นักวิชาการชี้งานวิจัยพบเด็ก 12 ปี ดูคลิปโป๊มากกว่าวัยรุ่น

กองบรรณาธิการ TCIJ 26 มี.ค. 2568 | อ่านแล้ว 892 ครั้ง

นักวิชาการชี้งานวิจัยพบเด็ก 12 ปี ดูคลิปโป๊มากกว่าวัยรุ่น

นักวิชาการชี้งานวิจัยระดับโลกพบมีเด็กอายุตั้งแต่ 12-18 ปี ดูคลิปโป๊ ค่าเฉลี่ยตัวเลขในการดูมากที่สุดปรากฏว่าจำนวนเด็กอายุ 12 ปี มีสถิติเข้าไปดูเยอะกว่าเด็กวัยรุ่น 15-18 ปี

เมื่อช่วงเดือน มี.ค. 2568 เว็บไซต์สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ รายงานว่า รศ.ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล นักวิชาการด้านสื่อระบุว่า ได้ทำการสำรวจอย่างเร็ว ๆ ตอนนี้มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง Nudity เรื่อง Porn และ Sex เยอะมากทั่วโลก ไม่ใช่เป็นมีเดียเอฟเฟ็กต์ ปรากฎการณ์นี้ เราต้องยอมรับว่า คือผลกระทบที่เกิดมาจากการใช้การสื่อสารที่ไม่ทันรู้ตัว หรืออาจจะรู้ตัว หรือตั้งใจจะรู้ตัว เพราะฉะนั้นในมุมของมีเดียเอฟเฟ็กต์ การรู้เท่าทันสื่อ มีงานวิจัยจำนวนมาก ที่มีการสำรวจกันว่า คอนเทนต์ลักษณะที่เป็นเรื่องใต้สะดือ หรือ Nudity ในภาษาอังกฤษ จะมีหลายคำ

มีเด็กอายุตั้งแต่ 12 ขวบ จนถึง 18 ปี ค่าเฉลี่ยตัวเลขในการดูมากที่สุด ปรากฏว่า จำนวนเด็กอายุ 12 ขวบ มีสถิติเข้าไปดูเยอะกว่าเด็กวัยรุ่น 15-16-17-18 นักวิชาการทั้งหลายก็ได้ไปซิสเต็มรีวิว ก็พบว่าเด็กเข้าไปเสพคอนเทนต์ลักษณะนี้ คือเขาเพิ่งกลัดมัน คือฮอร์โมนเริ่มมีกระบวนการทำงาน และด้วยหลายๆ ครอบครัว พ่อแม่อาจจะไม่ได้สอนลูก หรือโรงเรียนให้การศึกษาเรื่องเซ็กซ์มากมาย

มีรายการหนึ่ง ที่พูดถึงกรณีมิจฉาชีพใช้เซ็กซ์โฟนล่อซื้อ ซึ่งกระบวนการล่อซื้อ ขณะที่ผู้ดำเนินรายการพูดไปก็ขำไป กับสิ่งที่เรียกว่าเรื่องใต้สะดือ ไม่ว่าจะเป็นภาษา ที่ล่อแหลม ปรากฏว่าอารมณ์ของการรู้เรื่องใต้สะดือ มันมี 2 อารมณ์ คืออารมณ์เย็น กับอารมณ์ร้อน ซึ่งอารมณ์เย็นคืออารมณ์ขำขัน ทำให้ทางจิตวิทยาทางการสื่อสาร คน 2 กลุ่มนี้ จึงไปสนใจคำว่าใต้สะดือมาก แล้วแมชีนมันก็เรียนรู้ว่า ถ้ามนุษย์สนใจอะไร ก็พยายามจะส่งข้อมูลให้เต็มไปหมด แม้จะไม่ได้อยากรู้กรณีนี้ แต่เนื้อหาในโซเชียลก็เต็มไปหมดอย่างอัตโนมัติ

เทคโนโลยีกำหนดสังคม สังคมกำหนดประเด็นทางด้านการสื่อสาร ทำให้คนที่ทำงานด้านสื่อ ต้องเร่าร้อนกับประเด็นเหล่านี้ด้วย ทั้งที่เมื่อก่อนสื่อจะเป็นผู้กำหนดสังคม ต้องรอให้สื่อเป็นเป็นฝ่ายหยิบยกขึ้นมาก่อน คนจะรอดูจากสื่อใหญ่ๆ ที่จะโพสต์หัวข้อข่าวอะไรขึ้นมาก่อน แต่ปัจจุบันนี้ ปรากฏว่าบรรณาธิการข่าวก็พูดว่า ถ้าเราไม่เล่น เราจะกลายเป็นต่างกับเขาหรือไม่ ทำให้เราเร่าร้อนไปกับประเด็นตรงนี้

ในฐานะนักวิชาการสื่อ และเคยทำสื่อมาก่อน เห็นว่า คุณค่าของตัวเราเอง อยู่ที่ตัวของเรา ไม่จำเป็นต้องแตกตัวตาม เหมือนป๊อบคอร์นซึ่งเอไอมันก็จะ Generate ให้ แม้อาจจะสร้างยอดวิวเยอะ สร้างรายได้ให้กับสื่อ แต่เราด้อยคุณค่าตัวเอง Positioning ของเราจะกลายเป็นโปรดักส์ราคาหลัก 10 จากที่เคยเป็นพรีเมียม เป็นแบรนด์เนมที่ไฮเอนด์ กลายเป็นว่าตัวเราก็ถูกทำลายลงไป อยู่ในราคาของถูก

เราอาจจะได้กำไรแค่แป๊บเดียว แต่มันอยู่ไม่นาน เพราะฉะนั้น Positions ของ Media สำคัญที่สุด ที่จะเล่นในประเด็นตรงนี้ต่อไปหรือไม่ หรือถ้าเราไม่เล่น เราเล่นประเด็นอื่น ตอนนี้อาจจะมีผู้บริโภคสื่อสนใจวาระข่าวสารอื่นๆ แต่บังเอิญเขาหาหัวข้อเหล่านั้นไม่ได้ ถ้าเราคุมเกมสื่อได้ แอคทีฟตัวเองไปทำวาระตรงนั้น ก็จะทำให้เราได้ลูกค้าอีกหนึ่งกลุ่ม

เมื่อถามว่า หากสื่อหันมาให้ความสำคัญข่าวแนวใต้สะดือเยอะ จะมีผลกระทบในระยะยาวหรือไม่ รศ.ดร.พนิดา ชี้ว่า มีผลกระทบแน่นอน เพราะมีเดียเอฟเฟ็กต์ ช่วงหนึ่งเราเคยเรียกร้องเสรีภาพของสื่อกันมาก ก่อนปี 2540 เพราะช่วงที่เรามีเสรีภาพเยอะแล้ว ปรากฏว่าสื่อไปอยู่บนมือถือของทุกคน ผู้คนใช้การสื่อสารที่ถูกต้องไหม การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย 4 ปี และพวกเรายังทำงานด้านสื่อกันทั้งชีวิต เราจึงรู้ว่า การจะพูดอะไร การจะเผยแพร่อะไร มีผลกระทบต่อคนแน่นอน

ทุกวันนี้ด้วยเทคโนโลยีที่อยู่บนมือ อยากจะถ่ายภาพอย่างไรก็ได้ ลงไปในมือถือ แล้วที่กรรมาธิการ อาจจะอนุญาตให้ไปลบได้ เอาจริงๆ เซิร์ฟเวอร์ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย เราจะลบได้ไม่ครบด้วยซ้ำไป เพราะทุกวันนี้ชุดข้อมูลมันอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ อยู่ในอเมริกา ขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มที่เราอัพขึ้นไปแล้ว กฎหมายมันข้ามประเทศอาจจะไม่ได้

อีกเรื่องหนึ่งที่เราต้องฉุกคิดกันให้เยอะ เพราะขนาดอาชญากรข้ามชาติ ยังตามไปจับไม่ได้ แล้ววันนี้เป็นโกลบอลมีเดีย เป็นสิ่งหนึ่งที่เราต้องให้ความรู้ การถ่ายรูปตัวเองลงบนโทรศัพท์มือถือ พ่อแม่ถ่ายรูปลูกตัวเองลงไป เดี๋ยวนี้มันเจนด้วยเอไอ อาจจะเป็นหน้าลูกเราแล้วไม่ได้ใส่เสื้อผ้าก็ได้ มันไปอยู่บนโซเชียลเมื่อไหร่ ก็เป็นไบโอเดต้าของคนนั้นไปโดยไม่รู้ตัว พอถึงวันหนึ่งอาจจะมีคนมาขุดชีวิตตัวเองอนาคตต่อไปอาจจะมีเรื่องของไซโคดราม่าขึ้นมา เรื่องความทุกข์ใจ ซึมเศร้า หรืออาการที่มีความผิดปกติทางจิตใจ

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: