จับตา: ประวัติศาสตร์ความตายทางถนนและการสร้างความปลอดภัยของญี่ปุ่น

ฐานันดร ชมภูศรี 23 เม.ย. 2560 | อ่านแล้ว 5716 ครั้ง


ญี่ปุ่นเคยประสบปัญหาการเพิ่มขึ้นอย่างน่ากลัวของอุบัติเหตุทางถนน เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วของประเทศตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษที่ 1950 จนถึงปี 1970 ที่มาภาพประกอบ: Daidō Moriyama

ญี่ปุ่นเคยประสบปัญหาการเพิ่มขึ้นอย่างหนักของอุบัติเหตุทางถนน เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วของประเทศตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษที่ 1950 จนถึงปี 1970 โดยในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 ถึงกับมีการเรียกว่า ‘สงครามบนถนน’ (Traffic War) เลยทีเดียว เนื่องจากการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูงกว่าอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยรายปีในช่วงสงครามไซโน-ญี่ปุ่นครั้งแรก (First Sino-Japanese War) ในปี 1894-1895 โดยยอดรวมผู้เสียชีวิตถึงจุดสูงสุดที่ 16,765 ราย ในปี 1970 การเสียชีวิตประจำปีลดลงในช่วงทศวรรษ 1970 และลดลงมาที่ 8,719 ราย ในปี 1981 ด้วยความพยายามของรัฐบาลญี่ปุ่น

จำนวนรถและระยะทางรวมที่รถทั้งประเทศวิ่ง ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่ามีองค์กรที่ทำงานเพื่อลดความเสี่ยงด้านนี้  ทว่า จำนวนผู้เสียชีวิตรายปีได้เพิ่มขึ้นอีกครั้งในปี 1981 และสูงถึง 11,452 ราย ในปี 1992 อย่างไรก็ตามหลังจากปี 1992  จำนวนการเสียชีวิตรายปีลดลงเรื่อย ๆ ในขณะที่ตัวเลขอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปี 2004 จึงลดลง 

ตั้งแต่ปี 1948 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (National Police Agency) ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนทั่ว  ประเทศ 10 วัน ในฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงของทุกปี ในช่วงเวลา 2 ครั้งต่อปี ของแคมเปญนี้ สื่อมวลชนได้ประชาสัมพันธ์คำขวัญและคำเตือนเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนน และอาสาสมัครของชุมชนจำนวนมากให้การ  สนับสนุนอย่างหนัก มีการศึกษาซึ่งพบว่าการเกิดอุบัติเหตุทางถนนต่อวันในช่วงแคมเปญ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรายวันต่อปี  ประมาณ 10%

ยุคแรก: 1951-1970 เศรษฐกิจเติบโตรวดเร็ว ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเพิ่มขึ้นชัดเจน   

  • จำนวนผู้เสียชีวิตประจำปีเพิ่มขึ้นจาก 4,429 ราย ในปี 1951 เป็น 16,765 ราย ในปี 1970 หรือเกือบ 4 เท่า
  • จำนวนรถเพิ่มขึ้นจากประมาณ 413,000 คัน เป็น 16,528,000 คัน
  • ประชากรเพิ่มขึ้นจาก 87 ล้านคน เป็น7 ล้านคน หรือ 23%  
  • GDP ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นจาก5 ล้านล้านเยน ในปี 1955 เป็น 75.3 ล้านล้านเยนในปี 1970 หรือเกือบ 9 เท่า นำมา ซึ่งการ เพิ่มขึ้นอย่างสูงของจำนวนการเป็นเจ้าของยานพาหนะ จึงเป็นสาเหตุหลักของแนวโน้มการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นในขณะนั้น
  • การพัฒนาด้านคมนาคมยังช้ากว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว ความยาวถนนทั้งหมดเพิ่มขึ้นจาก 923,000 กิโลเมตร ในปี 1953 เป็น 1,024,000 กิโลเมตรในปี 1970 หรือน้อยกว่า 11% จากช่วง 17 ปี
  • 1960 ออกกฎหมายการขนส่งทางบก (Road Transportation Law) การจำกัดแอลกอฮอล์สำหรับผู้ขับขี่ถูกระบุภายใต้กฎหมายนี้
  • 1963 การสร้างความแน่นอนของความปลอดภัยทางถนน ถูกระบุไว้ในมาตรา 2 ของกฎหมายรัฐบาลท้องถิ่น ว่าด้วยภารกิจของรัฐบาลท้องถิ่น
  • 1966 ออกกฎหมายมาตรการฉุกเฉิน (Emergency Measures Law) ว่าด้วยบทบัญญัติของสิ่งที่จะอำนวยให้เกิดความปลอดภัยทางถนน (Provision of Traffic Safety Facilities)
  • 1970 ออกบทบัญญัติว่าด้วยการพัฒนาเส้นทางจักรยาน (Law For Provision of Bicycle Track Improvement)
  • ข้อมูลเกี่ยวกับการติดตั้งสัญญาณไฟจราจร (traffic signals) ในทศวรรษที่ 1960 และ 1970 พบว่าสัญญาณไฟจราจร ให้ผลอย่างมีนัยสำคัญสำหรับการลดจำนวนอุบัติเหตุทางถนน กล่าวคือ อุบัติเหตุลดลง 31-64%, ผู้บาดเจ็บลดลง 32-75% และผู้เสียชีวิตลดลง 50-89%

ยุคที่ 2: 1970-1981 ความพยายามอย่างหนักของรัฐบาลญี่ปุ่น  

  • จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงไปที่ 8,719 ราย ในปี 1981 ประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนสูงสุดคือ 16,765 ราย
  • ในปี 1970 จำนวนรถเพิ่มขึ้นเกิน 2 เท่า
  • ประชากรเพิ่มขึ้น 13% GDP ขยายตัวเกือบ 5 เท่า แต่ความยาวของถนนเพิ่มขึ้นไม่ถึง 10%
  • 1975 บังคับให้สวมหมวกกันน็อค
  • 1981 ออกกฎหมายเพื่อการส่งเสริมให้มีเลนจักรยานที่ปลอดภัย และการจัดหาที่จอดจักรยาน (Law for promotion of safe use of bicycle lanes and provision of bicycle parking)

ยุคที่ 3: 1981-1992 เศรษฐกิจ ‘บูม’ อีกครั้ง รถเยอะขึ้น ตายเยอะขึ้นอีกครั้ง

  • ญี่ปุ่นต้องเผชิญการค่อยๆเพิ่มขึ้นของผู้เสียชีวิตอีกครั้ง แม้จะมีความพยายามอย่างต่อเนื่องจากทุกภาคส่วน เช่น รัฐ อุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา และประชาชนทั่วไป
  • แม้ว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นประมาณ 500 ราย ในช่วงครึ่งแรกของยุค (1981-1986) แต่ในช่วงครึ่งหลังกลับเพิ่มขึ้นกว่า 2,000 ราย
  • 1985 มีการบังคับให้ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย- ช่วงครึ่งหลัง เป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า Bubble Economy Period ซึ่งเป็นช่วงที่ GDP ขยายตัวจาก 260 ล้านล้านเยน ในปี 1981 เป็น 471 ล้านล้านเยน ในปี 1992 หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 8 เท่า และจำนวนรถเพิ่มขึ้นจาก 37 ล้านคันในปี 1980 เป็น 62 ล้านคันในปี 1992 หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 1.7 เท่า เป็นเหตุให้ระยะทางโดยรวมของการสัญจรทั้งประเทศเพิ่มขึ้น อาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของจำนวนอุบัติเหตุทางถนน

Municipal = ถนนในเขตเทศบาล, Prefectural = ถนนในเขต อบจ., National = ทางหลวง, Urban Expressway = ทางด่วนในเมือง, Expressway = ทางด่วน, fatality = เสียชีวิต, # accidents [hundreds] = อุบัติเหตุ [xร้อย] กร๊าฟแท่ง: ระยะทางรวมของรถทั้งประเทศได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (จำนวนกิโลเมตร [xล้าน] ที่รถทั้งประเทศญี่ปุ่นวิ่ง) [หมายเหตุ: สถิติระยะทางต่อปีในญี่ปุ่นได้เปลี่ยนแปลงวิธี (method) ในการประมาณตัวเลขและการสำรวจในปี 1987 และ 2010 ทำให้ไม่สามารถจัดทำสถิติปี 1999 และหลังจากนั้น]

ยุคที่ 4: 1992-ปัจจุบัน จำนวนการเสียชีวิตทางถนนประจำปีลดลงอย่างต่อเนื่อง

  • ปี 2002 ลดลงมาที่ 8,396 ราย ซึ่งต่ำสุดหลังจากที่เคยต่ำระดับนี้ในปี 1981 = 8,719 ราย
  • ปี 2000 ต้องมีที่นั่งสำหรับเด็กทุกคนที่อายุต่ำกว่า 6 ปี
  • ปี 2015 การจะได้ใบขับขี่รถยนต์ จะต้องฝึกภาคปฏิบัติถึง 34 ชั่วโมง แถมต้องเข้าอบรมเกี่ยวกับกฎหมายและกลศาสตร์ยานยนต์ (vehicle mechanics) เป็นเวลาถึง 26 ชั่วโมง ถึงจะได้ใบขับขี่แบบทั่วไป ตามระเบียบปฏิบัติของกฎหมายจราจรทางบก (Road Traffic Law) 

 

ทั้งนี้ทั้งนั้น จำนวนโรงพยาบาลฉุกเฉิน (emergency hospitals) ในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นจาก 2,843 แห่ง ในปี 1972 เป็น 3,471 แห่ง ในปี 1983 , ปี 1965 รถพยาบาลฉุกเฉินได้กู้ภัยผู้บาดเจ็บประมาณ 100,000 คน แม้จำนวนอุบัติเหตุจะมีถึงประมาณ 567,000 ครั้ง และผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนประมาณ 12,500 ราย จำนวนผู้เสียชีวิตต่อจำนวนอุบัติเหตุมีอัตราประมาณ 0.022 ในปี 1965 จนถึงปี 2013 อัตราอยู่ที่ 0.007 (ตาย 4,373 ราย / อุบัติเหตุ 629,021 ครั้ง) ซึ่งมีผู้ได้รับการช่วยเหลือจากรถพยาบาลฉุกเฉินประมาณ 530,000 ราย และตามข้อมูลในสื่อ "มืออาชีพ" คนตายลดลง แต่ผู้บาดเจ็บเพิ่มขึ้นจากสงกรานต์ปีก่อน 152 คน มีใครให้เครดิตรถพยาบาลฉุกเฉินบ้าง?

ข้อมูลที่นำเสนอเรียบเรียงบางส่วนมาจาก Achieving safe road traffic — the experience in Japan (กร๊าฟ น.112) และ Road safety in Japan (Table 2 History of Traffic Safety Measures) และหากสนใจข้อมูลระหว่างความตายทางถนนกับขนส่งสาธารณะว่าเกี่ยวข้องกันมากน้อยเพียงใดเชิญดูได้ที่ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น! ความตายทางถนนกับขนส่งสาธารณะ

 

ที่มาภาพประกอบหน้าแรก: Daidō Moriyama

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: