าว

ความเสี่ยงของการทำฟาร์มอุตสาหกรรม

การทำฟาร์มอุตสาหกรรมมีกระบวนการผลิตที่ค่อนข้างเป็นลักษณะเฉพาะเช่น การผสมพันธุ์หรือการขุนเลี้ยงก่อนจะ ส่งสัตว์ไปยังที่อื่นๆ และในขั้นตอนการขนส่งสัตว์นี้เองที่เพิ่มความเสี่ยงในการระบาดของโรค จากการศึกษาที่ ดำเนินการโดย USDA นักวิจัยพบว่าร้อยละ 12 ของไก่ที่ถูกฆ่าตายในฟาร์มมีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย Campylobacter ซึ่งเป็นสาเหตุของการป่วยจากอาหารเป็นพิษที่พบได้บ่อย และหลังจากมีการขนส่งสัตว์แล้ว ตัวเลขก็พุ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 56

รายงานหลายชิ้นเผยว่าการขนส่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของสัตว์เป็นอย่างมาก เช่น ระบบภูมิคุ้มที่แย่ลงในวัว ซึ่งทำให้วัวเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางระบบทางเดินหายใจได้ง่ายขึ้น และที่น่ากังวลไปกว่านั้นคือการระบาดของโรค ในหมู เนื่องจากหมูสามารถติดเชื้อไข้หวัดหลายชนิดได้พร้อมกัน ทำให้ไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ สามารถแลกเปลี่ยน พันธุกรรมและสร้างไวรัสสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาได้

นอกจากนี้ปศุสัตว์ยังสามารถแพร่เชื้อโรคตามเส้นทางการขนส่งได้ ซึ่งยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อมนุษย์ การศึกษาของ นักวิจัยจาก Johns Hopkins และ Baltimore พบว่าแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคและสายพันธุ์ที่ดื้อยา ปฏิชีวนะสามารถแพร่จากรถบรรทุกสัตว์ปีกคันหน้าไปยังรถคันหลัง รวมทั้งสัตว์ที่ติดเชื้อยังสามารถแพร่เชื้อไปยัง สถานที่ปลายทางได้อีก เช่น ตลาดค้าประมูลสัตว์ ซึ่งมักมีสัตว์แก่ เจ็บป่วย หรือสัตว์ที่ไม่เป็นที่ต้องการอยู่รวมกัน เป็นจำนวนมาก

ในระดับการขนส่งทั่วโลก การค้าหมูระหว่างประเทศมีส่วนทำให้เกิดไวรัสไข้หวัดหมูสายพันธุ์ใหม่ที่รุนแรงกว่าเดิม ซึ่งถือว่าเป็นโรคระบาดแรกของศตวรรษที่ 21 ที่คร่าชีวิตผู้คนนับแสน การค้าหมูทั่วโลกแบบนี้ยังก่อให้เกิดการแพร่ กระจายของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตราย เช่น Streptococcus suis ที่สามารถส่งผลกระทบต่อหมูและมนุษย์

“ผู้บริโภคควรใส่ใจว่าสัตว์ถูกเลี้ยงและขนส่งอย่างไรค่ะ ไม่เพียงเพราะพวกเขาเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก และ สามารถทุกข์ทรมานได้ แต่ยังเพราะสุขภาพและความเป็นอยู่ของพวกเขา มีผลกระทบต่อความปลอดภัยของเราทุกคน โรคติดต่อในสัตว์หลายชนิด เช่น ไข้หวัดนกเป็น ‘โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน’ และการระบาดอย่างต่อเนื่องในสัตว์ ก็ยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะได้รับเชื้อจากสัตว์โดยตรง หรือจากผลิตภัณฑ์อาหารที่ถูกปนเปื้อนและนั่น ทำให้เชื้อมีโอกาสพัฒนามากขึ้นค่ะ” ชิสากัญญ์กล่าว

เรียกร้องให้ปรับปรุงมาตรการควบคุมการขนส่งสัตว์และลดการทำฟาร์มอุตสาหกรรม

แม้เราจะทราบดีว่าการขนส่งเป็นต้นตอสำคัญในการแพร่กระจายเชื้อโรค แต่ก็ยังไม่มีมาตรการควบคุมที่ชัดเจนออกมา กฎหมายที่ล้าสมัยและการบังคับใช้อย่างไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลกลาง แสดงให้เห็นว่าการปฏิรูป กฏระเบียบการขนส่งปศุสัตว์ในสหรัฐฯ มีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งประเทศในยุโรปก็เป็นตัวอย่างและเป็นผู้นำในการ กำหนดกฎระเบียบที่ดีขึ้น และสร้างมาตรฐานระดับสากลขึ้นมาแล้ว เช่น การบังคับใช้ระบบติดตามปศุสัตว์

ประเทศในกลุ่ม Global South เช่น ประเทศไทย ก็ไม่แตกต่าง เรายังขาดกฎระเบียบที่เข้มงวดและความสามารถ ในการควบคุมและตรวจสอบสภาพการขนส่งปศุสัตว์ “ประเทศไทยควรพิจารณาตั้งกฎระเบียบที่มีมาตรฐานสากลและมีการบังคับใช้อย่างเร่งด่วนค่ะ เช่น ลดระยะเวลาและจำนวนสัตว์สูงสุดในการขนส่งแต่ละครั้ง ปรับปรุงระบบการ บันทึกข้อมูลมีการติดตามที่แม่นยำ เป็นต้น แน่นอนว่าการปฏิรูปกฏหมายเป็นสิ่งจำเป็น แต่เรายังมีปัญหาที่ใหญ่ กว่านั้นรออยู่ โดยภาพรวมฟาร์มอุตสาหกรรมจะยังเป็นภัยคุกคามต่อสาธารณสุข และสวัสดิภาพสัตว์ไปตลอด และนั่นยิ่งเน้นให้เห็นถึง ความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารในโลกให้พึ่งพา โปรตีนจากสัตว์น้อยลง” ชิสากัญญ์กล่าวสรุป

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: