สองภาพ สองวัฒนธรรม “ชุดมลายูกับสงกรานต์”

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) 24 เม.ย. 2567 | อ่านแล้ว 17304 ครั้ง


ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

13 เมษายน 2567 ได้เห็นภาพ นายกรัฐมนตรี ผู้นำฝ่ายค้านและนักการเมืองระดับประเทศหลายคนร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ในขณะที่นักการเมืองมุสลิมชายแดนใต้ ร่วมงาน มลายูรายา ที่ชายแดนใต้ที่ภาคประชาชนในพื้นที่จัดได้อย่างยิ่งใหญ่อลังการโดยไม่ใช้งบประมาณรัฐเเม้แต่บาทเดียวเดียว ซึ่งสามารถสะท้อน “ความสวยงามทางวัฒนธรรมแม้จะเเตกต่าง” อีกทั้งสื่อส่วนกลางหลายช่องก็ร่วมร่วมรายงานข่าว อย่างคึกคัก ดังที่สถาบันข่าวอิสรารายงานว่า 
 
“ในขณะที่ประชาชนในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยเล่นสาดน้ำสงกรานต์อย่างสนุกสนาน
 
นั้นสมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (CAP) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนได้กิจกรรม Melayu Raya 2024 ได้จัดกิจกรรมแต่งชุดมลายูที่หาดวาสุกรี ต.ตะลุบัน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ซึ่งปีนี้จัดเป็นปีที่ 3 ต่อเนื่องกันแล้วโดยกิจกรรมเริ่มขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 13 เม.ย.67 ตรงกับวันสงกรานต์พอดี ซึ่งจริงๆ แล้วกิจกรรมนี้จัดขึ้นช่วงต่อเนื่องจากเทศกาลฮารีรายอ หลังสิ้นสุดเดือนรอมฎอนของพี่น้องมุสลิม”
 
สำหรับการจัดกิจกรรมรวมตัวกันแต่งกายด้วยชุดมลายูครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 โดยแยกเป็นสองวันกล่าวคือ วันที่ 13 เมษายน เฉพาะผู้ชาย และ 14 เมษายน เฉพาะ ผู้หญิง
 
“การแต่งกายชุดมลายูต้องไม่ใช่วัฒนธรรมที่ถูกแช่แข็ง” คือสิ่งที่ผู้จัดงาน Melayu Raya 2024 เน้นย้ำ เพราะไม่เพียงสร้างพื้นที่กลางจนทำให้งานนี้ กลายเป็นหมุดหมายสำคัญประจำปี สำหรับเยาวชน คนรุ่นใหม่ และผู้คนในพื้นที่ชายแดนใต้ได้รวมตัวแต่ง #ชุดมลายู มาพบปะกัน เพื่อแสดงออกถึงอัตลักษณ์เท่านั้น อีกสิ่งสำคัญคือ ความคาดหวังทำให้ชุดมลายู ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน และ ทำให้ผู้คนต่างศาสนา ต่างวัฒนธรรม ได้ทำความรู้จัก และสวมใส่ชุดมลายูอย่างเปิดใจ ไร้อคติ ความกลัว”
 
ในขณะที่เยาวชนสตรี ที่ร่วมกิจกรรม ในวันที่ 14 เมษายน นั้นสะท้อนว่า “มันเป็นการเปิดพื้นที่แสดง พลังของ #สตรีมุสลิม ทุกระดับ ทุกวัย ทุกชนชั้นในพื้นที่ชายแดนใต้ สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลาย แต่มีจุดร่วมเดียวกันคือความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ มลายูปาตานี /ชายแดนภาคใต้ทั้งยังเชื่อว่าการแสดงพลังของสตรีมุสลิม จะมีส่วนสำคัญที่ทำให้สังคมได้เห็นว่า พวกเธอสามารถสร้างความหวังให้กับอนาคต #สันติภาพ พื้นที่ชายแดนใต้ได้เช่นกัน” นอกจากนี้ช่วงท้ายมีการร่วมขอพรเพื่อมนุษยธรรมให้กับชาวปาเลสไตน์ที่สูญเสีย และได้รับผลกระทบจากสงคราม ภายใต้หัวข้อ “BUKA PATANI DOA PALESTINE” (เปิดบ้านปาตานีดูอาสู่ปาเลสไตน์)
 
“ความเป็นจริงการแสดงออกชูธง ปาเลสไตน์มิใช่ ในประเทศไทย หรือชายแดนใต้ เท่านั้นในยุโรป แม้แต่นักเตะชื่อดังหลายคนก็ทำเช่น เอริค คันโตนาอดีตจอมทัพผู้ยิ่งใหญ่ของ "ปีศาจแดง" แมนเชสเตอร์ ยูในเต็ด เคยกล่าวว่า " การปกป้องชาวปาเลสไตน์ ไม่ใช่การสนับสนุนฮามาส แต่คือปลดปล่อยพวกเขาจากอำนาจของอิสราเอล ที่ยึดครองสิทธิของพวกนาน 75 ปีปล่อยพวกเขา ออกจากคุกเปิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก " (อ้างอิงจากเพจ THAIRATH SPORT) นอกจากนี้ยังมีแฟนฟุตบอลในสนามก็ทำ ผู้คนตามท้องถนนในเมืองใหญ่ๆเช่นลอนดอนประเทศอังกฤษที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
 
ดร.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ “การแสดงออกของมุสลิมชายแดนใต้หรือไทยในกรณีสงครามปาเลสไตน์ในช่วงนี้มันเป็นเพียงปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อภาพความโหดร้ายที่ปรากฎตามสื่อต่าง​ ๆ​ ที่อิสราเอลกระทำต่อพลเรือน​ เด็ก​ ผู้หญิงและคนชราในฉนวนกาซา​ การแสดงออกเหล่านี้เป็นธรรมชาติของคนที่มีคุณธรรมและมนุษยธรรมในหัวใจ​…ขอให้เข้าใจว่าทุกคนที่แสดงออกว่าสนับสนุนปาเลสไตน์​ พวกเขาก็รักประเทศไทยเหมือนที่ท่านรัก​ จึงไม่มีวันที่จะทำให้ประเทศไทยเสียหายด้วยการแสดงออกเหล่านี้ที่สำคัญประเทศไทยควรเป็นที่รู้จักว่าค้ำจุนความเป็นธรรม​ เคารพความเป็นมนุษย์และไม่ฝักใฝ่ฆาตกรสงครามกระหายเลือด”
 
 
บทเรียนหน่วยความมั่นคง ประเด็นชุดมลายูและโอกาสทางเศรษฐกิจของรัฐบาลเศรษฐา
 
เเม้กิจกรรมนี้ในปีก่อนหน้า คือปี 65 จะมีการดำเนินคดีกับแกนนำเยาวชน 9 คน โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ก็ตาม แต่มีการทำความเข้าใจตรงกันแล้วว่า ฝ่ายความมั่นคงไม่ได้ห้ามจัดกิจกรรม ส่วนการดำเนินคดีเป็นเพราะในปีนั้นมีการโบกธงบีอาร์เอ็น และปราศรัยในลักษณะยุยงปลุกปั่น การจัดกิจกรรมในปีนี้ ผู้จัดงานจึงประสานกับฝ่ายความมั่นคงล่วงหน้า และมีการจัดสมาชิกคอยสังเกตการณ์หน้างาน เพื่อกลั่นกรอง เเจ้งกฎข้อห้าม เเละขอความร่วมมือผู้ร่วมงานระมัดระวังในเรื่องที่อาจสุ่มเสี่ยงกระทำผิดกฎหมายอย่างเข้มงวด รวมถึงห้ามนำอาวุธเข้าไปในบริเวณที่จัดกิจกรรมด้วย โดยหลังจากจัดกิจกรรม กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้ออกแถลงการณ์ขอบคุณทีมงานผู้จัด และกลุ่มเยาวชนที่ไปร่วมกิจกรรม ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ละเมิดกติกา กิจกรรมจึงเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ราบรื่น พร้อมย้ำว่า กอ.รมน.สนับสนุนเรื่องการอำนวยความสะดวก ทั้งการจราจร การบริการทางการแพทย์ อาหารและเครื่องดื่ม ตลอดจนตรวจตราสถานที่เพื่อความปลอดภัย
 
นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจของรัฐบาลพลเรือนนายเศรษฐา ทวีสิน หากสามารถส่งเสริมอนุรักษ์ผ้าท้องถิ่นมลายู คล้ายๆกับเทศกาลสงกรานต์( Soft Power ) จากคุณค่าสร้างสู่มูลค่าได้อย่างเป็นระบบ อย่างไรก็แล้วแต่มลายูมิใช่มีแต่เสื้อผ้ามันยังมี อาหาร ภาษาและอื่นๆผ่านวิถีชีวิต ผู้คน และมิใช่หยุดนิ่งแต่มันพลวัตรปรับปรนตามยุคสมัย อีกทั้งมันยังมีในพื้นที่อื่นๆทั้งฝั่งอันดามันและลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งภาคประชาชนจัดขึ้นเช่นกันหลายครั้ง
 
“มุสลิมภาคกลางร่วมทุกภาคส่วน “จัดงานลูกหลานมลายูลุ่มน้ำเจ้าพระยา”อย่างยิ่งใหญ่ ชูSoft Power” (อ่านเพิ่มเติมใน จุดประกาศวิถีชุมชน อาเนาะมลายู ลุ่มน้ำเจ้าพระยากว่า 200 ปี )
 
ในขณะที่วิถีมลายูฝั่งอันดามัน นั้น ดร.รุชดี เถาว์กลอย นักวิชาการชาวกระบี่กล่าว่า “จังหวัดไกล้เคียง (กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี) ในขณะที่ การแต่งตัว ศาสนา วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ชื่อของสถานที่ต่างๆ รวมถึงภาษาถิ่นที่ใช้ในการพูดของคนในพื้นที่ยังมีความเป็นมลายูปะปนอยู่ทั้งสิ้น”
 
 
หมายเหตุชมประมวลภาพใน
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: