ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ทุกท่าน
ภารกิจการลงพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นครั้งแรกของนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ผ่านไปด้วยความเรียบร้อย นายกฯยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดทั้งวัน ขณะที่ไม่มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นเลยตลอดเวลาที่ผู้นำหญิงอยู่ในพื้นที่ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ ตั้งแต่ต้นสัปดาห์ มีเหตุรุนแรงขนาดใหญ่เกิดขึ้นหลายเหตุการณ์
ทั้งหมดนี้ทำให้ผู้สังเกตการณ์จากหลากหลายแวดวงเห็นตรงกันว่า ถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเชื่อว่ากันว่าปี 2568 จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญจากความร่วมมือกันอย่างแข็งขันของรัฐบาลไทยและรัฐบาลมาเลเซีย อย่างแทบไม่เคยปรากฏมาก่อน
โดยเฉพาะการไปเยี่ยมโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ที่ จ.ยะลา ถือเป็นสถานที่เชิงสัญลักษณ์ ซึ่งส่งสัญญาณเชิงบวกอย่างมากต่อผู้คนที่นั่น โดยเฉพาะเด็กนักเรียน และเยาวชนที่จะออกแบบอนาคตของพวกเขาใน 10-20 ปีข้างหน้า (อ่านรายงานเพิ่มเติม)
สำหรับโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ไม่เพียงแต่ถือเป็นสัญญลักษณ์สำคัญในวงการศึกษาชายแดนใต้ แต่ยังเป็นสัญญาลักษณ์สำคัญในแง่ความมั่นคงตลอดเหตุการณ์ 20 ปีไฟใต้ มีอดีตผู้นำจิตวิญญาณ อย่างอุสตาสสะแปอิง บาซอ ที่รัฐมองเป็นผู้นำขบวนการคนเห็นต่างจากรัฐแต่คนในพื้นที่ มองท่านเป็นวีรบุรุษโดยเฉพาะการศึกษาไม่เพียงมุสลิมชายแดนใต้แต่ทั้งประเทศไทย
สำหรับโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธินั้นตั้งอยู่เลขที่ 762 ถ.สิโรรส อ.เมือง จ.ยะลา เดิมเป็น โรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม (ปอเนาะ) เพียงอย่างเดียว ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สอนทั้งวิชาศาสนาและสามัญ ปัจจุบัน เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีนักเรียนมุสลิมจากทั่วประเทศกว่า 6,000 คน ติด1 ใน 10 โรงเรียนที่มีนักเรียนเอกชนมากที่สุดในประเทศไทย
ตลอด 70 กว่าปี ได้ผลิตบุคคลากรทุกสาขาอาชีพ แม้กระทั่งตำรวจ และทหารที่มาจาก (น่าจะเป็น)โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม อีกทั่งนักวิชาการระดับปริญญาเอกที่จบ(อีกทั่งทำงาน)จากในประเทศและต่างประเทศ มากที่สุดเช่นกันเคยผ่านสถาบันแห่งนี้ นักเรียนโรงเรียนนี้คว้ารางวัลมากมายทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศไม่ว่าด้านศาสนา สามัญ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น ล่าสุดได้รับรางวัลรางวัลชนะเลิศด้านอาหาร ระดับมัธยมศึกษา จากเวทีประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับเยาวชน Thailand New Gen Inventors Award : I-New Gen Award 2023 กับผลงาน “ผลิตภัณฑ์ผงกำจัดพยาธิในอาหารจากใบข่าอ่อนธรรมชาติ (Boega)” ในวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นการตอบโจทย์ของคนที่ชอบอาหารประเภทสุกๆ ดิบๆ ที่อาจพบพยาธิซึ่งเป็นสาเหตุของหลายๆ โรค ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ ผลงานนี้จึงถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยป้องกันสุขภาพของประชาชน ลดอาการเจ็บป่วย รวมถึงลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคด้วย ดั่งที่นายกรัฐมนตรีและคณะ ได้สัมผัสด้วยตนเองอย่างใกล้ชิดกับเด็กๆ และครู
อาจารย์รอซี เบ็ญสุหลง ผู้อำนวยการ / ผู้รับใบอนุญาต โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ บอกว่า โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้เปิดเผยว่า “ที่โรงเรียนรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ท่านนายกฯ มาเยี่ยมโรงเรียนครั้งนี้พร้อมทั้งคณะรัฐมนตรี คิดว่า การเดินทางลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน ครู บุคลากรทุกท่าน ซึ่งครั้งนี้นับเป็นนายกรัฐมนตรี ท่านที่ 4 ที่มาเยี่ยม ทางโรงเรียน ตั้งแต่ นายกชวน หลีกภัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ และท่านที่ 4 คือ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
พ.ต.อ.สายูตี กาเต๊ะ อดีตศิษย์เก่าที่นี่ สะท้อน ตอนหนึ่งว่า ”นัยยะสำคัญ เด็กโรงเรียนธรรมฯ ร้องเพลง ต่อหน้านายกฯ อิ้ง กว่าจะรัก“ (กว่าจะรักเท่าวันนี้กว่าจะมีคนมาเข้าใจต้องใช้เวลา ใช่เพียงมองตากันเมื่อไร …)
กล่าวโดยสรุป “การที่นายกฯอิ้งเยี่ยม ธรรมฯยะลา ครั้งนี้ทำให้เห็นศักยภาพเด็กรุ่นใหม่จากโรงเรียนศาสนา-สามัญดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่รัฐควรรีบ ใช้การศึกษาพัฒนาชายแดนใต้
ไม่เพียงชายแดนใต้แต่ประเทศไทยทั้งประเทศ รวมทั้งใช้บุคคลากรเด็กคนรุ่นใหม่ในเวทีนานาชาติไม่ว่า ASEAN โลกมุสลิม จีน และตะวันตก (ชมย้อนหลัง)
เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการศึกษา
ดังที่ นายฟัครุดดีน บอตอ เสนอการแก้ปัญหาใต้อย่างยั่งยืน นั้นจะต้องเปลี่ยนสนามรบ เป็นสนามการศึกษาดั่งที่อดีตนายกรัฐมนตรีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ที่เคยใช้นโยบายการต่างประเทศร่วมกับประเทศกัมพูชา “เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า”เพราะตลอดไฟใต้ 20 ปี รัฐแก้ปัญหาไม่ตรงจุดแถมหมดงบประมาณหลายแสนล้านโดยใช้นโยบายการทหารและความมั่นคง แทนที่จะใช้งบประมาณพัฒนาการศึกษา แต่กลับใช้งบประมาณซื้ออาวุธเป็นต้น ในหลวงรัชกาลที่ 9 เคยตรัสสอนไว้ ‘เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา’ คือแนวทางที่ถูกต้องและสามารถใช้แก้ปัญหาในพื้นที่ได้ดีที่สุด แต่ที่ลงมาทำงาน เข้าใจหรือไม่...ไม่เข้าใจเลย เข้าถึงมั้ย...ไม่เข้าถึงปัญหาเลย แค่สามอย่างนี้ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา พอแล้วที่จะแก้ปัญหาที่นี่”
สำหรับ “ฟัครุดดีน บอตอ” อดีต สว.ถูกยิง ขึ้นศาลทหารกว่า 15 ปีกับคดีที่ยังไร้จุดจบ (อ่านเพิ่มเติม)
ผู้นำศาสนาในพื้นที่ท่านหนึ่งสะท้อนว่า “โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ดีเช่นนี้ยังมีอีกหลายแห่งทั้งในพื้นที่ชายแดนใต้และทั่วประเทศ แต่มีโรงเรียนรัฐบาลมาเปิดแข่งมาก รวมถึงไม่มีการสนับสนุนจากรัฐ ที่ผมยกเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะเคยมีคณะกรรมาธิการชุดหนึ่งเคยทำวิจัยและมาให้ข้อมูลกับผมว่า ถ้ารัฐบาลยิ่งส่งเสริมอุดหนุนโรงเรียนเอกชน รัฐบาลจะยิ่งประหยัดงบประมาณด้านการศึกษาลง แล้วก็ให้ตัวเลขว่าถ้าทำกันเต็มระบบจะลดภาระของรัฐบาลเป็นหมื่นล้านบาททั่วประเทศ เพราะว่าโรงเรียนเอกชนเขาลงทุนอาคารสถานที่ ห้องเรียน โต๊ะเก้าอี้ รัฐบาลไม่ต้องลงทุนเอง ก็ควรเอามาอุดหนุนเรื่องครูให้ดี อุดหนุนเครื่องมือการเรียนการสอนที่เขาจำเป็น หลักสูตรการเรียนการสอนในชายแดนภาคใต้จึงต้องมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับพื้นที่ ตรงกับผลสัมฤทธิ์ของทั้งประเทศและผลสัมฤทธิ์ของการเรียนศาสนา และจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับศักยภาพและความต้องการของประชาชนครับ”
ประเด็นการศึกษากับความั่นคงที่ชายแดนใต้ถูกสะท้อนมากจากเยาวชน ผู้นำการศึกษา ผู้นำศาสนา ประชาสังคมแม้แต่กลุ่มชาวพุทธ ที่เคยสะท้อนต่อกมธ.สันติภาพชายแดนใต้ชุดประธานฯจาตุรนต์ ฉายแสง “จากสภาพปัญหาที่นโยบายการศึกษาและการบริหารจัดการแบบรวมศูนย์ไว้ที่ส่วนกลาง ไม่เปิดกว้างให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมเท่าที่ควร หลักสูตรการศึกษาส่วนกลางที่ไม่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมและความต้องการของสังคมชายแดนใต้เท่าที่ควร กระทบต่ออัลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่น การกระจายทรัพยากร เช่น งบประมาณ บุคลากร และโอกาสในการยกระดับคุณภาพทางการศึกษาไม่เพียงพอ ส่งผลให้ระดับคุณภาพการศึกษาของเด็กถูกวัดว่าด้อยกว่าที่อื่น ความเหลื่อมล้ำทางโอกาสในสังคมสูงมาก นอกจากนี้อันเนื่องมาจากสถานการณ์ความไม่สงบตลอด กว่า 20 ปี มีกฎหมายพิเศษที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาให้สอดคล้องตามปรัชญาและหลักการศึกษาที่แท้จริงทำให้เกิดช่องในการใช้การศึกษาเพื่อสร้างการแบ่งแยก และสร้างความเกลียดซังกันในสังคม ดังนั้นข้อเสนอหนึ่งคือ การเปลี่ยนสนามรบ เป็นสนามการศึกษา ด้วยวิธีที่น่าจะดีดีสุด ก่อนกระจายอำนาจการปกครองคือ ”การกระจายอำนาจทางการศึกษาชายแดนภาคใต้? น่าจะภาพอนาคตรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาที่ปรารถนา รวมทั้งตัวแบบและแนวทางการกระจายอำนาจทางการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทเฉพาะของพื้นที่ จึงมีความสำคัญยิ่ง?
อีกทั้งสอดคล้อง ผลการวิจัยเบื้องต้นของ ผศ.รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช และคณะจากสถาบันสันติศึกษา ซึ่งผู้เขียนร่วมด้วยในหัวข้อ “การศึกษากับสันติภาพ”
โดยท่านสะท้อนว่า “งานด้านการศึกษากับการสร้างสันติภาพเป็นประเด็นสำคัญที่สามารถนำเอาทฤษฎีมาวิเคราะห์ปรากฎการณ์ในภาคใต้ซึ่งทางสถาบันสันติศึกษา (IPS) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีโอกาสได้ร่วมงานกับ Prof. Tejendra Pherali ซึ่งเป็นผู้เขียวชาญด้านการศึกษา ความขัดแย้งและสันติภาพ จาก UCL Institute of Education, University College London จัดเวิร์คช้อปร่วมกันในวันที่ 8-9 และ 15-16 กค. 2566 ในหัวข้อเรื่อง Promoting peace through education: Reimagining educational interventions in conflict-affected Southern Thailand โดยเชิญผู้คนจากหลากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในชายแดนใต้ ทั้งจนท. ฝ่ายรัฐ ครูโรงเรียนรัฐ ครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม อาจารย์มหาวิทยาลัยที่สอนด้านครุศาสตร์ ภาคประชาสังคมจากหลายเฉดจุดยืนทางอุดมการณ์ ความคิด ความเชื่อมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เปิดพื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ซึ่งหลายคนก็ไม่มีโอกาสหรือไม่กล้าที่จะพูดเปิดอกเช่นนี้ในพื้นที่ขัดแย้งรุนแรง
เราเชื่อว่าการรับฟังเสียงที่แตกต่าง การนำเอาตัวเองไปอยู่ในจุดยืนของคนอีกฟากหนึ่งให้ได้ เป็นการเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันที่สำคัญ Prof. Tejendra ได้บอกเราว่าการศึกษาใต้เป็นได้ทั้ง "เหยื่อ" (victim) "ผู้ก่อการ" (perpetrator) "ผู้ปลดปล่อย" (liberator) และ "ผู้สร้างสันติภาพ" (peacebuilder) ขึ้นกับว่าการศึกษากำลังเล่นบทบาทใดในความขัดแย้งนั้นๆเราได้เรียนรู้อีกหลายทฤษฎีที่จะให้แว่นตาในการวิเคราะห์บทบาทของการศึกษา ความขัดแย้งและการสร้างสันติภาพในภาคใต้ วันที่ 23 มกราคม 2568 นี้เราจะรับฟังอีกครั้งก่อนเราจะเขียนรายงานเชิงนโยบายเพื่อนำเสนอข้อเสนอเรื่องบทบาทของการศึกษากับการสร้างสันติภาพ ซึ่งเชื่อว่าจะมีประโยชน์ในการผลักดันประเด็นนี้ โดยเฉพาะในบริบทของการดำเนินการเรื่องการปรึกษาหารือสาธารณะ (public consultation) ซึ่งเชื่อว่าจะมีการสานต่อเรื่องนี้ในอนาคตอันใกล้ ไม่ว่าพรรคใดจะขึ้นมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลก็ตาม (ดูเพิ่มเติม)
ทำไมต้อง ต้องกระจายอำนาจทางการศึกษาชายแดนภาคใต้?
พื้นที่ปาตานี/จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นพื้นที่ที่มีบริบทเฉพาะทางการศึกษา โดยสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการศึกษาทางอิสลาม และเป้าหมายของการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Learning Outcomes; LOs) ประการสำคัญ คือ การพัฒนามนุษย์ทั้งทางกายและทางจิตใจอย่างสอดประสานกัน ด้วยเหตุนี้ การจัดโครงสร้างของระบบการศึกษา ตลอดทั้งหลักสูตร และรายวิชา ตั้งแต่การศึกษาระดับปฐมวัยไปจนถึงอุดมศึกษา จึงจำเป็นต้องคิดออกแบบให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นเลิศทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างมีดุลยภาพ รวมทั้งระบบของการบริหารจัดการหลักสูตร ผู้เรียน บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน ตลอดทั้งโครงสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ จำเป็นต้องถ่ายโอนอำนาจจากส่วนกลาง ทั้งกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในส่วนของระบบการศึกษาระดับประถมศึกษาถึงอุดมศึกษา โดยเฉพาะการบริหารจัดการศึกษาด้วยระบบปอเนาะ และทั้งกระทรวงวัฒนธรรม ในส่วนของระบบการศึกษาปฐมวัยในรูปแบบศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด หรือตาดีกา เพื่อนำมาสู่การออกแบบกลไกบริหารจัดการการศึกษาระดับท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง อันจะรับประกันการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทเฉพาะของพื้นที่และยืนยันเจตนารมณ์ในฐานะตัวแทนของประชาชนในพื้นที่ตนเองได้โดยแท้จริง
ดังนั้น ภาพอนาคตรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาที่ปรารถนา รวมทั้งตัวแบบและแนวทางการกระจายอำนาจทางการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทเฉพาะของพื้นที่ จึงมีความสำคัญยิ่ง
สำหรับหัวใจของการกระจายอำนาจทางการศึกษานั้นต้องกระจายทั้งอำนาจการบริหารจัดการ คนและงบประมาณ เพื่อสามารถร่วมออกแบบการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทเฉพาะของพื้นที่ มิใช่เฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้นแต่ทุกพื้นที่การศึกษาในทุกภูมิภาคของประเทศไทยอันจะนำไปสู่พื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษามากมายและจะตอบโจทย์การพัฒนาประเทศที่เท่ากับสถาการณ์โลกในอนาคตที่สำคัญสุดมันจะเป็นรากฐานการกระจายอำนาจการปกครองที่อาจจะมีข้อตกลงบนโต๊ะเจรจาสันติภาพ?
สำหรับการกระจายอำนาจการปกครองหลังจากนี้ที่รัฐควรทำอย่างจริงจังที่ชายแดนใต้ในอนาคตคือ “การกระจายอำนาจ นี้ ควรเป็นรูปแบบที่ให้ประชาชนมีอำนาจมีส่วนร่วมกำหนด การกระจายนี้สามารถกำหนดหลักเกณฑ์สำคัญให้คนส่วนน้อยในพื้นที่มีสิทธิประโยชน์เท่าเทียม ต้องมีหลักการบางอย่างให้คนส่วนน้อยได้รับรู้ ที่ผ่านมาการกระจายอำนาจทั่วประเทศล้าหลัง ยิ่งในชายแดนใต้ก็ล้าหลังเช่นกัน แต่ปัญหาคือชายแดนใต้มีปัญหาใหญ่กว่านั้น คือ มีการปกครองรูปแบบพิเศษ มีกฎหมายพิเศษ ลดเงื่อนไข สิทธิเสรีภาพ การเคลื่อนไหว การแสดงความเห็น นี่คือรูปแบบการปกครองพิเศษ การรวมศูนย์อำนาจที่ชัดเจนที่เดียวในไทย ดังนั้นการกระจายอำนาจในชายแดนใต้ต้องยกระดับขึ้นมาก่อน เพราะส่งผลให้เกิดปัญหาความยากจนที่สุด เศรษฐกิจแย่ที่สุด การศึกษาล่าหลังที่สุด ความไม่ยุติธรรม อัตลักษณ์ จึงต้องมองการกระจายอำนาจ ในชายแดนใต้แบบเข้าใจ”
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ