ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
วันอาทิตย์ที่ 12 -13 พฤษภาคม 2567 ณ โรงแรมซีเอส ปัตตานีซึ่งผู้เขียนมีโอกาส ร่วมเวทีสาธารณะและแสดงนิทรรศการ “เพื่อนรักต่างศาสนาเพื่อสันติภาพสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมี 4 ชุมชนตัวอย่างที่ผู้นำศาสนา ผู้หญิง เด็ก ครู ผู้ปกครองและชุมชนในนามเครือข่ายเพื่อนรักต่างศาสนาซึ่งตระหนักในการลุกขึ้นมาเอาจริงเอาจังกับการสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนและครบวงจรจากชุมชนของตนเองโดยใช้แนวคิดหลักศาสนธรรม โดยเฉพาะ “พุทธ-อิสลาม”กับการพการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG2 ของสหประชาชาติโดยจะใช้ศักยภาพชุมชนฐานรากอันอันเป็นปัจจัยเอื้อสำคัญต่อกระบวนการสันติภาพที่กำลังดำเนินการอยู่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และหัวหน้าโครงการเพื่อนรักต่างศาสนากับการถักทอสันติภาพอย่างยั่งยืนจากชุมชนฐานราก จัดเวทีสาธารณะ แสดงผลงานของชุมชนเพื่อนรักต่างศาสนาเพื่อสันติภาพ โครงการนำร่องทั้ง 4 พื้นที่ใน 4 จังหวัด นำร่องใน อ.จะนะ จ.สงขลา อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี อ.เมือง จ.ยะลา และ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ซึ่งโครงการ “เพื่อนรักต่างศาสนากับการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนจากชุมชนฐานราก” นี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล ในโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม ประจำปีงบประมาณ 2566 (Policy Advocacy 2023) กิจกรรมนี้จัดขึ้นในวันที่ 12 – 13 พฤษภาคม 2567
ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2567 นางสาวเยาวภา อินชะนะ ผู้ช่วยเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ร่วมกล่าวเปิดงาน โดยมี ดร.วัชรฤทัย บุญธินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “สันติภาพและความเป็นธรรมจากชุมชนฐานรากสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ภก.ดร.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมมอบข้อเสนอเชิงนโยบายต่อผู้แทนคณะกรรมาธิการสันติภาพ เลขาธิการ ศอบต. แม่ทัพภาค 4 ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัด และประธานกรรมการอิสลามจังหวัด ณ ห้องน้ำพราว ห้องจะบังติกอ โรงแรมซีเอส ปัตตานี
วันที่ 13 พฤษภาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.โคทม อารียา อดีตคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ที่ปรึกษาสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และที่ปรึกษาโครงการเพื่อนรักต่างศาสนาฯ ร่วมกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “มิตรภาพ” หัวใจแห่งสันติภาพที่ยั่งยืนชายแดนใต้” และรองศาสตราจารย์ ภก.ดร.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวปัจฉิมกถา “ภูมิปัญญามหิดลกับการสร้างสันติภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน” ณ ห้องจะบังติกอ โรงแรมซีเอส ปัตตานี
ภายในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการในหัวข้อ “จะนะโมเดล: เพื่อนรักต่างศาสนาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อสันติภาพ” “เพื่อนรักปานาแระ” “ชุมทางทุ่งคา: เพื่อนรักต่างศาสนาเพื่อสันติภาพ” และ “ยุโป: มิตรภาพและสันติภาพยั่งยืน"
วันอาทิตย์ที่ 12 -13 พฤษภาคม 2567 ณ โรงแรมซีเอส ปัตตานีซึ่งผู้เขียนมีโอกาส ร่วมเวทีสาธารณะและแสดงนิทรรศการ “เพื่อนรักต่างศาสนาเพื่อสันติภาพสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมี 4 ชุมชนตัวอย่างที่ผู้นำศาสนา ผู้หญิง เด็ก ครู ผู้ปกครองและชุมชนในนามเครือข่ายเพื่อนรักต่างศาสนาซึ่งตระหนักในการลุกขึ้นมาเอาจริงเอาจังกับการสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนและครบวงจรจากชุมชนของตนเองโดยใช้แนวคิดหลักศาสนธรรม โดยเฉพาะ “พุทธ-อิสลาม”กับการพการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG2 ของสหประชาชาติโดยจะใช้ศักยภาพชุมชนฐานรากอันอันเป็นปัจจัยเอื้อสำคัญต่อกระบวนการสันติภาพที่กำลังดำเนินการอยู่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และหัวหน้าโครงการเพื่อนรักต่างศาสนากับการถักทอสันติภาพอย่างยั่งยืนจากชุมชนฐานราก จัดเวทีสาธารณะ แสดงผลงานของชุมชนเพื่อนรักต่างศาสนาเพื่อสันติภาพ โครงการนำร่องทั้ง 4 พื้นที่ใน 4 จังหวัด นำร่องใน อ.จะนะ จ.สงขลา อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี อ.เมือง จ.ยะลา และ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ซึ่งโครงการ “เพื่อนรักต่างศาสนากับการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนจากชุมชนฐานราก” นี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล ในโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม ประจำปีงบประมาณ 2566 (Policy Advocacy 2023) กิจกรรมนี้จัดขึ้นในวันที่ 12 – 13 พฤษภาคม 2567
ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2567 นางสาวเยาวภา อินชะนะ ผู้ช่วยเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ร่วมกล่าวเปิดงาน โดยมี ดร.วัชรฤทัย บุญธินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “สันติภาพและความเป็นธรรมจากชุมชนฐานรากสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ภก.ดร.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมมอบข้อเสนอเชิงนโยบายต่อผู้แทนคณะกรรมาธิการสันติภาพ เลขาธิการ ศอบต. แม่ทัพภาค 4 ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัด และประธานกรรมการอิสลามจังหวัด ณ ห้องน้ำพราว ห้องจะบังติกอ โรงแรมซีเอส ปัตตานี
วันที่ 13 พฤษภาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.โคทม อารียา อดีตคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ที่ปรึกษาสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และที่ปรึกษาโครงการเพื่อนรักต่างศาสนาฯ ร่วมกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “มิตรภาพ” หัวใจแห่งสันติภาพที่ยั่งยืนชายแดนใต้” และรองศาสตราจารย์ ภก.ดร.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวปัจฉิมกถา “ภูมิปัญญามหิดลกับการสร้างสันติภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน” ณ ห้องจะบังติกอ โรงแรมซีเอส ปัตตานี
ภายในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการในหัวข้อ “จะนะโมเดล: เพื่อนรักต่างศาสนาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อสันติภาพ” “เพื่อนรักปานาแระ” “ชุมทางทุ่งคา: เพื่อนรักต่างศาสนาเพื่อสันติภาพ” และ “ยุโป: มิตรภาพและสันติภาพยั่งยืน"
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีความมุ่งหวังเพื่อขยายผลการขับเคลื่อนชี้นำนโยบายการสร้างสันติภาพและความปรองดองอย่างยั่งยืนบนฐานมิตรภาพและ สุขภาวะอย่างเป็นรูปธรรมและเพื่อจัดทำฐานข้อมูลโครงการนำเสนอข่าวสารที่หนุนเสริมการสร้างสันติภาพและความปรองดองอย่างยั่งยืนบนฐานมิตรภาพและสุขภาพจากชุมชนฐานรากชายแดนใต้
เครือข่ายเพื่อนรักต่างศาสนาเสนอ 5 ข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อสันติภาพที่อย่างจากชุมชนฐานราก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และหัวหน้าโครงการเพื่อนรักต่างศาสนากับการถักทอสันติภาพอย่างยั่งยืนจากชุมชนฐานราก ซึ่งจัดเวทีสาธารณะ แสดงผลงานของชุมชนเพื่อนรักต่างศาสนาเพื่อสันติภาพ โครงการนำร่องทั้ง 4 พื้นที่ใน 4 จังหวัด นำร่องใน อ.จะนะ จ.สงขลา อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี อ.เมือง จ.ยะลา และ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ซึ่งโครงการ “เพื่อนรักต่างศาสนากับการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนจากชุมชนฐานราก” นี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล ในโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม ประจำปีงบประมาณ 2566 (Policy Advocacy 2023) กิจกรรมนี้จัดขึ้นในวันที่ 12 – 13 พฤษภาคม 2567 ได้นำเสนอ
เสนอ 5 ข้อเสนอเชิงนโยบาย ดังนี้
ข้อเสนอที่ 1. พื้นที่ปลอดภัย และพื้นที่ปลอดอาวุธ: ขอให้รัฐและฝ่ายผู้เห็นต่างเร่งลดความรุนแรง เพิ่มพื้นที่ปลอดภัยและป้องกันการก่อเหตุอย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน เช่น ถนน ตลาดร้านค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจให้เกิดขึ้นในพื้นที่อย่างทั่วถึงและ สร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้ภาคประชาชนได้ใช้ชีวิตและดำเนินกิจกรรมร่วมกันอย่างปลอดภัยในสังคมพหลักษณ์ และทำให้พื้นที่ศาสนสถาน โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นเขตปลอดอาวุธ
เครือข่ายเพื่อนรักต่างศาสนาเสนอ 5 ข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อสันติภาพที่อย่างจากชุมชนฐานราก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และหัวหน้าโครงการเพื่อนรักต่างศาสนากับการถักทอสันติภาพอย่างยั่งยืนจากชุมชนฐานราก ซึ่งจัดเวทีสาธารณะ แสดงผลงานของชุมชนเพื่อนรักต่างศาสนาเพื่อสันติภาพ โครงการนำร่องทั้ง 4 พื้นที่ใน 4 จังหวัด นำร่องใน อ.จะนะ จ.สงขลา อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี อ.เมือง จ.ยะลา และ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ซึ่งโครงการ “เพื่อนรักต่างศาสนากับการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนจากชุมชนฐานราก” นี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล ในโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม ประจำปีงบประมาณ 2566 (Policy Advocacy 2023) กิจกรรมนี้จัดขึ้นในวันที่ 12 – 13 พฤษภาคม 2567 ได้นำเสนอ
เสนอ 5 ข้อเสนอเชิงนโยบาย ดังนี้
ข้อเสนอที่ 1. พื้นที่ปลอดภัย และพื้นที่ปลอดอาวุธ: ขอให้รัฐและฝ่ายผู้เห็นต่างเร่งลดความรุนแรง เพิ่มพื้นที่ปลอดภัยและป้องกันการก่อเหตุอย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน เช่น ถนน ตลาดร้านค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจให้เกิดขึ้นในพื้นที่อย่างทั่วถึงและ สร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้ภาคประชาชนได้ใช้ชีวิตและดำเนินกิจกรรมร่วมกันอย่างปลอดภัยในสังคมพหลักษณ์ และทำให้พื้นที่ศาสนสถาน โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นเขตปลอดอาวุธ
ข้อเสนอที่ 2. เพิ่มพื้นที่สาธารณะสร้างสรรค์สังคมพหลักษณ์: เพิ่มพื้นที่สาธารณะสร้างสรรค์สังคมพลักษณ์ที่เป็นกลางและปลอดภัยเพื่อให้สามารถฟื้นฟูความสัมพันธ์ทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้คนต่างศาสนา ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมในชายแดนใต้ เช่น พิพิธภัณฑ์บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ร่วมรากอันหลากหลายวัฒนธรรมประเพณีร่วมถิ่นของชุมชน สนามกีพาหรือพื้นที่เล่นร่วมกันของเด็กในชุมชน พื้นที่เรียนรู้และพัฒนาอาชีพร่วมกันในชุมชน โดยรัฐไม่ควรเข้าไปแทรกแซงหรือควบคุมให้เป็นแบบใดแบบหนึ่ง
ข้อเสนอที่ 3. กระจายอำนาจให้ภาคประชาชนออกแบบสังคมสันติสุขบนวิถีวัฒนธรรมชุมชน : กระจายอำนาจและการตัดสินใจให้ชุมชนพลักษณ์ได้ร่วมกันกำหนดทิศทางการพัฒนาอย่างสันติและยั่งยืนบนฐานความต้องการของชุมชนด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน โดยรัฐ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญชั้นสูงอย่างเป็นรูปธรรม
ข้อเสนอที่ 4. ยกระดับภูมิปัญญาชุมชนเป็น Soft Power: รัฐต้องสนับสนุนทุนให้ชุมชนกันหาและพัฒนาศักยภาพเพื่อสร้างความยั่งยืนบนฐานภูมิปัญญาทางสังคมวัฒนธรรมร่วมรากและฐานทรัพยากรชุมชนเพื่อยกระดับเป็น Soft Power ที่มีมูลค่าเพิ่ม เช่น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ร่วมราก การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาและสมุนไพรจากพืชพันธุ์อันหลากหลาย การฟื้นฟูระบบนิเวศของฐานทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เชิงประวัติศาสตร์ เชิงสุขภาพ
ข้อเสนอที่ 5. เพิ่มช่องทางการสื่อสารสร้างสรรค์อัตลักษณ์วัฒนธรรมชุมชนพลักษณ์: เพิ่มช่องทางการสื่อสารเรื่องราวการสร้างสันติภาพจากภูมิปัญญาของชุมชนที่แสดงให้เห็นวิถีวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันอย่างภาคภูมิใจในอัตลักษณ์อันหลากหลายของพื้นที่ชายแดนใต้
ความท้าทาย
สำหรับเพื่อนรักต่างศาสนานั้นใช้ แนวคิด หลักธรรมศาสนา ในส่วนมุสลิมที่นับถือศาสนาอิสลามนั้น จะใช้แนวคิด “رحمة للعالمين “ เมตตาต่อทุกสรรพสิ่งเป้าหมายของศาสนาอิสลามซึ่งพระเจ้าได้ส่งศาสนฑูตมุฮัมมัดเพื่อให้ความเมตตาต่อประชาชาติทั้งมวล ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด เชื้อชาติ สีผิวใดหรือเเม้กระทั่งสิงห์สาราสัตว์
บาบอฮุสนี บินหะยีคอเนาะผู้จัดการโรงเรียนศาสนบำรุงซึ่งโรงเรียนท่านร่วมโครงการนี้ด้วยสะท้อนว่า
“ผู้ร่วมผลักดันสันติภาพบนผืนแผ่นดินคือผู้นำคำสอนของอิสลามให้เป็นรูปธรรมเพราะแก่นแท้จิตวิญญาณอิสลามคือสันติภาพ”
ในขณะที่การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นจะใช้ศักยภาพชุมชนฐานรากโดยเฉพาะ ชุมชนจะนะ จังหวัดสงขลาด้วย 15 ยุทธศาสตร์จะนะยั่งยืน สอดคล้องทั้งหลักการสากล SDG2แต่ก็ถูกมองจากรัฐเป็นภัยความมั่นคงอีกทั้งถูกเหมารวมเป็นขบวนการแบ่งแยกดินแดนเพราะต่อต้านโครงการขนาดใหญ่ของรัฐที่ใช้วาทกรรมขวางพัฒนา
ดั่งที่ชาวจะนะ โดนซึ่งท้ายสุดคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(กสม.) ได้ออกแถลงข่าวแนะ ให้กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า หยุดการเผยแพร่สื่อที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนกลุ่มเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน https://detective-news.com/index2022/?p=56341) ผู้เขียนได้สะท้อนในเวทีเพื่อนรักต่างศาสนาครั้งนี้ว่า
“ในเชิงประจักษ์ ผลการจัดเวทีวันนี้นั้นสะท้อนว่า ในการพัฒนาที่จะนะนั้น เรื่องนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของจะนะแต่ควรทำทั่วโลก ทำจากฐานข้อมูลที่ชัดเจนจากชุมชนเป็นฐาน จากนั้นก็จะนำไปจับกับ การพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ SDGs แต่ละตัว เพื่อให้คนทั้งโลกมีสุขภาวะ สันติสุข สันติภาพร่วมกันทั้งโลก สิ่งนี้ทำให้เห็นชัดว่า จะนะ กำลังเชื่อมโลกบนฐานข้อมูลที่แท้จริง สู่ ข้อเสนอเชิงนโยบายในอนาคต ท้ายที่สุดเพื่อความยั่งยืนของทรัพยากร ให้ทรัพยากรเป็นของทุกคนอย่างแท้จริง”
หลักธรรมคำสอนสายกลางของศาสนาอิสลามจะสะท้อนออกสู่วิถีชีวิตมุสลิมซึ่งในภาพรวมมีหลักศรัทธา หลักปฏิบัติที่เเตกต่างจากคนต่างศาสนิก ในขณะที่เป้าหมายของศาสนาอิสลามซึ่งพระเจ้าได้ส่งศาสนฑูตมุฮัมมัดเพื่อให้ความเมตตาต่อประชาชาติทั้งมวล ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด เชื้อชาติ สีผิวใดหรือเเม้กระทั่งสิงห์สาราสัตว์ เเต่เมื่อกลับไปดูปฏิบัติการณ์บางอย่าง บางคน ในพื้นที่ซึ่งได้รับข้อมูลจากคนต่างศาสนิกโดยเฉพาะพระในพื้นที่เช่นเด็กๆมุสลิมบางส่วน (เท่านั้น) เมื่อเห็นพระยังถ่มนำ้ลายต่อพระ ซึ่งสิ่งนี้ยังเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับนักวิชาการมุสลิมว่าจะทำอย่างไรที่จะอธิบายให้คนของตัวเองได้เข้าใจในหลักการอิสลามที่ถูกต้องจากทฤษฎีสู่ปฏิบัติให้ได้ ไม่เพียงเท่านั้นหากกิจกรรมใดที่เป็นกิจกรรม(อาจจะ)ร่วมเเต่อาจจะมีบางส่วนเกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนาเช่นกิจกรรมวันไหว้ครู การเสียชีวิตของต่างศาสนิกเเละกิจกรรมทางสังคมที่อาจมีบางส่วนที่อาจมีพิธีกรรมทางศาสนา เรื่องเหล่านี้ก็เป็นโจทย์สำคัญสำหรับมุสลิมโดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะช่วยชี้เหตุผล หลักการว่าส่วนไหนทำได้ไม่ได้เเค่ไหนอย่างไรเพื่อมุสลิมเองจะได้ปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน รัฐได้จัดการได้ถูกต้องเเละชาวบ้านต่างศาสนิกจะได้เข้าใจ
“นี่คือคือความท้าทายของมุสลิมกับต่างศาสนิกต่างวัฒนธรรม” สำหรับกรอบการทำงานเรื่องพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้หรือประเทศ “คำตอบและข้อเสนอแนะของอดีตจุฬาราชมนตรี เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมและไม่ขัดกับหลักศาสนาอิสลาม” (อ่านเพิ่มใน https://deepsouthwatch.org/th/node/1228,https://www.gotoknow.org/posts/399112)
ความท้าทาย
สำหรับเพื่อนรักต่างศาสนานั้นใช้ แนวคิด หลักธรรมศาสนา ในส่วนมุสลิมที่นับถือศาสนาอิสลามนั้น จะใช้แนวคิด “رحمة للعالمين “ เมตตาต่อทุกสรรพสิ่งเป้าหมายของศาสนาอิสลามซึ่งพระเจ้าได้ส่งศาสนฑูตมุฮัมมัดเพื่อให้ความเมตตาต่อประชาชาติทั้งมวล ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด เชื้อชาติ สีผิวใดหรือเเม้กระทั่งสิงห์สาราสัตว์
บาบอฮุสนี บินหะยีคอเนาะผู้จัดการโรงเรียนศาสนบำรุงซึ่งโรงเรียนท่านร่วมโครงการนี้ด้วยสะท้อนว่า
“ผู้ร่วมผลักดันสันติภาพบนผืนแผ่นดินคือผู้นำคำสอนของอิสลามให้เป็นรูปธรรมเพราะแก่นแท้จิตวิญญาณอิสลามคือสันติภาพ”
ในขณะที่การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นจะใช้ศักยภาพชุมชนฐานรากโดยเฉพาะ ชุมชนจะนะ จังหวัดสงขลาด้วย 15 ยุทธศาสตร์จะนะยั่งยืน สอดคล้องทั้งหลักการสากล SDG2แต่ก็ถูกมองจากรัฐเป็นภัยความมั่นคงอีกทั้งถูกเหมารวมเป็นขบวนการแบ่งแยกดินแดนเพราะต่อต้านโครงการขนาดใหญ่ของรัฐที่ใช้วาทกรรมขวางพัฒนา
ดั่งที่ชาวจะนะ โดนซึ่งท้ายสุดคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(กสม.) ได้ออกแถลงข่าวแนะ ให้กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า หยุดการเผยแพร่สื่อที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนกลุ่มเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน https://detective-news.com/index2022/?p=56341) ผู้เขียนได้สะท้อนในเวทีเพื่อนรักต่างศาสนาครั้งนี้ว่า
“ในเชิงประจักษ์ ผลการจัดเวทีวันนี้นั้นสะท้อนว่า ในการพัฒนาที่จะนะนั้น เรื่องนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของจะนะแต่ควรทำทั่วโลก ทำจากฐานข้อมูลที่ชัดเจนจากชุมชนเป็นฐาน จากนั้นก็จะนำไปจับกับ การพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ SDGs แต่ละตัว เพื่อให้คนทั้งโลกมีสุขภาวะ สันติสุข สันติภาพร่วมกันทั้งโลก สิ่งนี้ทำให้เห็นชัดว่า จะนะ กำลังเชื่อมโลกบนฐานข้อมูลที่แท้จริง สู่ ข้อเสนอเชิงนโยบายในอนาคต ท้ายที่สุดเพื่อความยั่งยืนของทรัพยากร ให้ทรัพยากรเป็นของทุกคนอย่างแท้จริง”
หลักธรรมคำสอนสายกลางของศาสนาอิสลามจะสะท้อนออกสู่วิถีชีวิตมุสลิมซึ่งในภาพรวมมีหลักศรัทธา หลักปฏิบัติที่เเตกต่างจากคนต่างศาสนิก ในขณะที่เป้าหมายของศาสนาอิสลามซึ่งพระเจ้าได้ส่งศาสนฑูตมุฮัมมัดเพื่อให้ความเมตตาต่อประชาชาติทั้งมวล ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด เชื้อชาติ สีผิวใดหรือเเม้กระทั่งสิงห์สาราสัตว์ เเต่เมื่อกลับไปดูปฏิบัติการณ์บางอย่าง บางคน ในพื้นที่ซึ่งได้รับข้อมูลจากคนต่างศาสนิกโดยเฉพาะพระในพื้นที่เช่นเด็กๆมุสลิมบางส่วน (เท่านั้น) เมื่อเห็นพระยังถ่มนำ้ลายต่อพระ ซึ่งสิ่งนี้ยังเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับนักวิชาการมุสลิมว่าจะทำอย่างไรที่จะอธิบายให้คนของตัวเองได้เข้าใจในหลักการอิสลามที่ถูกต้องจากทฤษฎีสู่ปฏิบัติให้ได้ ไม่เพียงเท่านั้นหากกิจกรรมใดที่เป็นกิจกรรม(อาจจะ)ร่วมเเต่อาจจะมีบางส่วนเกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนาเช่นกิจกรรมวันไหว้ครู การเสียชีวิตของต่างศาสนิกเเละกิจกรรมทางสังคมที่อาจมีบางส่วนที่อาจมีพิธีกรรมทางศาสนา เรื่องเหล่านี้ก็เป็นโจทย์สำคัญสำหรับมุสลิมโดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะช่วยชี้เหตุผล หลักการว่าส่วนไหนทำได้ไม่ได้เเค่ไหนอย่างไรเพื่อมุสลิมเองจะได้ปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน รัฐได้จัดการได้ถูกต้องเเละชาวบ้านต่างศาสนิกจะได้เข้าใจ
“นี่คือคือความท้าทายของมุสลิมกับต่างศาสนิกต่างวัฒนธรรม” สำหรับกรอบการทำงานเรื่องพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้หรือประเทศ “คำตอบและข้อเสนอแนะของอดีตจุฬาราชมนตรี เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมและไม่ขัดกับหลักศาสนาอิสลาม” (อ่านเพิ่มใน https://deepsouthwatch.org/th/node/1228,https://www.gotoknow.org/posts/399112)
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ